ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดปมเอกชน 13 แห่ง ปกปิดข้อมูลบริจาคเงินให้พรรคการเมืองออสเตรเลีย
"...บริษัทระดับยักษ์ใหญ่จำนวน 13 แห่ง รวมถึงบริษัท Woolworths, Caltex, Origin Energy, AMP และบริษัท Incitec Pivot กำลังประสบปัญหาไม่สามารถชี้แจงข้อมูลการบริจาคเงินจำนวนมากให้กับพรรคการเมืองในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ได้ หลังจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้พยายามที่จะยื่นคำขออนุมัติพัฒนาพื้นที่ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ โดยหลังการเปิดเผยเรื่องดังกล่าว ได้ทำให้กรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม (The Department of Planning, Industry and Environment) ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ต้องดำเนินการสืบสวนข้อครหาความไม่โปร่งใสทันที..."
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา www.isranews.com ในสัปดาห์นี้ จะพาไปดูกรณีปัญหาความไม่โปร่งใสในการบริจาคเงินของบริษัทเอกชนให้กับพรรคการเมืองในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งประเด็นเรื่องการบริจาคเงินดังกล่าวกำลังเป็นปัญหาในหลายประเทศทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทยเอง ในช่วงก่อนการเลือกตั้งครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2562 ก็ปรากฎกรณีข้อครหาบริษัทเอกชนหลายแห่งได้บริจาคเงินให้กับพรรคพลังประชารัฐในการระดมทุนงานเลี้ยงโต๊ะจีน เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา
โดยเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2562 สำนักข่าวการ์เดี้ยนสาขาออสเตรเลีย ของประเทศอังกฤษ ได้นำเสนอรายงานข่าวชิ้นหนึ่ง ระบุถึงปัญหาการไม่แจ้งข้อมูลการบริจาคเงินของบริษัทหลายแห่งให้กับพรรคการเมืองในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ของออสเตรเลีย
ข่าวระบุว่า บริษัทระดับยักษ์ใหญ่จำนวน 13 แห่ง รวมถึงบริษัท Woolworths, Caltex, Origin Energy, AMP และบริษัท Incitec Pivot กำลังประสบปัญหาไม่สามารถชี้แจงข้อมูลการบริจาคเงินจำนวนมากให้กับพรรคการเมืองในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ได้ หลังจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้พยายามที่จะยื่นคำขออนุมัติพัฒนาพื้นที่ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์
โดยหลังการเปิดเผยเรื่องดังกล่าว ได้ทำให้กรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม (The Department of Planning, Industry and Environment) ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ต้องดำเนินการสืบสวนข้อครหาความไม่โปร่งใสทันที
กฎหมายของรัฐนิวเซาธ์เวลส์นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าบริษัทที่ได้ดำเนินการบริจาคเงิน ถ้าหากบริจาคเงินเกิน 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (20,691 บาท) ผู้บริจาคจะต้องสำแดงรายละเอียดการบริจาคเงินครั้งล่าสุดทุกครั้งที่กรอกเอกสารเพื่อจะขอเข้าไปดำเนินการพัฒนาหรือปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรการดังกล่าวนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทที่จะเข้ามาทำอสังหาริมทรัพย์เข้ามามีส่วนทำให้การเมืองเกิดการทุจริตได้
ด้านนายแอนโทนี วีลีย์ คิวซี (Anthony Whealy QC) อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกล่าวว่า ตัวเขาสงสัยว่าทางด้านของบริษัทนั้นได้ละเลยที่จะทำตามกฎหมายนี้อยู่บ่อยครั้ง และกฎหมายเองก็ยังไม่ถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง
“คุณสามารถออกกฎหมายห้ามต่างๆได้มากมาย แต่ถ้าหากขาดมาตรการในการตรวจสอบ บังคับใช้ ก็จะทำให้กฎหมายถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกรณีบริจาคเงินในครั้งนี้” นายแอนโทนี่กล่าวกับเดอะการ์เดี้ยน
