เอ็กซ์คลูซีฟ : เปิดผลสอบดาวเทียม7พันล. แทงกั๊ก 2 ปมจัดซื้อ-Andy Witt ส่ง ค.ป.ท.สางใหม่
"...ท้ายที่สุดเมื่อคณะกรรมการจัดหาฯ ชุดที่ 2 ดําเนินการแล้วเสร็จมีความเห็น ต่อผู้อํานวยการ สทอภ. จากนั้นผู้อํานวยการ สทอภ. ได้เสนอขอความเห็นชอบผู้ผ่านการประกวดราคา (Successful Bidders) ตามลําดับคะแนนของคณะกรรมการจัดหาฯ (Banking Highest Overa-Score bidders) ได้แก่ ลําดับที่ 1 Airbus Defense && Space SAS มีคะแนน 86.5351 ลําดับที่ 2 Consortium ของบริษัท Satrec Initiativ Co.Ltd ร่วมกับบริษัท POSCO Daewoo Corporation มีคะแนน 86.1497 ต่อคณะกรรมการบริหาร สทอภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ซึ่ง คณะกรรมการบริหาร สทอภ. มีมติเห็นชอบ และให้จัดทําข้อมูลเพื่อตอบคําถามในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบในการตั้งคณะอนุกรรมการเจรจากับ Successful Bidder และเห็นชอบแนวทางการเจรจาตามที่ ผู้อํานวยการ สทอภ. เสนอ ดังนั้น ถือได้ว่าคณะกรรมการบริหาร สอท. ได้เห็นชอบผลการดําเนินการดังกล่าว ข้างต้นแล้ว คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ จึงไม่มีความเห็นสรุปในข้อที่เกี่ยวกับความถูกต้องหรือ ความคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติตามระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 อีก เนื่องจากผ่านพ้นขั้นตอน ที่อาจจะพิจารณาได้แล้ว..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เป็นรายงานสรุปผลสอบกระบวนการจัดหาโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ ธีออส 2 วงเงิน 7 พันล้านบาท ฉบับเต็มของ คณะกรรมการพิจารณากระบวนการจัดหาโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ ธีออส-2 ชุดที่มี ศ.พิเศษ หิรัญ รดีศรี เป็นประธาน ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่งตั้งขึ้น ซึ่งแม้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จแแถลงผลสอบเป็นทางการว่า ในการตรวจสอบข้อมูลไม่พบประเด็นการทุจริตและยังคงไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในรายงานผลสอบฉบับนี้ มี 2 ประเด็น คณะกรรมการพิจารณาฯ ไม่ได้ฟันธงชี้ขาดผลสรุปการสอบสวนว่า มีปัญหาหรือไม่ คือ ประเด็นขั้นตอนการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดหา ฯ และปมผลประโยชน์ร่วมกันของ Mr. Andy Witt กับ Surrey Satellite Technology (UK) ซึ่งทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จะมีการส่งให้คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) พิจารณาและดำเนินการโดยตรงต่อไป
................
