ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'เวลส์ฟาร์โก' สร้างบัญชีผีลูกค้า ก่อนโดนปรับ 5 หมื่นล้าน
"...กรณีของเวลส์ฟาร์โกนั้นใช่ว่าจะเกิดขึ้นแค่แห่งเดียว ที่ผ่านมาเคยเกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับการกระทำผิดในเอกชนยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย อาทิ กรณีสินบนของบริษัท Odebrecht ต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายแห่งในภูมิภาคอเมริกาใต้ เพื่อแลกกับการได้รับสัญญาโครงการก่อสร้างในประเทศเหล่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในอีกหลายๆประเทศทั่วโลกจึงได้เรียกร้องให้บริษัทหลายแห่งเพิ่มความพยายามที่จะขัดความหากพบการกระทำความผิด..."
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ประจำสัปดาห์นี้ จะพาไปย้อนรอยดูกรณีการทุจริตของวาณิชธนกิจอันดับหนึ่งของโลกอย่าง 'เวลส์ฟาร์โก' (Wells Fargo) ที่ทำให้เกิดกรณีความเสียหายตามมาเป็นจำนวนเงินนับหมื่นล้านบาท
โดยเว็บไซต์ Riskscreen.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ KYC360 หน่วยงานภาคประชาสังคมในการต่อต้านอาชญากรรมแวดวงการเงินและต่อต้านการฟอกเงินระดับโลก ได้นำเอากรณีปัญหาของบริษัทเวลส์ฟาร์โก มานำเสนอเป็นบทความชื่อว่า “How to Scandal-Proof Your Company” หรือแปลเป็นไทยว่า จะตรวจสอบเรื่องอื้อฉาวในบริษัทของคุณได้อย่างไร?
โดยรายละเอียดบทความมีดังต่อไปนี้
ในช่วงหน้าร้อนปี 2559 ได้เกิดกรณีกล่าวหาพนักงานกลุ่มหนึ่งของธนาคารเพื่อธุรกิจรายย่อยของวาณิชธนกิจเวลส์ฟาร์โก (Wells Fargo) เปิดบัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นจำนวนนับล้านบัญชี และยังได้ขายผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการจำนวนนับพันชิ้น ซึ่งกลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วสหรัฐอเมริกาและยังส่งผลทำให้เวลส์ฟาร์โกต้องเสียเงินเป็นจำนวนมหาศาล
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา หน่วยงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงิน (Consumer Financial Protection Bureau) ร่วมกับสำนักงานการตรวจสอบการหมุนเวียนของเงินตรา (The Office of the Comptroller of the Currency หรือ OCC) ได้ปรับเงินเวลส์ฟาร์โก เป็นจำนวนทั้งสิ้น 185 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,784,319,000 บาท) และปรับเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นจำนวน 1พันล้านเหรียญสหรัฐ (30,280,500,000 บาท) เนื่องจากปรากฏพฤติการณ์ที่เป็นการรคุกคามต่อผู้บริโภคเพิ่มเติม
นอกจากนี้เวลส์ฟาร์โกยังต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 575 ล้านเหรียญสหรัฐ (17,411,287,500 บาท) เพื่อที่จะยุติการดำเนินคดีดังกล่าวนี้
ถ้าหากเอาตัวเลขทั้งหมดที่เวลส์ฟาร์โกต้องจ่ายมารวมกันแล้วจะตกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 52,476,106,500 บาท
หน่วยงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงิน (Consumer Financial Protection Bureau)
สำนักงานการตรวจสอบการหมุนเวียนของเงินตรา (The Office of the Comptroller of the Currency หรือ OCC)
มีรายงานว่า แค่ภายในช่วงเดือน ก.ย. หุ้นของธนาคารนั้น ร่วงลงไปถึง 13 % ส่งผลทำให้มูลค่าหุ้นโดยรวมของลดลงไปประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (605,610,000,000 บาท) และสถานการณ์ในตลาดหุ้นของวาณิชธนกิจแห่งนี้ ก็ดูจะซบเซาลงไปอีก