นายแอนโทนี วีลีย์ คิวซี (Anthony Whealy QC) อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ทั้งนี้ สำนักข่าวการ์เดี้ยนสาขาออสเตรเลีย ได้ดำเนินการตรวจสอบบันทึกทางด้านอสังหาริมทรัพย์และข้อมูลการบริจาคเงินในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ พบว่าอาจจะมีการบริจาคเป็นจำนวนเงินนับแสนดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยบริษัทจำนวน 13 แห่ง ซึ่งไม่ได้แจ้งต่อแผนกการวางแผนพัฒนาพื้นที่ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์
อย่างเช่นกรณีของบริษัท Woolworths นั้นพบว่าบริษัทแห่งนี้ไม่ได้แจ้งว่าได้บริจาคเงินเป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,069,168 บาท) กับพรรคการเมือง NSW Liberals และพรรค Nationals ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นบริษัทแห่งนี้พยายามที่จะหาทางให้ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เมือง Mullumbimby ใกล้กับอ่าว Byron
ซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งของบริษัท Woolworths
เบื้องต้น สำนักข่าวการ์เดี้ยน ได้พยายามติดต่อไปยังบริษัท Woolworths เพื่อขอให้ชี้แจง ซึ่งทางบริษัทก็ระบุว่ารับทราบในข้อผิดพลาดนี้ และจะไปทบทวนในเรื่องของการกรอกใบคำร้องขอดำเนินการทางแผนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และยังระบุด้วยว่าจะไปแจ้งต่อกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์โดยเร็วที่สุด
“ในขณะที่เราได้เปิดเผยข้อมูลประวัติการบริจาคเงินให้พรรคการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมาให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รัฐนิวเซาธ์เวลส์ บริษัทของเราโดยเฉพาะในแผนกที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนแผนการจัดการธุรกิจรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้” บริษัทกล่าว
อีกกรณีหนึ่งก็คือกรณีบริษัทบริหารความมั่งคั่งที่ชื่อว่า AMP ที่ต้องไปให้ข้อมูลกับทางด้านของคณะกรรมการธนาคาร เนื่องจากบริษัทนั้นไม่ได้ชี้แจงกรณีการจ่ายเงินค่าสมาชิกคลับ Millennium Forum ซึ่งเป็นคลับของพรรค Liberal โดยจ่ายไปเป็นเงินทั้งสิ้น 1,650 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (34,141 บาท) และนอกจากนี้ยังพบกรณีการจ่ายเงินให้กับพรรค Liberal และพรรค Labor เป็นจำนวนน้อยแต่หลายครั้ง ในช่วงเวลาที่บริษัทกำลังจะยื่นเรื่องขอคำอนุมัติในการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์หรู ณ ท่าเรือ Circular Quay กรุงซิดนีย์
บริษัทบริหารความมั่งคั่ง AMP
สำหรับคลับ The Millennium Forum นั้นถือเป็นกลุ่มพบปะสังค์สรรกันระหว่างพรรค Liberal และบริษัทของประเทศออสเตรเลีย แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2557 คลับแห่งนี้ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระเพื่อต่อต้านการทุจริต (Independent Commission Against Corruption) เนื่องจากมีการกล่าวหาว่าคลับแห่งนี้ถูกใช้เป็นช่องทางในการจ่ายเงินสนับสนุนโดยมิชอบระหว่างพรรค Liberal กับบริษัทพัฒนาอสังหารัมทรัพย์
อย่างไรก็ตาม ทางด้านของบริษัท AMP ได้ชี้แจงว่าที่ผ่านมาบริษัทไม่ได้คิดว่าการเปิดเผยค่าสมาชิกคลับนั้นจะเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องแจ้งต่อกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการจ่ายเงินค่าสมาชิกนั้นไม่น่าจะถือได้ว่าเป็นการบริจาคเงินทางการเมือง
โดยในขณะนี้มีรายงานว่ามีบริษัทเอกชนบางส่วนนั้นถูกดำเนินคดีไปแล้ว ในข้อหาว่าไม่ได้แจ้งการจ่ายเงินเพื่อร่วมงานเลี้ยงของพรรคการเมือง
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้นทำให้กรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมต้องออกมาสอบสวนทันที โดยทางด้านของโฆษกกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม นั้นได้ระบุว่าบริษัทที่ยื่นขอพัฒนาอสังหารัมทรัพย์มีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งกิจกรรมการบริจาคในเอกสารทุกครั้ง จะถ้าหากบริษัทไม่ทำตามก็จะต้องถูกลงโทษ
โฆษกกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ยังกล่าวอีกว่า ในขณะนี้ได้มีการตรวจสอบรายงานการบริจาคเงินประจำปีนับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ควบคู่ไปกับการตรวจสอบสวนในประเด็นเรื่องการรับบริจาคต่างๆ และทางกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ยังได้มีการรับปรุงกระบวนการเปิดเผยข้อมูลเพื่อจะป้องกันกรณีข้อผิดพลาดอันไม่จงใจในการเปิดเผยการบริจาคเงินของบริษัท นอกจากนี้ทางกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ยังได้มีการลงโทษบริษัทที่ละเลยข้อปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลไปแล้ว 2 แห่งก็คือบริษัท AGL และบริษัท Optus
“ซึ่งเมื่อเกิดกรณีการกระทำผิดแล้ว ทางบริษัทต่างๆก็มักจะอ้างอยู่เสมอว่าเป็นเพราะข้อผิดพลาดจากการบริหาร ซึ่งกระบวนการบริจาคนั้น ทางบริษัทไม่ใช่แค่จะต้องแจ้งกับกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม เท่านั้น แต่ยังต้องไปแจ้งข้อมูลต่อหน่วยงานด้านการเลือกตั้งด้วย”โฆษกกรมการวางแผนพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม กล่าว
ล่าสุดมีรายงานออกมาแล้วว่าบริษัท Optus นั้นถูกปรับเงินเป็นจำนวน 25,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (517,292 บาท) และยังต้องถูกสั่งให้จ่ายเงิน 40,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (827,667 บาท) ในความผิดฐานไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการบริจาคให้พรรค Liberal และพรรค Labor เป็นเงิน 5,400 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (111,735 บาท) ในช่วงเวลาที่บริษัท Optus ได้ขอคำอนุมัติในการก่อสร้างงบน Snowy Mountains ก่อนที่ฤดูการเล่นสกีจะมาถึง
นอกจากนี้ยังพบกรณีที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างบริษัท Caltex ที่ไม่ยอมแจ้งการบริจาคเงินทั้งสิ้น 16,727 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ให้กับพรรค National ในช่วงที่บริษัทได้ยื่นเรื่องขอคำอนุมัติปรับปรังโรงกลั่นน้ำมันใ ย่าน Kurnell ในช่วงปี 2553 และปี 2556
โดยทางโฆษกของบริษัท Caltex ได้ชี้แจงว่าทางบริษัทนั้นไม่เข้าใจถึงบริบทความแตกต่างของการเปิดเผยข้อมูลการบริจาคที่ต่างวาระกันเมื่อเทียบกับการบริจาคที่ต้องเปิดเผยในเอกสารขอรับการอนุมัติในปี 2553 และปี 2556
แผนภูมิแสดงจำนวนครั้งที่บริษัททั้ง 13 แห่งได้บริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองโดยไม่สำแดงข้อมูล (จัดทำโดย การ์เดี้ยน ออสเตรเลีย)
ด้านนายสก๊อต แนช (Scott Nash) นักกฎหมายที่เคยทำงานให้กับรัฐบาลท้องถิ่นในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแผนการปรับปรุงและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กล่าวว่า มาตรการที่จะวัดความโปร่งใสนั้นถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สภาผู้แทนท้องถิ่นนั้นสามารถประเมินได้ว่าคำขอรับการพัฒนาอสังหารัมทรัพย์นั้นๆควรจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ และการแจ้งข้อมูลการบริจาคเงินนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งข้อมูลเพื่อป้องกันกรณีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อันจะไปส่งผลต่อการลงมติต่อการลงคะแนนให้เห็นชอบการอนุมัติโครงการ
ขณะที่นางเซเรน่า ลิลลี่ไวท์ (Serena Lillywhite) หัวหน้าผู้บริหารองค์กรด้านความโปร่งใสนานาชาติในออสเตรเลีย (Transparency International Australia) กล่าวว่า ความล้มเหลวในการแจ้งยอดบริจาคเงินถือได้ว่าเป็นสิ่งที่กระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยของออสเตรเลียเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในขณะนี้มีทั้งการล๊อบบี้และกรณีอิทธิพลที่ไม่เหมาะสมได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางการเมืองของออสเตรเลียมากขึ้นเรื่อยๆ
นางเซเรน่า ลิลลี่ไวท์ (Serena Lillywhite) หัวหน้าผู้บริหารขององค์กรด้านความโปร่งใสนานาชาติในออสเตรเลีย (Transparency International Australia)
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บิ๊ก บ.ไฟฟ้าญี่ปุ่น รับ 'สินบน' นักการเมือง 318 ล้านเยน
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีต ผจก.สโมสรอันเดอร์เลชท์ -นายหน้าค้านักเตะ โดนจับเอี่ยวฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: ปมอื้อฉาว 'แอร์บัส' ครอบครองเอกสารลับจัดซื้ออาวุธกองทัพเยอรมัน
ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage