ส่องคดีทุจริตโลก : พรรคการเมืองออสเตรเลีย ไม่แจ้งที่มาเงินบริจาคลึกลับ 2หมื่นล.
"...ศูนย์ธรรมาภิบาลสาธารณะประเมินว่าเงินบริจาคลึกลับเหล่านี้คิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 31.4 ของรายได้ทั้งหมดที่พรรคการเมืองได้รับมาในช่วงปี 2561-2562 และถ้าหากนำเงินบริจาคลึกลับมารวมยอดกันตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานั้น จะพบว่าพรรคการเมืองใหญ่ของออสเตรเลียได้รับเงินบริจาคลึกลับสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (20,958,700,000 บาท)...และเมื่อเจาะลึกข้อมูลลงไปอีกก็พบว่าพรรคการเมืองระดับใหญ่ที่ว่า ซึ่งก็คือพรรคเนชั่นแนลและพรรคลิเบอรัลได้ปกปิดข้อมูลรายได้อย่างน้อยร้อยละ 40 ในช่วงเวลาอย่างน้อย 20 ปีก่อนหน้านี้ ส่วนพรรคแรงงานนั้นปกปิดรายได้เป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ 28 ของรายได้ทั้งหมด..."
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ประจำสัปดาห์นี้ ขอย้อนไปที่ประเด็นเรื่องการบริจาคเงินของพรรคการเมืองในประเทศออสเตรเลียกันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้เคยนำเสนอกรณีกลุ่มทุนต่างๆในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้ปกปิดการบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองของออสเตรเลีย โดยแลกกับการได้รับสัญญาเข้าไปพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ (อ่านประกอบ:ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักข่าวการ์เดี้ยนของอังกฤษ ในออสเตรเลีย ได้รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากศูนย์ธรรมาภิบาลสาธารณะ (The Centre for Public Integrity) ของออสเตรเลีย ระบุว่าในช่วงปี 2561-2562 ที่ผ่านมา พบว่าพรรคการเมืองระดับใหญ่ของประเทศออสเตรเลียมีการรับเงินบริจาคจากแหล่งซึ่งระบุที่มาไม่ได้ หรือที่เรียกว่า “ดาร์กมันนี่” เป็นจำนวนสูงถึง 103 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,158,746,100 บาท) ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
โดยศูนย์ธรรมาภิบาลสาธารณะประเมินว่าเงินบริจาคลึกลับเหล่านี้คิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 31.4 ของรายได้ทั้งหมดที่พรรคการเมืองได้รับมาในช่วงปี 2561-2562 และถ้าหากนำเงินบริจาคลึกลับมารวมยอดกันตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานั้น จะพบว่าพรรคการเมืองใหญ่ของออสเตรเลียได้รับเงินบริจาคลึกลับสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (20,958,700,000 บาท)
และเมื่อเจาะลึกข้อมูลลงไปอีกก็พบว่าพรรคการเมืองระดับใหญ่ที่ว่า ซึ่งก็คือพรรคเนชั่นแนลและพรรคลิเบอรัลได้ปกปิดข้อมูลรายได้อย่างน้อยร้อยละ 40 ในช่วงเวลาอย่างน้อย 20 ปีก่อนหน้านี้ ส่วนพรรคแรงงานนั้นปกปิดรายได้เป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ 28 ของรายได้ทั้งหมด