ส่วน นาย John Stumpf ผู้บริหารของวาณิชธนกิจที่จะเกษียณในเดือน ต.ค.นี้ และนาง Carrie Tolstedt ที่ได้เกษียณไปเมื่อประมาณช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมานั้นถูกบอร์ดบริหารตัดเงินเป็นจำนวนหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐ และขณะนี้ยังได้มีการยุบรวมแผนกของผู้จัดการอาวุโสอีกจำนวน 4 แผนก เพื่อกอบกู้สถานการณ์ของวาณิชธนกิจแห่งนี้กลับคืนมา
นาย John Stumpf ผู้บริหารของวาณิชธนกิจ เวลส์ฟาร์โก
นาง Carrie Tolstedt อดีตผู้บริหารของวาณิชธนกิจ เวลส์ฟาร์โก
โดยสถานการณ์ของเวลส์ฟาร์โก ในขณะนี้ถือได้ว่าเลวร้ายและเสื่อมถอยที่สุดนั้บ ตั้งแต่วาณิชธนกิจแห่งนี้ก่อตั้งมาเมื่อ 160 ปีก่อน ซึ่งพฤติการณ์การกระทำความผิดนั้นได้แพร่หลายไปทั่วในกลุ่มธนาคารเพื่อธุรกิจรายย่อย ซึ่งแม้ว่าทางเวลส์ฟาร์โกจะมีหน่วยงานที่ควบคุมความเสียหายซึ่งถูกตรวจสอบโดยบอร์ดบริหารของวาณิชธนกิจก็ตามแล้ว
ทั้งนี้ มีข้อมูลว่า ทางฝ่ายบริหารนั้นได้รับสัญญาณเตือนถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นบ้างแล้วในช่วงเวลาที่ผ่านมา
โดยนับตั้งแต่ปี 2543-2547 ปรากฎกรณีที่พนักงานของธนาคารนั้นสามารถเพิ่มยอดขายและค่าตอบแทนกลับมาได้ประมาณ 10 เท่าตัว และมีบทความวิเคราะห์ถึงกรณีทั้งการเปิดบัญชีใหม่ ความกดดันต่อฝ่ายขายของวาณิชธนกิจ และยังมีกรณีการลาออกของพนักงานเพิ่มขึ้น โดยบทความเหล่านี้นั้นถูกรวบรวมและเขียนไปในวารสาร Wall Street Journal ในปี 2554 และเขียนลงไปในบทความของสำนักข่าว Los Angeles Times ในปี 2556 แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้บริหารที่ดูแลในส่วนของธนาคารเพื่อการธุรกิจรายย่อยนั้นกลับไม่ได้มองถึงปัญหาดังกล่าวและไปโทษแค่ว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีของเวลส์ฟาร์โกนั้นใช่ว่าจะเกิดขึ้นแค่แห่งเดียว ที่ผ่านมาเคยเกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับการกระทำผิดในเอกชนยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย อาทิ กรณีสินบนของบริษัท Odebrecht ต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายแห่งในภูมิภาคอเมริกาใต้ เพื่อแลกกับการได้รับสัญญาโครงการก่อสร้างในประเทศเหล่านั้น หรืออย่างกรณีบริษัทโฟล์คสวาเก้นที่พยายามจะปลอมแปลงค่าการปล่อยมลพิษในรถยนต์ของบริษัท ต่อทางด้านหน่วยงานตรวจสอบของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 2 บริษัทท้ายที่สุดก็ถูกปรับและต้องจ่ายเงินเพื่อจะพยายามยุติคดีเป็นเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งปัญหาอันเกี่ยวข้องกับบริษัทระดับชั้นนำที่อาจจะไปมีส่วนกับการทุจริตนั้นทำให้สาธารณชนมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในอีกหลายๆประเทศทั่วโลกจึงได้เรียกร้องให้บริษัทหลายแห่งเพิ่มความพยายามที่จะขัดความหากพบการกระทำความผิด
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง จะลงทุนลงแรงไปเยอะมากกับกรณีการตรวจสอบจริยธรรมของลูกจ้างเพื่อที่จะไม่ให้เกิดกรณีการกระทำความผิด
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัตินั้นการเพิ่มมาตรการและการควบคุมเพียงอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าจะสามารถตรวจสอบหรือป้องกันพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
