ชัด ๆ กก.ป.ป.ช.อธิบายเหตุผลทำไมอุทธรณ์แค่‘สุชาติ’คดีสลาย พธม.
“กรณีนี้เป็นเรื่องของความชอบธรรม เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย หลักตรงนี้มาจากหลักนิติธรรม แม้คำวินิจฉัยของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย จะชี้ว่า มันผิดตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว คือต้องให้ชุมนุมตลอดไป ต้องแปลความอย่างนั้น จำเลยที่ 1-2 ไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไป อันนี้เราไม่รับฟัง เรารับฟังเหตุผลของผู้พิพากษาท่านอื่น ๆ ด้วย จะบอกว่าตรงนั้นเป็นบรรทัดฐาน เราเป็นผู้ร้าย เป็นคนไม่ดีได้หรือไม่”
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อธิบายถึงเหตุผลที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติอุทธรณ์ผลคำพิพากษาคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯปี 2551 แค่กรณี พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. จำเลยที่ 4 เพียงรายเดียว ส่วนกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. จำเลยที่ 1-3 ไม่อุทธรณ์ต่อ (อ่านประกอบ : ‘สมชาย-บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท’ฝ่ายนโยบาย! เหตุผลป.ป.ช.อุทธรณ์แค่‘สุชาติ’ไม่ยับยั้งใช้แก๊สน้ำตา)
----
ขออนุญาตถ้าคำชี้แจงของตนไปพาดพิงหรือทำให้องค์กร หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ขอกราบอภัยไว้ ณ ที่นี้
เท้าความก่อนว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการไต่สวน ความรวดเร็ว และเที่ยงธรรม เช่นเดียวกับองค์กรอิสระอื่น ๆ ซึ่งเป็นตรรกะขั้นพื้นฐานของผู้มีหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม บนพื้นฐานของกฎหมาย จารีต ประเพณีต่าง ๆ ประกอบกัน
กรณีนี้เมื่อพิจารณาจากสำนวน พยานหลักฐาน คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ยื่นฟ้องทุกคน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือฝ่ายนโยบาย ขอไม่อนุญาตพูดชื่อจำเลย ได้แก่ จำเลยที่ 1-3 กับกลุ่มผู้ปฏิบัติคือจำเลยที่ 4 ที่รับนโยบายจากจำเลยที่ 1-3
ข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์นี้คือ การชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ถ้าทำโดยสงบ หรือเปิดเผย แต่การชุมนุมมีหลายขั้นตอน ต่อเนื่องกัน บางขั้นตอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ เปิดเผย แต่กลับมีอาวุธ มีการใช้กำลัง มีพฤติการณ์ในการกระทำผิดกฎหมาย สำนวนของศาลฎีกาฯได้วินิจฉัยแล้วว่า มีการปิดประตูไม่ให้คณะรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภาเข้าหรือออกปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ อย่างนี้ถือว่าผิดกฎ เป็นการกระทำที่มิชอบ และคำพิพากษาได้บอกว่าอยู่ มิชอบ
เพียงแต่มีความเห็นขององค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย 1 ราย บอกว่า จำเลยที่ 1-4 ผิดทั้งหมด ผิดตั้งแต่การตระเตรียมการ คือ การประชุมของฝ่ายปฏิบัติ มีการนำแผนกรกฎ/48 มาใช้ในการขอคืนพื้นที่ ใช้มาตรการจากเบาไปหนัก รู้กันอยู่ว่าหมายความว่าอะไร
อย่างไรก็ดียังมีในส่วนองค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากอีก 8 ราย มีอยู่อย่างน้อย 2 ราย ที่ระบุถึงประเด็นเรื่องการขอคืนพื้นที่ หรือสลายการชุมนุมในขั้นตอนสุดท้าย เหตุเกิดที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ไปเน้นเหตุการณ์ตรงนั้น เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต และบาดเจ็บสาหัสต่าง ๆ ส่วนเหตุการณ์สลายการชุมนุมตอนเช้าและบ่ายที่รัฐสภา มีผู้ได้รับอันตรายแก่กายธรรมดา และเกิดขึ้นที่เท้าเป็นส่วนใหญ่ แสดงว่า แก๊สน้ำตาตกกระทบพื้นแล้วกระเด็นขึ้นมา
ส่วนสาเหตุว่าทำไมคณะกรรมการ ป.ป.ช. อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 4 เพียงรายเดียว เพราะพิจารณาตามคำพิพากษากลาง และคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 รายแล้ว เห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดในช่วงกลางคืน ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00-19.00 น. เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นช่วงนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 4 ที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ เพราะเห็นว่า ตำรวจทำเกินกว่าเหตุ
ส่วนประเด็นว่า ทำไมจำเลยที่ 1-3 ที่เป็นฝ่ายนโยบาย จึงไม่ผิด และไม่อุทธรณ์นั้น นายสุรศักดิ์ ยืนยันว่า ต้องเข้าใจว่า ข้อกล่าวหาคือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หมายความว่า ไม่ยับยั้งให้ใช้แก๊สน้ำตา ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก และในความผิดฐานละเว้นดังกล่าว ถ้าเป็นนักกฎหมาย ต้องมีการกระทำที่มีเจตนา แต่การกระทำที่มีเจตนา บทนิยามของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 เขียนว่า เจตนาต้องรู้สำนึกในการกระทำ และมีการกระทำที่หวังผล แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาฯวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1-3 ไม่มีเจตนาเล็งเห็นผล มีแต่เจตนาประสงค์ต่อผล ส่วนในคำวินิจฉัยส่วนตัวของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย แม้ไม่ได้ระบุว่า ไม่มีเจตนาเล็งเห็นผล แต่ใช้คำว่า อนุมานได้ว่าไม่มีเจตนาเล็งเห็นผล
“กรณีนี้เป็นเรื่องของความชอบธรรม เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย หลักตรงนี้มาจากหลักนิติธรรม แม้คำวินิจฉัยของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย จะชี้ว่า มันผิดตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว คือต้องให้ชุมนุมตลอดไป ต้องแปลความอย่างนั้น จำเลยที่ 1-2 ไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไป อันนี้เราไม่รับฟัง เรารับฟังเหตุผลของผู้พิพากษาท่านอื่น ๆ ด้วย จะบอกว่าตรงนั้นเป็นบรรทัดฐาน เราเป็นผู้ร้าย เป็นคนไม่ดีได้หรือไม่”
สำหรับกรณีฝ่ายนโยบายนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาด้วย เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนของฝ่ายปฏิบัติ โดยเป็นการสลายการชุมนุมวันเดียวต่อเนื่องกัน แต่ถ้าเกิดเป็นเหตุการณ์ยาวถึง 7 วัน แล้วฝ่ายนโยบายไม่มีการทบทวน หรือแผน อย่างนี้สิ
“ลองใช้สามัญสำนึกวิเคราะห์ สมมติ ท่านเป็นผู้บัญชาการ จะทำอย่างไร กลับกัน อันนี้ไม่ได้มาเอาแพ้ชนะ มาพูดด้วยเหตุผลกัน อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติการ และมันต่อเนื่องกันวันนั้น ฝ่ายอำนวยการข้างนอกไม่สามารถเข้าไปได้เลย และมอบหมายให้ฝ่ายปฏิบัติรับผิดชอบกันไป”
อ่านประกอบ :
ดูเหตุผลศาลฎีกาฯยกฟ้อง‘สมชาย-บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท-สุชาติ’ก่อน ป.ป.ช. อุทธรณ์แค่รายเดียว?
‘สมชาย-บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท’รอด!ป.ป.ช. ยื่นอุทธรณ์คดีสลาย พธม.แค่‘สุชาติ’รายเดียว
อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ประสบความสำเร็จ!ปธ.ป.ป.ช.ปัดอุ้ม‘พัชรวาท’คดีสลาย พธม.
พธม. เล็งฟ้องเอาผิดมาตรา 157 ป.ป.ช. ไม่อุทธรณ์ พัชรวาท-ชวลิต-สมชาย
ข้อต่อสู้‘สมชาย-บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท’คดีสลายพธม.ไขคำตอบ ป.ป.ช.อุทธรณ์ ‘สุชาติ’รายเดียว?
ป.ป.ช.ถกอุทธรณ์คดีสลาย พธม. 29 ส.ค. -ขอ 'วัชรพล'ถอนตัวหวั่นถูกวิจารณ์มีส่วนได้เสีย
เจาะคำวินิจฉัยผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยคดีสลาย พธม. แก๊สน้ำตารุนแรงทำคนเจ็บ-ตายได้?
ผู้ชุมนุมขว้างน็อต-มีระเบิดปิงปอง!คำพิพากษาฉบับเต็มชี้ใช้แก๊สน้ำตาสลาย พธม.ชอบแล้ว
'สมชาย-ชวลิต-พัชรวาท-สุชาติ' รอด! ศาลฎีกาฯ ยกฟ้องคดีสลายพันธมิตรฯปี 51
คลอดคำวินิจฉัย 40 หน้า คดีสลายพันธมิตรฯ-ไม่มีเจตนาพิเศษให้ ตร.ทำร้ายผู้ชุมนุม
‘วัชรพล’รับสัมพันธ์‘วงษ์สุวรรณ’คือจุดอ่อนชีวิต! ยันตอบสังคมได้ปมอุทธรณ์คดีสลาย พธม.
ยื่น ป.ป.ช.อุทธรณ์คดีสลาย พธม.-‘วีระ’ ย้อน’บิ๊กตู่’คสช.เคยฉีก รธน.ผิดไหม
7 ส.ค.พธม.ยื่น ป.ป.ช.จี้อุทธรณ์คดีสลายชุมนุม-‘วิชา’ยันศาล ปค.ชี้แล้ว จนท.รัฐทำโดยมิชอบ
9ปีรูดม่านคดีสลาย พธม. เจาะคำพิพากษาศาลไฉนยกฟ้อง‘สมชาย-บิ๊กจิ๋ว-พัชรวาท-สุชาติ’?
'สมชาย-ชวลิต-พัชรวาท-สุชาติ' รอด! ศาลฎีกาฯ ยกฟ้องคดีสลายพันธมิตรฯปี 51
เคารพคำพิพากษาแต่ไม่เห็นพ้อง!มติ พธม.ยื่น ป.ป.ช.อุทธรณ์คดีสลายชุมนุมปี'51
ยังไม่ได้ข้อสรุปอุทธรณ์คดีสลาย พธม.!ป.ป.ช.สั่ง จนท.ดูคำพิพากษา-เชื่อทันกรอบ รธน.
‘สมชาย’แถลงปิดคดีปัดสั่งสลายชุมนุม เผย‘พัชรวาท-สุชาติ’ออกหน้าดูเอง–พิพากษา 2 ส.ค.
เบื้องหลัง!ความพยายามสู้นอกศาลของ ‘สมชาย-พวก’ก่อนรูดม่านปิดคดีสลาย พธม.?