ซึ่งปัญหานี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของกฎหมายว่าด้วยการบริจาคเงินให้พรรคการเมืองของออสเตรเลียที่บังคับใช้ในปี2561-2562 ประการหนึ่งก็คือ ในการบริจาคเงินนั้นถ้าหากมีการจ่ายเงินให้เป็นจำนวนที่สูงกว่า 13,800 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (289,230 บาท) จะต้องมีการสำแดงรายละเอียดทุกครั้งไป ส่วนการบริจาคเงินที่มีมูลค่าต่ำกว่านั้นไม่จำเป็นต้องสำแดงรายการให้สาธารณชนได้รับทราบ และเนื่องจากไม่ได้มีการบัญญัติว่าให้รวมเงินบริจาคไว้เป็นยอดเดียว ก็หมายความว่าการบริจาคเงินจำนวนน้อยกว่า 13,800 ดอลลาร์ออสเตรเลีย แต่กระทำเป็นจำนวนหลายครั้งนั้นสามารถกระทำได้ และจะถูกปกปิดเป็นความลับต่อสาธารณชนโดยสิ้นเชิง
รายงานข่าวระบุว่า ระบบของประเทศออสเตรเลียในเรื่องการประกาศเงินบริจาคขอพรรคการเมืองนั้นจะต้องกระทำกัน 1 ครั้งต่อปี โดยพรรคการเมืองจะต้องรายงานยอดเงินการบริจาคทั้งหมดต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในช่วงเดือนตุลาคม และหลังจากนั้นจะมีการเผยแพร่ข้อมูลการบริจาคในทุกเดือนกุมภาพันธ์
แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวนั้นทำให้เกิดปัญหาเรื่องช่องว่างระหว่างเวลาในช่วงที่จะมีการบริจาคเงิน ช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง และช่วงเวลาที่จะมีการตรวจสอบความโปร่งใสเป็นอย่างมาก
ถ้าหากเปรียบเทียบกับระบบการแสดงข้อมูลการบริจาคเงินในการเมืองระดับมลรัฐ จะพบว่าระบบการแสดงข้อมูลการบริจาคเงินในระดับประเทศนั้นแย่กว่ามาก
โดยในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐควีนส์แลนด์ การบริจาคเงินจะต้องแจ้งต่อสาธารณชนให้ทราบทุกครั้ง ถ้าหากมีการบริจาคเงินเป็นจำนวนตั้งแต่ 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (20,958 บาท) ขึ้นไป
ซึ่งกรณีดังกล่าวหมายความว่าสาธารณชนจะทราบความเคลื่อนไหวของกระแสเงินที่ให้กับพรรคการเมืองได้เร็วกว่ามาก
ข้อมูลเงินบริจาคอันลึกลับที่พรรคการเมืองได้รับตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โดยพรรคแรงงานจะใช้กราฟสีแดง ส่วนกลุ่มพันธมิตรพรรคร่วมเนชั่นแนลและลิเบอรัล (The Liberal–National Coalition) จะใช้กราฟสีฟ้า
ซึ่งในขณะนี้นั้นพรรคแรงงานและพรรคกรีนต่างก็ได้สนับสนุนให้แก้ไขกฎหมายการสำแดงยอดเงินบริจาคให้ลดลงเหลือแค่ 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และจะต้องสำแดงใบเสร็จหลังจากที่มีการบริจาคภายใน 7 วัน เพื่อแสดงความโปร่งใส
ขณะที่นายจอฟฟรีย์ วัทสัน (Geoffrey Watson) ผู้อำนวยการของศูนย์ธรรมาภิบาลสาธารณะ และอดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการอิสระเพื่อต่อต้านการทุจริตประจำมลรัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW Independent Commission Against Corruption) ได้ออกมาสนับสนุนเช่นกันว่าควรจะมีการจำกัดยอดบริจาคเงินเอาไว้ที่ 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อที่จะขจัดอิทธิพลของกลุ่มทุนทางการเมืองที่มาพร้อมกับการทำแคมเปญหาเสียง
นายจอฟฟรีย์ วัทสัน (Geoffrey Watson) ผู้อำนวยการของศูนย์ธรรมาภิบาลสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะมีการรับปากโดยทางฝ่ายรัฐบาลเมื่อช่วงปี 2562 ว่าจะมีการออกกฎหมายฉบับใหม่เพื่อต่อต้านการทุจริตออกมา แต่ก็ปรากฏว่ายังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