แต่จากข้อมูลประวัติต่างๆและจากข้อมูลเชิงสถิติจะสื่อให้เห็นชัดเจนว่าปัญหาการทุจริตนั้นจะรุนแรงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในปี 2561 นั้น บริษัทสำรวจความเห็นที่ใช้ชื่อแบบสำรวจว่า PwC ระบุว่า 49 % ในจำนวนบริษัท 7,228 แห่งนั้น เคยประสบกรณีปัญหาด้านอาชญากรรมทางด้านเศรษฐกิจมาก่อน ขณะที่ย้อนไปเมื่อปี 2552 จะพบว่ามีบริษัทเพียงแค่ 30 % เท่านั้น
แต่ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ มากกว่าครึ่งของผู้ที่ทำความผิดนั้น ปรากฎว่าเป็นบุคคลภายในเสียเอง
ดังนั้น คำถามที่ตามมาก็คือ เกิดข้อผิดพลาดตรงไหนจนทำให้ความเสียหายนั้นลุกลาม
มีข้อมูลระบุ ในรายงานสอบสวนซึ่งดำเนินการโดยบอร์ดบริหาร ว่า พบวัฒนธรรมองค์กรที่มีความหละหลวม การกระจายอำนาจการบริหารองค์กรและการขาดภาวะผู้นำนั้นเป็นที่มาของปัญหา ซึ่งพฤติกรรมการกระทำความผิดส่วนมากนั้น เกิดขึ้นจากแรงกดดดันต่อตัวผู้ปฏิบัติงานว่าจะต้องทำยอดขายให้ได้ตามเป้าที่กำหนด เพื่อที่จะได้เงินโบนัสและการเลื่อนตำแหน่งนั้นเอง
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล ยอมบริจาคเงิน 1.5พันล้าน แลกยุติสอบคดีทุจริตสินบน
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดแผนผัง ชำแหละ บ.ญี่ปุ่น-พาร์ทเนอร์สวิส เอี่ยวสินบนเจ้าภาพโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก: นักข่าวสืบสวนถูกคุกคาม หลังเขียนหนังสือเปิดโปงการทุจริตกองทัพชิลี
ส่องคดีทุจริตโลก: ตำรวจอังกฤษอายัดเงิน 3.7 พันล. โยงปมทุจริตติดสินบนฟอกเงินนอกปท.
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผบ.เรือเสบียงสหรัฐ สารภาพรับสินบน แลกเปลี่ยนข้อมูลลับให้เอกชน
ส่องคดีทุจริตโลก : อินเดียเลิกซื้อเครื่องบินสวิสหมื่นล.สอบเจอปมจ่ายสินบนล็อบบี้กองทัพ
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้บริหารบ.สัญชาติโมนาโก รับสารภาพเอี่ยวสินบนสัญญาน้ำมันอิรัก
ส่องคดีทุจริตโลก : ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแบนนักการเงินสหรัฐตลอดชีวิต เอี่ยวปมทุจริต 1MDB
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตผู้ว่า 'ริโอ' ยอมรับจ่ายสินบน61.5 ล.แลกโหวตเลือกบราซิลจัดโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก : อดีตปธ.กรีฑานานาชาติ รับสินบนปกปิดการใช้สารกระตุ้นนักกีฬาระดับโลก
ส่องคดีทุจริตโลก: เบื้องลึก 'พลาตินี' ถูกจับพัวพันทุจริตคดีเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022
ส่องคดีทุจริตโลก: เรือขนธนบัตร2.4พันล้าน ‘ล่องหน’ ปริศนา รบ.ไลบีเรียป่วน สั่งตามล่าคืน
ส่องคดีทุจริตโลก :เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่แคนาดา จ่ายสินบนพันล.แลกสัญญา ยุค 'กัดดาฟี่' เรืองอำนาจ
ส่องคดีทุจริตโลก : กรณีอื้อฉาวโคคาโคลา จ่ายสินบน 284 ล. จ้างหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพฝรั่งเศส
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดแผนโจรกรรม 1MDB - ปล้นเงินกองทุนแห่งชาติมาเลย์ 2 หมื่นล้าน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่ออดีตนายกฯฝรั่งเศส ขึ้นศาลปมใช้เงินหลวง35.6ล. จ้างเมีย-ลูก ช่วยงานรัฐสภา
ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก