- Home
- Thaireform
- ในกระแส
- ‘สารี อ๋องสมหวัง’ จี้ปรับปรุงฉลากสินค้า GMOs ให้ชัดเจน
‘สารี อ๋องสมหวัง’ จี้ปรับปรุงฉลากสินค้า GMOs ให้ชัดเจน
ฉลากผลิตภัณฑ์ GMOs ครอบคลุม ถั่วเหลือง-ข้าวโพด 22 รายการ ‘สารี อ๋องสมหวัง’ เรียกร้องปรับปรุงให้มองเห็นชัดเจน จะได้ไม่ต้องใช้เเว่นขยาย พร้อมลดปริมาณตกค้างของวัตถุดิบดัดแปลงพันธุกรรมเหลือ 1%
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558 น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Saree Aongsomwang’ เรียกร้องให้มีการปรับปรุงฉลากผลิตภัณฑ์ที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms :GMOs)
น.ส.สารี ระบุว่า ฉลาก GMOs ในประเทศไทย มีมานานตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ครอบคลุมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารที่มี GMOs เพียง 2 ชนิด คือ ถั่วเหลืองและข้าวโพด ใน 22 รายการ และยอมรับให้มีการตกค้างของวัตถุดิบที่มี GMOs ร้อยละ 5 เนื่องจากในสมัยนั้นห้องทดลองของประเทศไทย สามารถตรวจสอบการตกค้าง GMOs ได้เพียงร้อยละ 3
ทำให้เรายอมรับการตกค้างมากถึงร้อยละ 5 แต่ปัจจุบันอาหารและสินค้าที่มีใน GMOs มีมากขึ้น นอกเหนือจากถั่วเหลืองและข้าวโพด ยังมีมะละกอ มันฝรั่ง และปลาเซลมอน อยู่ในประเทศไทย
สำหรับปัญหาฉลาก GMOs ในอดีต เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ที่สำคัญ คือ การมองไม่เห็นฉลาก และยอมรับให้มีการตกค้างมากเกินไป ควรลดปริมาณตกค้างลงมาเหลือร้อยละ 1 โดยมีข้อเสนอให้ใช้สัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ง่ายในฉลาก ไม่ใช่ต้องใช้แว่นขยายในการดูฉลากเหมือนฉลากในปัจจุบัน
ที่สำคัญต้องให้บริษัทผู้ผลิตอาหารมีนโยบายไม่ใช้วัตถุดิบที่มาจาก GMOs เหมือนอย่างที่บริษัท เนสท์เล่ มีนโยบาย เรื่องผลิตภัณฑ์ในสหภาพยุโรป (EU)
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ.2545 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม ระบุ อาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมที่ต้องมีการแสดงฉลากอาหาร มี 22 รายการ ดังต่อไปนี้
1. ถั่วเหลือง 2. ถั่วเหลืองสุก (cooked soybean) 3. ถั่วเหลืองคั่ว 4. ถั่วเหลืองบรรจุขวดหรือบรรจุกระป๋อง (canned soybean) หรือบรรจุในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (retort pouch) 5. ถั่วหมัก (natto) 6. เต้าเจี้ยว (miso) 7. เต้าหู้ เต้าหู้ทอดน้ำมัน 8. เต้าหู้แช่แข็ง กากเต้าหู้ (ฟองเต้าหู้และผลิตภัณฑ์) 9. นมถั่วเหลือง 10. แป้งถั่วเหลือง (soybean flour) 11. อาหารที่มีอาหารตามข้อ 1-10 เป็นส่วนประกอบหลัก 12. อาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง (soybean protein) เป็นส่วนประกอบหลัก
13. อาหารที่มีถั่วเหลืองฝักอ่อนและยอดอ่อน (green soybean) เป็นส่วนประกอบหลัก 14. อาหารที่มีถั่วงอกที่ได้จากถั่วเหลืองเป็นองค์ประกอบหลัก 15. ข้าวโพด 16. ป๊อปคอร์น (pop corn) 17. ข้าวโพดแช่เยือกแข็ง (freeze) หรือแช่เย็น (chill) 18. ข้าวโพดบรรจุขวดหรือบรรจุกระป๋อง (canned corn) หรือบรรจุในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (retort pouch) 19. แป้งข้าวโพด (corn flour/corn starch) 20. ขนมขบเคี้ยวที่ผลิตโดยใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบหลัก 21. อาหารที่มีอาหารตามข้อ 15-20 เป็นส่วนประกอบหลัก 22. อาหารที่มีข้าวโพดบดหยาบ (corn grits) เป็นส่วนประกอบหลัก .
อ่านประกอบ:ภาค ปชช. บุกทำเนียบฯ ยื่น ‘ประยุทธ์’ ชะลอร่าง พ.ร.บ. จีเอ็มโอ
ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์:กฎหมายจีเอ็มโอมีรูรั่วมากมาย
‘วัลลภ ตังคณานุรักษ์’เชื่อจะมีการยับยั้ง-ตั้ง คกก.ศึกษาร่วมร่าง กม.GMOs
กรีนพีซฯ เรียกร้อง สนช.ยุติพิจารณาร่าง กม.จีเอ็มโอ
เปิด 4 ความเห็น สภาพัฒน์ฯ ต่อร่างกฎหมายจีเอ็มโอ
สภาเกษตรกรฯ จี้รัฐทบทวนร่างกม.จีเอ็มโอ หวั่นไม่เพียงทุบหม้อข้าว ยังเผาบ้านตัวเอง
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ:เงื่อนงำชัดเจนดันร่างกม.จีเอ็มโอผ่าน ครม.
พ.ร.บ.ตัดแต่งพันธุกรรมกำลังกลับมาอาละวาดอีกที.....
ร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ....
เอ็นจีโอ ชี้ 'ประยุทธ์ มองให้ออก GMO ปัญหาความมั่นคงชาติ ทำลายเกษตรกรรายย่อย
ปลุกผู้บริโภคตื่นรู้ ‘วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ’ ชี้พืช GMOs กระทบฐานผลิตระบบอาหาร
ภาพประกอบ:https://web.facebook.com/photo.php?fbid=1055706931140051&set=pcb.1055723487805062&type=3&theater