"หลังจากที่คณะกรรมการพิจารณาการดําเนินการจัดหาโครงการระบบดาวเทียมสํารวจ เพื่อการพัฒนา ได้ตรวจสอบบรรดาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการและได้รับคําชี้แจงจากผู้อํานวยการ สทอภ. และคณะ เรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมของคณะกรรมการพิจารณาการดําเนินการฯ จึงขอสรุปความเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกังวลใจ ของคณะผู้สังเกตการณ์ ดังต่อไปนี้
1. ประเด็นเกณฑ์การประเมินและวิธีการให้คะแนนด้านเทคนิค คณะกรรมการจัดหาฯ ชุดแรก ได้กําหนดเกณฑ์การให้คะแนนด้านเทคนิคขึ้นใหม่ดังนี้
(1) ผู้ที่เสนอตรงตามความต้องการจะให้คะแนนที่ 80 เปอร์เซ็นต์
(2) ผู้ที่เสนอในรายละเอียดครบถ้วนจริงในแต่ละรายการ ให้คะแนนที่ 90% และ
(3) ผู้ที่เสนอในรายละเอียดครบถ้วนจริงในแต่ละรายการ และหากยังมีข้อเสนอเกินกว่าความต้องการจะให้คะแนนที่ 100%
ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนใน Instructions to Bidders (ITB) เพียงแต่ระบุว่า การพิจารณาด้านเทคนิค ผู้ประกวดราคา ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 50% หรือสูงกว่านั้น (ข้อ 20.33) และต้องเป็นไปตามเกณฑ์คะแนนที่กําหนดไว้ ในภาคผนวก 10 (Appendix 10) ของ ITB (ข้อ 252)
ในการตรวจสอบประเด็นที่ว่า การให้คะแนนด้านเทคนิค เป็นการขัดกับเงื่อนไขในข้อ 25.5 ของ ITB หรือไม่นั้น คณะกรรมการพิจารณาการดําเนินการ ฯ ไม่สามารถ ดําเนินการตรวจสอบการให้คะแนนด้านเทคนิคแต่ละรายการ ได้ แต่การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการพิจารณาการดําเนินการฯ ในวันนี้ไม่พบร่องรอยพิรุธหรือหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่าได้มีการให้คะแนนพิเศษ ในลักษณะดังกล่าวนั้น
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเอกสารการให้คะแนนของคณะกรรมการจัดหาฯ สรุปได้ว่า การก้าหนด เกณฑ์การให้คะแนนของคณะกรรมการจัดหาฯ ดังกล่าว เป็นเพียงวิธีการในการพิจารณาให้คะแนน แต่ละรายการ เพื่อสร้างความแตกต่างของคะแนนด้านเทคนิคที่ผู้ประกวดราคาแต่ละรายได้รับระหว่าง 80 คะแนน จนถึง 100 คะแนนเต็ม เท่านั้น
2. ประเด็นขั้นตอนการดําเนินการของคณะกรรมการจัดหาฯ
2.1 มติของคณะกรรมการจัดหาครั้งที่ 17/2560 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 มีดังนี้
2.1.1 ข้อเสนอด้านราคาของบริษัท Airbus Defense & Space SAS และ Consortium ของ บริษัท Satrac Initiative และ POSCO Daewoo มีเงื่อนไขซึ่งสงวนสิทธิที่ไม่เป็นไปตาม ITB โดยสิ่งที่ไม่เป็นไปตาม ITB ในบางข้อยังมีการกําหนดไว้ใน ITB เป็นการเฉพาะให้ไม่ผ่านการประกวดราคา
2.1.2เห็นควรยกเลิกการประกวดราคาในครั้งนี้ ตาม ITB และระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 เห็นควรมีการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ เมื่อมีการพิจารณาอุทธรณ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เสร็จสิ้นแล้ว
2.2 มติของคณะกรรมการจัดหาครั้งที่ 18/2560 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ข้อ 5 คณะกรรมการจัดหาฯ โดยเสียงข้างมาก เห็นควรเสนอผู้อํานวยการ สทอภ. ยกเลิกการประกวดราคาตามระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 ข้อ 34. ตามมติของคณะกรรมการจัดหาฯ ข้างต้นนี้ คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการฯ มีความเห็นว่ามติดังกล่าว เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ เจตนารมณ์ของข้อกําหนด ITE ในภาพรวม กล่าวคือ
2.2.1 การจัดหาระบบดาวเทียมสํารวจพร้อมระบบภาคพื้นดิน และระบบแอพพลิเคชัน ภูมิสารสนเทศ (THEOS-2) เป็นงานที่มีความซับซ้อน และมีเทคนิคเฉพาะของโครงการตามนัยแห่งหนังสือ ของคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุว่าด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ สทอภ. จึงสามารถดําเนินการ ตามระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 ข้อ 30 (จัดหาโดยวิธีประกวดราคา) โดยไม่ต้องขออนุมัติ ยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ต่อ กวพ. อ.
2.2.2 ข้อกําหนดใน ITB ที่เป็นข้อสงวนสิทธิของ สทอภ. ที่จะยกเลิกการประมูลเมื่อใดก็ได้ แต่ฝ่ายเดียวก่อนการทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้ง ข้อกําหนดข้อ 25.4 ที่ สทอภ. สงวนสิทธิที่จะรับหรือปฏิเสธ ข้อเสนอที่แตกต่าง หรือเบี่ยงเบนไปจากข้อกําหนดใน 1TB และเอกสารประกวดราคา ซึ่งเป็นเหตุผลสําคัญ ที่ข้อกําหนดของ ITB ใช้คําว่า “Substantially Responsive" เพื่อความยืดหยุ่นในการพิจารณาข้อเสนอ ประกวดราคาซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา
2.2.3 การจัดหาโดยวิธีประกวดราคาครั้งนี้ มีการให้คะแนบแบบ Quality and Cost Based Selection (QCBS) ฉะนั้น การให้คะแนนด้านเทคนิคจึงให้น้ำหนักอยู่ที่ 80 จาก 100 คะแนน อีก 20 คะแนน เป็นด้านราคา หากนําข้อเสนอในด้านราคามาพิจารณาเพียงส่วนเดียว โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรอง ย่อมจะทําให้น้ําหนักทางด้านเทคนิคหมดความสําคัญ โดยเฉพาะข้อกําหนดใน ITS ตามที่ระบุในข้อ ๒) ข้างต้น หมดความหมายไปด้วย
2.2.4มติของที่ประชุมคณะกรรมการจัดหาฯ ชุดแรก ที่ให้ยกเลิกการประกวดราคา เป็นเพียง ความเห็นที่เสนอต่อผู้อํานวยการ สทอภ. เท่านั้น ในการยกเลิกการประกวดราคาหรือการสั่งให้มีการดําเนินการ ต่อไปล้วนแต่เป็นอํานาจหน้าที่ในการบริหารจัดการของผู้อํานวยการ สทอภ. ทั้งสิ้น ซึ่งหากเป็นกรณีที่ไม่มีการ กําหนดไว้ในระเบียบของ สทอภ. ว่าด้วยพัสดุฯ พ.ศ. 2553 ผู้อํานวยการ สทอภ. ก็สามารถจะนําเสนอต่อ คณะกรรมการบริหาร สทอภ. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนดําเนินการต่อไปได้
2.2.5 การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาฯ ชุดที่ 2 ของผู้อํานวยการ สทอภ. ก่อให้เกิดประเด็น ปัญหาว่า การดําเนินการดังกล่าวขอบด้วยระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 หรือไม่
ในประเด็นนี้ คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ มีความเห็นโดยเทียบเคียงกับคําวินิจฉัย ของคณะกรรมการกฤษฎีกาในการตอบข้อหารือของสํานักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องเสร็จที่ 435/2555 ดังนี้ว่า กรรมการที่เป็นบุคลากรภายในส่วนราชการที่จัดซื้อพัสดุ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า ส่วนราชการในฐานะผู้บังคับบัญชา เพื่อให้งานของส่วนราชการสําเร็จลุล่วง โดยหลักแล้ว ผู้เป็นกรรมการ จึงไม่อาจลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ได้ เว้นแต่มีเหตุผลความจําเป็นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และ การลาออกจะต้องได้รับการอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการเสียก่อน จึงจะมีผลให้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
ฉะนั้น การลาออกของประธานกรรมการและกรรมการอีก 3 คน จึงก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า สามารถกระทําได้โดยชอบด้วยระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 หรือไม่ ประกอบกับการแต่งตั้ง คณะกรรมการชุดที่ 2 ประธานกรรมการคนเดิมได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการจัดหา ฯ ชุดที่ 2 อีก ครั้งหนึ่ง เพื่อดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป อย่างไรก็ดี ได้มีการเสนอเรื่องที่คณะกรรมการจัดหาฯ ชุดแรก มีมติ เสียงข้างมากให้ยุติการจัดหาพร้อมแจ้งสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้อํานวยการ สทอภ. มีความเห็นไม่ขอยุติ ตามที่คณะกรรมการจัดหาฯ เสนอต่อคณะกรรมการบริหารฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2560 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 ซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ มีมติรับทราบ และกําชับให้ผู้อํานวยการ สทอภ. ดําเนินการบริหาร จัดการโครงการนี้ให้สัมฤทธิ์ผล จึงนํามาสู่การดําเนินการของผู้อํานวยการ สทอภ. ในการยกเลิกคณะกรรมการ จัดหาฯ ชุดแรก และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาฯ ชุดที่ 2 ที่ประกอบด้วยกรรมการจัดหาฯ เสียงข้างน้อยในคณะกรรมการจัดหาฯ ชุดแรก ซึ่งเป็นการดําเนินการที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามปกติในการสั่งการ ทางพัสดุของหัวหน้าหน่วยงาน
แต่ท้ายที่สุดเมื่อคณะกรรมการจัดหาฯ ชุดที่ 2 ดําเนินการแล้วเสร็จมีความเห็น ต่อผู้อํานวยการ สทอภ. จากนั้นผู้อํานวยการ สทอภ. ได้เสนอขอความเห็นชอบผู้ผ่านการประกวดราคา (Successful Bidders) ตามลําดับคะแนนของคณะกรรมการจัดหาฯ (Banking Highest Overa-Score bidders) ได้แก่
ลําดับที่ 1 Airbus Defense && Space SAS มีคะแนน 86.5351 ลําดับที่ 2 Consortium ของบริษัท Satrec Initiativ Co.Ltd ร่วมกับบริษัท POSCO Daewoo Corporation มีคะแนน 86.1497 ต่อคณะกรรมการบริหาร สทอภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ซึ่ง คณะกรรมการบริหาร สทอภ. มีมติเห็นชอบ และให้จัดทําข้อมูลเพื่อตอบคําถามในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบในการตั้งคณะอนุกรรมการเจรจากับ Successful Bidder และเห็นชอบแนวทางการเจรจาตามที่ ผู้อํานวยการ สทอภ. เสนอ ดังนั้น ถือได้ว่าคณะกรรมการบริหาร สอท. ได้เห็นชอบผลการดําเนินการดังกล่าว ข้างต้นแล้ว คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ จึงไม่มีความเห็นสรุปในข้อที่เกี่ยวกับความถูกต้องหรือ ความคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติตามระเบียบ สทอภ. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2553 อีก เนื่องจากผ่านพ้นขั้นตอน ที่อาจจะพิจารณาได้แล้ว
3. ประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเทียมขนาดเล็ก
จากการตรวจสอบของคณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ พบว่าตามข้อกําหนดใน ITB ระบุความต้องการ ในการโคจรของดาวเทียมขนาดเล็กเป็นแบบวงโคจรเอียง (Orbit Inclination) 30 - 35 องศา โดยมิได้มีการระบุ เป็นวงโคจรระนาบมุมศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) แต่ประการใด ดังนั้น จึงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวงโคจร ของดาวเทียมขนาดเล็ก ซึ่งบริษัท Airbus Defense & Space SAS ได้เสนอวงโคจรดาวเทียมขนาดเล็ก เป็นแบบสัมพันธ์กับควงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit: SSO) ประเภทวงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit) ในแนวเหนือใต้ผ่านละติจูดที่เวลาท้องถิ่น 10.00 น. (Local Time Ascending Node) ซึ่งคณะกรรมการจัดหาฯ ยอมรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากสามารถดําเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เช่นกัน แต่การให้คะแนนเฉพาะรายการนี้ จึงให้ต่ำกว่า 80%
4. ประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกัน
ประเด็นนี้ เกิดจากการแต่งตั้ง Mr. Andy Witts ร่วมเป็นอนุกรรมการเจรจาต่อรองข้อเสนอเนื้องาน (Statement of Work) กับผู้ได้คะแนนสูงสุดอันดับแรก คือ Airbus Defense & Space SAS ซึ่งระบุในใบเสนอราคา ว่าบริษัท Surrey Satellite Technology (UK) เป็นผู้ดําเนินการดาวเทียมดวงเล็ก ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริง ว่าในวันทํา Pre-Bid Meeting เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 Mr. Andy Witts ได้ลงชื่อในช่องลําดับของบริษัท Surrey Satellite Technology (UK) อยู่ด้วย
กรณีการตั้งอนุกรรมการเจรจา คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ พบว่าในการเสนอแต่งตั้ง อนุกรรมการเจรจาไม่มีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประวัติ ความเป็นมา และความเหมาะสมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของตัวบุคคลที่เสนอแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการเจรจา เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ของคณะกรรมการบริหาร สทอภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริหารมีมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งอนุกรรมการเจรจาตามเสนอ ซึ่งมี Mr. Andy Witts ร่วมอยู่ในคณะอนุกรรมการด้วย และจากการตรวจสอบเอกสารการลงทะเบียน คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการ พบว่า Mr. Andy Witts ได้ลงชื่ออยู่ในช่องสําหรับบริษัท Surrey Satellite Technology (UK) โดยระบุชื่อ หน่วยงานที่สังกัดว่าเป็น ASEAN Space Management (Thailand) แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว ไม่ปรากฏว่า มีการ จดทะเบียนชื่อดังกล่าวเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย แต่พบว่า ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนโดยใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนจํากัด วิธ ฟาร์อีสท์ โดยมี Mr. Andy Witts เป็นหุ้นส่วนประเภทจํากัดความรับผิด มีนางนพมาศ ทิพย์ไกรลาศ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ สํานักงานตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี
คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ ไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ของบริษัท Surrey Satellite Technology (UK) กับ Mr. Andy Witts ได้ ประกอบกับบริษัท Surrey Satellite Technology (UK) ได้มีหนังสือยืนยัน การไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ Mr. Andy Witts ในด้านผลประโยชน์ใด ๆ ฉะนั้น เพียงหลักฐานที่กล่าวถึง ข้างต้นในขั้นนี้ คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ จึงไม่อาจมีความเห็นสรุปในประเด็นนี้ได้
ดังนั้นข้อเสนอแนะ คณะกรรมการพิจารณาดําเนินการฯ มีความเห็นว่า
โครงการระบบดาวเทียมสํารวจเพื่อการพัฒนา (THEOS – 2) เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีมูลค่าสูง และ สทอภ. ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการดําเนินงาน จัดหาโครงการขนาดใหญ่และโครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) เช่นนี้มาก่อน จึงเกิดข้อขัดแย้ง หลายประการกับคณะผู้สังเกตการณ์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีกในภายหน้า จึงมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
1. กระบวนการสรรหาเพื่อแต่งตั้ง ทั้งคณะกรรมการร่าง TOR คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้าง และคณะกรรมตรวจรับพัสดุ ควรมีการระบุคุณสมบัติ ความเหมาะสมและกําหนด ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น ๆ
2. สทอภ. ควรจะใช้ประโยชน์จากที่ปรึกษาที่แต่งตั้งเพื่อร่าง TOR เพื่อทําความเข้าใจ ในความหมายของเงื่อนไขที่มีข้อกําหนดเป็นภาษาต่างประเทศ
3. การจัดซื้อจัดจ้างในโครงการที่มีความซับซ้อนในด้านเทคนิคและเป็นภาษาต่างประเทศ สทอภ. ควรจะทําความเข้าใจกับคณะกรรมการฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งทุกคน ทั้งคณะกรรมการร่าง TOR คณะกรรมการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้าง และคณะกรรมตรวจรับพัสดุ ในด้านสาระสําคัญและรายละเอียด ของโครงการทั้งหมด เพื่อให้ดําเนินการตามนโยบายและเป้าประสงค์ของ สทอภ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
4. หลักการสําคัญในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กําหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ต้องกระทําโดยเปิดเผย โปร่งใสในทุกขั้นตอน ประกอบกับการทําข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) กับผู้จัดซื้อจัดจ้างและผู้เข้าประกวดราคา มีข้อกําหนดและเงื่อนไขของการรักษาความลับ ซึ่งผู้สังเกตการณ์ ก็จะต้องรักษาความลับเช่นกัน จึงควรมีสิทธิที่จะตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้ทุกขั้นตอน เพื่อความ โปร่งใส และการปฏิบัติอย่างทัดเทียมกับผู้เข้าประกวดราคาทุกราย ฉะนั้น ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างควรจะต้องเปิดเผย ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ แม้จะถือเป็นความลับของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างหรือของผู้เข้าประกวดราคาที่ลงนาม ใน IP ก็ตาม
5. สทอภ. ควรจะทําความเข้าใจแนวทางปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์และให้ความสําคัญกับ รายงานของผู้สังเกตการณ์ มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับผู้สังเกตการณ์ เพื่อทําความเข้าใจกันแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะได้ไม่เกิดปัญหาต่อไป ปัจจุบันมีประกาศคณะกรรมการความร่วมมือ การป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดําเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2561 สทอภ. ควรกําชับ ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าวโดย เคร่งครัดต่อไปด้วย"
..............
ขณะที่ สำนักข่าวอิศรา ได้นำข้อมูลในรายงานผลสอบกระบวนการจัดหาโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ ธีออส 2 วงเงิน 7 พันล้านบาท ฉบับเต็มดังกล่าว ไปสังเคราะห์ข้อมูลที่สำนักข่าวอิศรา เคยตรวจสอบไว้ก่อนหน้านี้ พบว่ายังมีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตอยู่ 3 ประเด็นสำคัญคือ
1. ในข้อ 2.1.1 ที่มีการระบุว่าข้อเสนอด้านราคาของบริษัท Airbus Defense & Space SAS นั้นไม่ผ่านข้อกำหนดเงื่อนไขทางด้าน ITB แต่อย่างไรก็ตาม บริษัท Airbus Defense & Space SAS ก็เป็นผู้ที่ชนะการเสนอราคาโครงการ THEOS-2 เมื่อมีการเปิดให้การเสนอราคาในครั้งที่ 2 ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับมาเลยว่าทำไมบริษัท Airbus ถึงไม่ผ่าน ITB ในการเสนอราคาครั้งแรก และในการเสนอราคาครั้งที่ 2 บริษัท Airbus ได้แก้ไขคุณลักษณะของ ITB จนผ่านเงื่อนไขของ ITB แล้วหรือไม่
2.จากประเด็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการจัดหาฯที่ระบุในหัวข้อหมายเลข 2.2 นั้น ก่อนหน้านี้สำนักข่าวอิศราได้เคยลงคำให้สัมภาษณ์ของนายอานนท์ สนิทวงศ์ ผู้อำนวยการ สทอภ.เอาไว้ตอนหนึ่งว่าหนึ่งในเหตุผลที่ต้องตั้งคณะกรรมการจัดหาฯชุดใหม่ตอนหนึ่งว่า
“คณะกรรมการจัดหาฯชุดที่ 1 ได้ดำเนินการจัดหาเรื่อยมา จนมาเจอประเด็นที่คิดว่าไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพราะจะขัดต่อระเบียบพัสดุ ทางคณะกรรมการจัดหาฯชุดแรก จึงได้เสนอเรื่องให้ยุติโครงการ เพราะว่าไม่ชอบด้วย ITB (Instructions to Bidders) แต่ตนคิดว่าเรื่องนี้นั้นสามารถเดินต่อไปได้ จึงขอให้คณะกรรมการจัดซื้อฯมาให้ข้อมูล ก็พบประเด็นที่อาจจะส่งผลทำให้โครงการจัดหามีปัญหาจนถึงขั้นล่มได้” (อ่านประกอบ:ชุดแรกทำงานมีปัญหา-กั๊กเทปประชุม! อานนท์ แจงเหตุตั้งกก.ใหม่เคาะผลซื้อดาวเทียมธีออส7พันล.)
แต่แม้ว่านายอานนท์จะชี้แจงกับสำนักข่าวอิศราไปแล้ว แต่ปรากฏว่าในเอกสารการสรุปการทำหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณานั้น กลับไม่มีการระบุเรื่องเหล่านี้ลงไปด้วย และที่สำคัญจนถึงขณะนี้สาธารณชนก็ยังไม่ทราบว่าคณะกรรมการจัดหาฯในชุดแรกนั้นได้ทำเอกสารชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรออกมาหรือไม่ว่าโครงการนี้มีข้อติดขัดตรงไหน
3.ประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่ง กรณีนี้ เกี่ยวข้องกับMr. Andy Witts ซึ่งสำนักข่าวอิศราเคยตรวจสอบข้อมูลการทำงานของMr. Andy Witts ไปแล้ว พบว่า เคยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้กับ สทอภ. ในช่วงปี 2555-2558 และในช่วงพ.ค. 2548- ก.ย. 2551 ก็เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการด้าน AIV ให้กับ บริษัท EADS-Astrium Galileo Avionics ที่ปัจจุบันถูกควบรวมเข้ากับบริษัท Airbus ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประกวดราคาโครงการ THEOS-2 (อ่านประกอบ:ล้วงผลสอบดาวเทียม7พันล.! ข้อมูลกรณีผลประโยชน์ 'Andy witt' ที่ ก.วิทย์ฯ ไม่ได้แถลง?)
ขณะที่ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับชื่อคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินการจัดหาโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา THEOS-2 วงเงิน 7,000 ล้านบาท ดังกล่าว ไม่ได้ใช้คำว่าคณะกรรมการตรวจสอบหรือสืบสวนข้อเท็จจริง ที่จะนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องภายหลัง ในกรณีหากมีการตรวจสอบพบการทำผิดระเบียบหรือมีปัญหาการทุจริต เหมือนโครงการอื่นที่มีปัญหาถูกร้องเรียน (อ่านประกอบ : ไม่ใช้คำว่า สืบสวนข้อเท็จจริง! รมว.วิทย์ สั่งตั้งกก.พิจารณาโครงการซื้อดาวเทียม 7 พันล.แล้ว)
แต่อย่างไรก็ดี ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 ต.ค.นั้น นายธีรพล กาญจนากาศ หนึ่งในคณะผู้สังเกตการณ์ข้อตกลงคุณธรรม กล่าวย้ำว่า มีหลายกรณีที่ยังมีความน่าสงสัยอยู่ แต่ก็เข้าใจว่าคณะกรรมการพิจารณาฯนั้นมีเวลาจำกัดในการทำหน้าที่
ดังนั้น ขั้นตอนนี้จากนี้ คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า หลังจากที่มีการส่งรายงานผลการสอบการจัดหาดาวเทียม 7 พันล้านบาท ดังกล่าว ไปให้กับ ค.ป.ท.สอบสวนเป็นพิจารณาแล้ว จะมีความกระจ่างในข้อสงสัยเหล่านี้มากขึ้นหรือไม่ และการดำเนินงานโครงการดาวเทียม 7 พันล้านบาท ดังกล่าว ต่อจากนี้ ทั้งในส่วนของการตรวจรับ ส่งมอบงาน จะมีปัญหาอะไรตามมาอีกหรือไม่
อ่านประกอบ :
เผยข้อมูลใหม่จัดหาดาวเทียม7พันล. เอกชนยื่นอุทธรณ์ผลประกวดราคา2ครั้ง สทอภ.ไม่สนใจ
เผยผลสอบดาวเทียม7พันล.! พบข้อบกพร่องเปลี่ยนคกก.จัดหา-ปมปย.ทับซ้อน ANDY ส่ง ค.ป.ท.ต่อ
'แอร์บัส' แจง 'อิศรา' ประกวดราคาดาวเทียม7พันล. เซ็นสัญญาทำตามข้อตกลงคุณธรรม
เจอแล้วข้อมูลบ.Andy Witts ในชลบุรี ถือหุ้น Asean Space Management ร่วมกิจกรรม GISTDA
เอ็กซ์คลูซีฟ: คำชี้แจงAndy Witts ยันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องAIRBUS คว้าดาวเทียม 7 พันล.
ชัดแล้ว! Andy Witts คนเดียว Andrew อยู่ทีมที่ปรึกษาบ.AWR ทำโครงการดาวเทียม7พันล.
พบข้อมูลใหม่ 2 บริษัท 'Andy Witts' -ควงคู่ Airbus หารือสทอภ.-ร่วมจัดบูธนวัตกรรมตปท.!
อย่าเพิ่งคิดไกลมีทุจริต? เหตุผล รมว.วิทย์ฯ ตั้ง กก.พิจารณาซื้อดาวเทียม THEOS-2
เช็คประวัติ 'Andy Witts' ผู้โพสต์ข้อมูล Airbus คว้าดาวเทียม7พันล. เคยนั่งที่ปรึกษา สทอภ.
ยันทำหน้าที่ปราศจากอคติ! องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจี้ก.วิทย์ฯหาข้อเท็จจริงซื้อดาวเทียม7พันล.
ซื้อดาวเทียม: จงใจปิดบัง ตั้งใจเลี่ยงกฎหมาย
รมว.วิทย์ ปัดตอบปัญหาจัดซื้อดาวเทียม7พันล.!องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน รุกส่งข้อมูลให้ป.ป.ช.
ปลัดก.วิทย์ แจงยังไม่มีตั้งกก.สอบจัดซื้อดาวเทียม7พันล.-คุย 'อานนท์' เคลียร์หมดแล้ว
รมว.วิทย์ฯ รับตั้ง กก.สอบปมจัดซื้อดาวเทียม7พันล.หลังหารือร่วมองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เตรียมยกคณะผู้สังเกตการณ์พบรมว.วิทย์ ถกปัญหาจัดซื้อดาวเทียม7พันล.
ชุดแรกทำงานมีปัญหา-กั๊กเทปประชุม! อานนท์ แจงเหตุตั้งกก.ใหม่เคาะผลซื้อดาวเทียมธีออส7พันล.
เห็นไม่ตรงกันแค่ช่วงคัดเลือกผู้ชนะ! ปธ.จัดหาTHEOS-2 ชี้ผู้สังเกตการณ์ลาออกเหตุเข้าใจผิด
ปฏิบัติหน้าที่ต่อก็ไม่เกิดปย.! ผู้สังเกตการณ์ข้อตกลงคุณธรรมยกขบวนลาออกดาวเทียมTHEOS-2
โชว์หนังสือ ผู้สังเกตการณ์ข้อตกลงคุณธรรม ทำไมต้องยกขบวนลาออกโครงการดาวเทียมTHEOS-2?
ผ่าปมร้อนข้อพิรุธประกวดราคาTHEOS-2 ก่อน'บิ๊กตู่'เยือนฝรั่งเศส สักขีพยาน GISTDA & Airbus