‘อิศรา’ถาม ผจก.ใหญ่‘บีซีพีจี’ตอบ! ปมร่วมทุน ‘โซลาร์ฟาร์ม’-เชิญ‘น้องบิ๊กป้อม’นั่ง กก.?
“บริษัทนี้ดำเนินโครงการมาจะเป็น 1,000 เมกะวัตต์อยู่แล้ว ส่วนของ อผศ. แค่ไม่กี่เมกะวัตต์ ถือว่าเล็กนิดเดียว ไม่มีสาระสำคัญเลย เราเคยทำให้สหกรณ์ เกษตรกรมีความสุข มีความสัมพันธ์ช่วยเหลือกันมาตลอด สบายใจได้ ไม่มีอะไร เพราะกลุ่มบางจากฯ เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรต้นแบบ ทหารไม่ใช่เพิ่งมา เราเสมือนเป็นบรรษัทน้ำมันของชาติ คล้าย ๆ กับ ปตท. ทหารต้องดูแลอยู่แล้ว ไม่เคยใช้อิทธิพลอะไร อยากให้ทุกคนเข้าใจ”
กลายเป็นหนังม้วนยาวไปแล้ว !
กรณีการคัดเลือกชนร่วมลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ. 2560 (โซลาร์ฟาร์ม) ขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) ที่ถูกตั้งคำถามอย่างมาก
ทั้งความไม่ชอบมาพากลในการคัดเลือกเอกชน ที่ถูกกล่าวหาว่า มีนายทหารยศพลเอกชื่อย่อ ‘เสธ.จ.’ เรียกรับผลประโยชน์จากเอกชนที่เข้าไปวิ่งเต้นเพื่อให้ร่วมลงทุนกับ อผศ. รายละ 1 ล้านบาท/เมกะวัตต์ (อผศ. ได้โควตา 100 เมกะวัตต์ สัญญา 25 ปี)
รวมถึงการขอโควตาจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็อาจถูกตั้งำถามเช่นกันว่า อผศ. เอาที่ดินจากไหนไปขอโควตานี้ เพราะตามบันทึกความเข้าใจที่ชี้แจงเอกชน และประกาศ อผศ. ระบุว่า เอกชนจำเป็นต้องมีที่ดินเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวเอง และให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ อผศ. ช่วงเดือน ส.ค. 2560 หรือหลังจากที่ผ่านการพิจารณาของ กกพ. ไปแล้ว
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องธรรมาภิบาล และอาจเกี่ยวเนื่องถึงเรื่อง Conflict of interest (ผลประโยชน์ทับซ้อน) เพราะพบว่า มีเอกชนอย่างน้อย 2 ราย ได้แก่ บริษัท เข็มเหล็ก จำกัด และบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เชิญนายทหารระดับสูงรวม 4 นาย มาเป็นกรรมการ มีอย่างน้อย 2 นาย ที่เป็นเครือญาติโดยตรงกับ รัฐมนตรีคนสำคัญในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
คือ พล.อ.นิพนธ์ สีตบุตร เครือญาติ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม
สำหรับบริษัท เข็มเหล็ก จำกัด สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เคยติดต่อขอสัมภาษณ์นายประเสริฐ ธรรมมนุญกุล ประธานเครือสุธีกรุ๊ป และกรรมการบริษัท เข็มเหล็ก จำกัดไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการชี้แจง เพราะต้องเขียนคำถามส่งไปทางอีเมล์ก่อน (ขณะนี้ได้ส่งไปเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับ)
ส่วนบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เอกชนน้องใหม่ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ ที่มีบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่สุด 70.35%
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ติดต่อไปยังนายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เพื่อขอให้ชี้แจงกรณีดังกล่าว นายบัณฑิต ตอบรับ และชี้แจงทุกแง่มุมเกี่ยวกับการได้รับเลือกร่วมลงทุนโครงการ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ ของ อผศ.
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เรียบเรียง ดังนี้
@เข้าไปร่วมลงทุนในโครงการ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ กับ อผศ. อย่างไร
นายบัณฑิต : รอบนี้ต้องขอใช้คำว่าเป็นรอบที่สองที่เข้าร่วมโครงการ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ ของ กกพ. โดยรอบแรกเมื่อปี 2558 ได้เข้าร่วมเช่นกัน แต่ไม่ได้เข้าร่วมในส่วนของราชการ แต่เข้าร่วมในส่วนของสหกรณ์ภาคการเกษตร ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ลงทุนในตลาดทรัพย์ฯ ใช้ชื่อว่าบริษัท บีซีพีจี จำกัด ดำเนินการอย่างเต็มที่ เกิดประโยชน์กับเกษตรกร และได้รับคำชมเชยอย่างมาก เพราะเราเสร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย
ส่วนในปี 2560 หรือรอบสอง เบื้องต้นอยากจะร่วมลงทุนกับ อผศ. ตั้งแต่รอบแรกแล้ว แต่กังวลว่า จะติดขัดกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ แต่ต่อมาในรอบสอง เมื่อเห็นว่า อผศ. หลุดเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว เลยอยากทำบ้าง ยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการของบอร์ด นำเสนอที่ดิน เทคโนโลยี ของบริษัทให้แก่ อผศ. ดู และทำตามเงื่อนไข ระเบียบ กกพ. และประกาศ อผศ. ทุกอย่าง ตามหลักเกณฑ์ทั้งหมด จนสุดท้ายได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสิบเอกชน
@การเข้าร่วมลงทุนกับ อผศ. ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้าง เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ตอนขอขึ้นทะเบียนเสียเงิน 50,000 บาท หลังจากนั้นเสียเงินค่าร่วมงาน 1 ล้านบาท ค่าดำเนินการของ อผศ. 5 แสนบาท และค่าตอบแทนประโยชน์แก่ทหารผ่านศึก 2 แสนบาท/ปี
นายบัณฑิต : รอบนี้ไม่ค่อยแน่ใจว่าวางเงินหลักประกันเท่าไหร่ ถ้าเงื่อนไขที่ อผศ. ออกมาอย่างไร ทำตามทั้งหมด แต่หลักใหญ่คือต้องมีความพร้อมทางเทคนิค การเงิน ที่ดิน ศักยภาพสร้างโซลาร์ฟาร์มได้ ต้องเป็นที่ดินที่สามารถดำเนินการได้ และวางสายส่งได้ เพราะสายส่งไม่ได้วางอยู่ทั่วประเทศ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) คือในเครือบริษัท บางจากฯ อยู่ในวงการมานาน รู้ทั้งหมดว่าบริเวณไหนมีศักยภาพดำเนินการ จึงนำเสนอข้อมูลทั้งด้านเทคนิค เทคโนโลยีที่สะสมในการทำโซลาร์ฟาร์มไป ทำให้ได้ร่วมลงทุน
@หมายความว่า อผศ. ไม่มีที่ดินดำเนินการเอง
นายบัณฑิต : คุ้น ๆ มาว่า อผศ. มีที่ดินส่วนตัวอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอโควตา 100 เมกะวัตต์ เพราะ 1 เมกะวัตต์ ต้องใช้ที่ดินประมาณ 8-10 ไร่ 100 เมกะวัตต์ ต้องใช้ 80-100 ไร่ อาจมีส่วนหนึ่ง แต่ไม่พียงพอ จึงให้เอกชนเสนอที่ดินตรงนี้ให้เขา โดยต้องโอนเป็นกรรมสิทธิ์ให้แก่ อผศ.
@นั่นคือ อผศ. ให้เอกชนหาที่ดินมาให้ ไม่ใช่ อผศ. มีที่ดินที่ตั้งของโครงการอยู่แล้วใช่หรือไม่
นายบัณฑิต : เอกชนดำเนินการหาที่ดินที่ตั้งโครงการเกือบทั้งหมด อผศ. อาจมีที่ดินเยอะ แต่ที่ดินบางแห่งไม่มีศักยภาพในการดำเนินการ คืออาจไม่มีสายส่ง หรืออะไรก็ตามแต่ในเชิงเทคนิคของการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม ทำให้ที่ดินอาจไม่ครบจำนวน 100 เมกะวัตต์ ดังนั้นจึงมอบหมายให้เอกชนดำเนินการหามา ก่อนจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เขา และแบ่งรายได้จากค่าไฟให้เขาด้วย เพราะเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด แต่ละรายยื่นข้อเสนอ โชว์ศักยภาพในการทำโซลาร์ฟาร์ม ขายไฟได้ เชื่อมกับสายส่งได้
“เอกชนต้องรู้เองว่าที่ดินตรงไหนมีศักยภาพทำได้ อผศ. ไม่รู้หรอก เขาไม่ได้อยู่ในวงการ แต่พวกเรามี value กึ๋น มีนักพัฒนา และเอกชนทั้ง 10 รายที่ผ่านการคัดเลือกก็เป็นตัวจริงในด้านธุรกิจพลังงาน ดำเนินการธุรกิจด้านนี้มาอย่างช้านาน”
@พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อุทิศ สุนทร และ พล.อ.คณิต สาพิทักษ์ เข้ามาเป็นกรรมการได้อย่างไร
นายบัณฑิต : เรื่องนายทหารชั้นผู้ใหญ่ 3 นาย อยู่ในบอร์ดนั้น เรื่องราวอยู่ที่ฝ่ายจัดการ ไม่ทราบรายละเอียด อย่างไรก็ดีอาจเป็นไปได้ว่าเป็นเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน ต้องเข้าใจว่า กองทัพดูแลความมั่นคงทางพลังงานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มีหลายองค์กรทางพลังงานที่ให้ทหารเข้าไปช่วยดูแล เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็มี หรือบริษัท บางจากฯ ที่ก่อตั้งมาสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีนายทหารเข้าไปช่วยดูแลในเชิงนโยบายด้านความมั่นคง ดังนั้นด้านพลังงาน กับทหาร จึงอาจแยกจากกันไม่ได้
“ทหารยังมีคุณูปการกับเรามากด้วย เช่น เมื่อปี 2554 ตอนน้ำท่วมใหญ่ ทหารเป็นฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือเราอย่างมาก คอยวางบิ๊กแบ๊กกั้นน้ำ หรือสร้างเขื่อนกั้นน้ำท่วมโรงงานไฟฟ้าของเรา ไม่งั้นป่านนี้โรงกลั่นน้ำมัน หรือโซลาร์ฟาร์ม ท่วมไปหมดแล้ว”
@มีการตั้งข้อสังเกตว่า เชิญ 3 นายทหารดังกล่าวเข้ามาเพื่อให้ได้ร่วมทุนกับ อผศ. ง่ายขึ้น
นายบัณฑิต : ยืนยันว่า ไม่ได้ใช้อิทธิพลในการเข้าร่วมลงทุนกับ อผศ. แต่อย่างใด
@แต่ช่วงเวลาที่ 3 นายทหารดังกล่าวเข้ามา คือช่วงที่ ‘บีซีพีจี’ เริ่มลงทุน ‘โซลาร์ฟาร์ม’ รอบแรกปี’58 แต่ขณะนั้นไปลงทุนในส่วนสหกรณ์ เพราะกังวลว่าส่วนราชการที่ อผศ. ยื่นจะขัด พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
นายบัณฑิต : เรื่องเงื่อนเวลาเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า เพราะกลุ่มบางจากก่อตั้งมาประมาณ 30 ปี มีทหารเข้าไปสับเปลี่ยนเป็นกรรมการหมุนเวียนตลอด แต่บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เพิ่งแยกมา ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์มีการจัดโครงสร้างบริษัทใหม่ เพราะตอนตั้งบริษัทปี 2558 ยังไม่ได้แต่งตั้งบอร์ด หรือผู้ใหญ่ในหลายด้าน ห้วงเวลานั้นบริหารงานกันแค่ 2-3 ราย แต่เมื่อมีความพร้อมจะเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว จึงเชิญบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถแต่ละด้าน มาดูแลความมั่นคงทางพลังงาน ด้านการเงิน ด้านการธนาคาร
“บริษัทนี้ดำเนินโครงการมาจะเป็น 1,000 เมกะวัตต์อยู่แล้ว ส่วนของ อผศ. แค่ไม่กี่เมกะวัตต์ ถือว่าเล็กนิดเดียว ไม่มีสาระสำคัญเลย เราเคยทำให้สหกรณ์ เกษตรกรมีความสุข มีความสัมพันธ์ช่วยเหลือกันมาตลอด สบายใจได้ ไม่มีอะไร เพราะกลุ่มบางจากฯ เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรต้นแบบ ทหารไม่ใช่เพิ่งมา เราเสมือนเป็นบรรษัทน้ำมันของชาติ คล้าย ๆ กับ ปตท. ทหารต้องดูแลอยู่แล้ว ไม่เคยใช้อิทธิพลอะไร อยากให้ทุกคนเข้าใจ”
สรุปคือการเข้าไปร่วมโครงการ ไม่ได้หวังผลในทางธุรกิจเลย เพราะมันเล็กนิดเดียว เราเห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องนี้ เราเลยเข้าไปดำเนินการผ่านกระบวนการของ อผศ. นายทหารไม่ได้เพิ่งมา แต่มีทหารอยู่ตลอด ทั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทั้งกลุ่มบางจาก
“เรื่องตั้งตอนมี อผศ. คงไม่เกี่ยว เป็นจังหวะพอดี ถามว่า เรากำลังจะเข้าตลาด กำลังจะสร้างบ้าน พอบ้านเข้าที่เข้าทาง จะเชิญใครมาอยู่ในบ้านบ้าง ให้ดูว่าในปี’58 ที่ กกพ. ทำโครงการรอบแรกแล้ว อผศ. เสนอขอโควตา ถ้าใช้อิทธิพลจริง ต้องมีชื่อกลุ่มผมเข้าไปแล้ว แต่พวกเรามองดูแล้วเห็นว่า ติด พ.ร.บ.ร่วมทุนฯแน่ จึงไม่ได้เข้าไป แต่ไปลงทุนที่ญี่ปุ่น ที่ฟิลิปปินส์แทน ส่วนโครงการ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ อผศ. เป็นองค์ประกอบแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น”
ทั้งหมดคือคำชี้แจงของ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ที่ยืนยันว่า ไม่ได้ใช้อิทธิพลทางทหารเพื่อให้ได้ร่วมลงทุนกับ อผศ. ในโครงการ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ อย่างแน่นอน
ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนี้หรือไม่ คงต้องรอให้กระทรวงกลาโหม และนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับข้อร้องเรียนไปแล้ว ดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง !
‘บีซีพีจี’เอกชนร่วมทุน‘โซลาร์ฟาร์ม’อผศ. ‘น้องบิ๊กป้อม-2พล.อ.’กก.- ปัดใช้อิทธิพลได้งาน
แกะรอย‘พล.อ.’ญาติ‘บิ๊กโด่ง’นั่ง กก. บ.เข็มเหล็ก หลังปิดรับร่วมทุน‘โซลาร์ฟาร์ม’แค่ 5 วัน
เปิดตัวบ.เข็มเหล็กฯร่วมทุน‘โซลาร์ฟาร์ม’ อผศ.-'พล.อ.'ญาติ‘บิ๊กโด่ง’นั่ง ปธ.ช่วงคัดเอกชน
ไทม์ไลน์-เบื้องหลัง!ปม‘โซลาร์ฟาร์ม’อผศ. ข้อสงสัยถึงกระบวนการคัดเอกชนร่วมทุน?
อผศ.นัดเอกชนคืนเงินประกัน1ล. ปมไม่ได้ร่วมทุน‘โซลาร์ฟาร์ม’-หลายรายไม่ยอมจ่อยื่นอุทธรณ์
คำถามถึง กกพ.ปม‘โซลาร์ฟาร์ม’ อผศ.ต้องใช้ที่ดินใคร-โอนกรรมสิทธิ์ทีหลังได้หรือ?
ยื่น กกพ.สอบ อผศ.เอาที่ดินจากไหนทำ ‘โซลาร์ฟาร์ม’ ใช้ของเอกชนได้หรือไม่
แกะรอย‘พล.อ.’ญาติ‘บิ๊กโด่ง’นั่ง กก. บ.เข็มเหล็ก หลังปิดรับร่วมทุน‘โซลาร์ฟาร์ม’แค่ 5 วัน
เปิดตัวบ.เข็มเหล็กฯร่วมทุน‘โซลาร์ฟาร์ม’ อผศ.-'พล.อ.'ญาติ‘บิ๊กโด่ง’นั่ง ปธ.ช่วงคัดเอกชน
สะพัด กห.เสียงแตก!เซ็ตซีโร่‘โซลาร์ฟาร์ม’ โฆษกยันไม่จริง-ญาติ‘บิ๊กโด่ง’ได้งานเป็นสิทธิ์
เปิด 10 เอกชนผ่านรอบสุดท้ายร่วมทุน ‘โซลาร์ฟาร์ม’อผศ.-2 บริษัท กก.เดียวกันได้ด้วย
เบื้องหลัง!อผศ.ร่วมเอกชนลงทุน‘โซลาร์เซลล์’ -เปิด 21 บริษัท ก่อนถูกร้องปมเรียกเงิน?
ไทม์ไลน์-เบื้องหลัง!ปม‘โซลาร์ฟาร์ม’อผศ. ข้อสงสัยถึงกระบวนการคัดเอกชนร่วมทุน?
ทำธุรกิจให้คำปรึกษา!พบอีก2เอกชนร่วมทุน 'โซลาร์เซลล์'อผศ.ใช้ที่อยู่-กก.เดียวกัน
พบเอกชน4รายผ่านการคัดเลือกร่วมทุน ‘โซลาร์เซลล์’อผศ.ใช้ กก.คนเดียวกัน
ปูดชื่อ‘เสธ.จ.’คนอ้าง คสช.-ประวิตร เรียกเงิน ‘โซลาร์เซลล์’ อผศ.-ร้อง‘บิ๊กตู่-กห.’สอบ
ยื่น ป.ป.ช.ไต่สวน ผอ.อผศ.-จนท.ปม ‘โซลาร์เซลล์’ให้ กห.สอบเชิงลึกหาตัว ‘เสธ.จ.’
เปิดบันทึก-ประกาศ กกพ.! ชัดๆ อผศ. เอา‘ที่ดิน’จากไหนมาทำ‘โซลาร์เซลล์’?
ส่งหลักฐานได้ทุกช่องทาง!ผอ.อผศ.ลั่นเอาผิดคนอ้างชื่อคสช.-ประวิตรรับปย.โซลาร์เซลล์
คำชี้แจง กห.เทียบข้อมูล‘อิศรา’ปม ‘โซลาร์เซลล์’อผศ.-2 ข้อสงสัยที่ยังไม่เคลียร์?
ไร้กลุ่มอิทธิพลแทรกแซง!โฆษก กห.แจงปม ‘โซลาร์เซลล์’อผศ.-ยันคัดเอกชนโปร่งใส
หมายเหตุ : ภาพประกอบนายบัณฑิต จาก varietyetc