โดยมีรายงานข่าวว่า ในขณะนี้ เกิดความล่าช้าขึ้นในกระบวนการทางด้านนิติบัญญัติของประเทศออสเตรเลียในการโหวตให้ผ่านร่างกฎหมายการให้อำนาจคณะกรรมการด้านธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการตรวจสอบทุจริต ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นถูกเสนอขึ้นมาโดยพรรคกรีน และเนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวก็ดูมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการทุจริตมากกว่าร่างกฎหมายการต่อต้านทุจริตที่ถูกเสนอโดยกลุ่มพันธมิตรพรรคร่วมเนชั่นแนลและลิเบอรัล (The Liberal–National Coalition)
จนทำให้เกิดการวิเคราะห์ว่ารัฐบาลออสเตรเลียพยายามที่จะเตะถ่วงทุกกรณีเพื่อให้การโหวตเลื่อนออกไปให้นานที่สุด
เรียบเรียงจาก: https://www.theguardian.com/australia-news/2020/feb/11/more-than-100m-donated-to-political-parties-from-hidden-sources-in-election-year
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลเบลเยียม จำคุก18 ด.อดีตบิ๊ก Tony Goetz ฉ้อโกงค้า 'ทองคำ' ตลาดมืด
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยไวรัสโคโรน่า กับความล้มเหลว 'จีน' ในการใช้ กม.คุมตลาดค้าสัตว์ป่า
ส่องคดีทุจริตโลก: ข้อกล่าวหาจนท.FAA เอื้อปย.-เปิดเส้นทางสายการบินโลว์คอสต์สหรัฐฯ
ส่องคดีทุจริตโลก: สะเทือนญี่ปุ่น! อดีต รมว.ยธ.-ภรรยา โดนสอบคดีซื้อเสียงผ่านค่าล่วงเวลา
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ค้าอาวุธสเปน จ่ายสินบนจนท.ซาอุฯ ผ่านบ.บังหน้า ร้อยล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก:ไทม์ไลน์อดีต ปธ.นิสสิน ซ่อนตัวกล่องดับเบิลเบส หลบหนีคดีทุจริตบันลือโลก
ส่องคดีทุจริตโลก:อดีต ผอ.สนามบินชางงีสิงคโปร์ รับสินบน แลกปลอมแปลงเอกสารเอื้อ บ.ไอที
ส่องคดีทุจริตโลก: ตร.เยอรมันทลายขบวนการบ.ยาต้านโรคมะเร็ง ให้สินบนหมอแลกใบเสร็จราคาแพง
ส่องคดีทุจริตโลก: สอบสวน 'วาติกัน' ลงทุนเอี่ยวบรรษัทฟอกเงินผ่านธนาคารสวิส
ส่องคดีทุจริตโลก : ศาลญี่ปุ่น จำคุกอดีต ขรก.ศึกษา 18ด. รับสินบน 'เลี้ยงอาหาร-ไวน์'
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช. อังกฤษสอบ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่ ให้สินบนแลกสัมปทานแสนล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารยักษ์ใหญ่สวีเดนเอี่ยวช่วยฟอกเงิน บ.ค้าอาวุธรัสเซียล้านยูโร
ส่องคดีทุจริตโลก : 'FBI' ทลายขบวนการสินบน บ.ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส คว้างานอินโด 3 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก : ป.ป.ช.ยูเครน สั่งยึดเอกสารกลาโหมสอบปมซื้ออาวุธแพงเกินจริง 300%
ส่องคดีทุจริตโลก: FIFA สะเทือน อีเมลลับจ่ายสินบนฟุตบอลโลก 2018 โผล่-ชื่อคนดังเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : ผ่าขบวนการเชิด 'บ.เปลือกนอก'อังกฤษ แหล่งฟอกเงินมหาเศรษฐี-จนท. ทุจริต
ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการสวิสสั่งปรับบริษัทพลังงาน2.8พันล้าน เอี่ยวปมสินบนในแอฟริกา
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage