ไม่มี'โรฮิงญา' ในถ้อยแถลงของ ซูจี สิ่งยืนยันว่าพวกเขาไร้ตัวตน
ไม่มีคำว่า "โรฮิงญา" ในถ้อยแถลงของซูจี ทั่วโลกมองว่านี่คือ แถลงคำโกหก และการใส่ร้ายเหยื่อความรุนแรง เหตุใดที่ซูจีไม่พูดประณามตรงๆ ต่อวิกฤติดังกล่าว แล้วหากไม่กลัว ทำไมที่ผ่านมาไม่ยอมให้มีการสอบสวนความรุนแรงในรัฐยะไข่
(ภาพประกอบจาก Soe Zeya Tun/Reuters)
19 กันยายน 2017 นับเป็นครั้งแรกที่นางอองซาน ซูจี ออกมาพูดต่อสาธารณชนถึงวิกฤติโรฮิงญาหลังจากที่มีผู้อพยพทะลักไปยังบังคลาเทศแล้วกว่า 400,000 คน นับตั้งแต่ความรุนแรงรอบใหม่ที่ปะทุขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยทางรัฐบาลและกองทัพอ้างว่า เกิดจากการเข้าโจมตีของกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาก่อน จากนั้นปฏิบัติการทางทหารจึงเริ่มต้นขึ้น จนเห็นเป็นภาพผู้อพยพกลุ่มใหญ่ เรียกได้ว่าเพียง 3 สัปดาห์ เท่านั้น จำนวนผุ้อพยพชาวโรฮิงญาก็ทะลุประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับการอพยพจากแอฟฟริกาไปยุโรปตลอดทั้งปี2016
ความรุนแรงในครั้งนี้ทั่วโลกต่างจับจ้องมาที่ท่าทีของอองซาน ซูจี ทั้งในฐานะมุขมนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศ รวมไปถึงในฐานะที่ถือนั้นเป็นเจ้ารางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ จึงไม่แปลกที่เมื่อวันที่ 19 กันยายน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนเรียกว่า has broken her silence หรือยอมปริปากพูดในเรื่องนี้เสียที (อ่านประกอบ: ซูจีแถลงครั้งแรกวิกฤติโรฮิงญาขอประณามทุกความรุนแรงย้ำรัฐกำลังแก้ปัญหา )
ไม่มี “โรฮิงญา” ในสายตาของซูจี
หากใครได้ฟังหรืออ่าน การแถลงของเธอในครั้งนี้ จะพบว่าตลอดเวลา 30 นาทีที่เธอกล่าวแถลงด้วยท่าทีนักการทูต น้ำเสียงที่หนักแน่นนั้น ไม่มีการใช้คำว่า “โรฮิงญา” อยู่เลย มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่เธอพูดถึงโรฮิงญา แต่พูดในฐานะกลุ่มติดอาวุธ นามว่า Arakan Rohingya Salvation Army ซึ่งแน่นอนนักวิเคราะห์ต่างมองว่าการที่เธอไม่ใช่คำว่า โรฮิงญากลับและไปยังคำว่ามุสลิมแทนนั้น เพราะหากการพูดว่าโรฮิงญาถึงกลุ่มคนที่หนีตายไปยังบังคลาเทศ เท่ากับว่าเธอได้ยอมรับการมีตัวตนของคนเหล่านั้นนั่นเอง (อ่านประกอบ:ไม่ใช่เบงกาลี แต่คือโรฮิงญา สำนึกร่วม ประวัติศาสตร์บนพื้นที่อาระกัน)
ในการแถลงวันนั้น ซูจี กล่าวว่า โลกต่างจับต่างมองมาที่สถานการณ์โรฮิงญาในเมียนมา ซึ่งรัฐบาลไม่ได้กังวลต่อการจับตามองครั้งนี้เลย ทั้งยังยินดีที่จะเชิญให้นักการทูต นักสังเกตการณ์ ลงพื้นที่ไปดูความจริง พร้อมการันตีการรักษาความปลอดภัยตลอดการเดินทาง เธอยังสงสัยอีกว่า ทำไมมีมุสลิม(เลี่ยงการไม่ใช่โรฮิงญา) จำนวนมากถึงอพยพไปยังบังคลาเทศ ทั้งๆ ที่มีชาวมุสลิมอีกราว 50% อาศัยในยะไข่อย่างสงบสุขร่วมกับคนอื่นๆ จึงอยากให้มีการสอบสวนในเรื่องนี้
การที่ซูจีเลือกที่จะไม่ใช้คำว่า โรฮิงญา จึงเท่ากับว่าคนเหล่านี้ยังเป็นคนผิดกฎหมายของรัฐ และสถานะของพวกเขาก็ยังคงเป็นคนไร้รัฐอยู่ดี นอกจากนั้น ซูจียังบอกด้วยว่า ผู้อพยพในบังคลาเทศหากจะกลับมาในยะไข่อีกครั้งจะต้องมีการพิสูจน์สัญชาติอย่างเข้มงวด
คำถามใหญ่คือ จะพิสูจน์อย่างไรในเมื่อคนเหล่านี้ไม่มีสถานะพลเรือนเมียนมาตามกฎหมาย
ตรงจุดนี้ สำนักข่าว CNN ตั้งข้อเกตไว้น่าสนใจว่า ช่วงต้นเดือนกันยายน รัฐบาลเมียนมาระบุว่า มีชุมชน 176 แห่งจาก 471 หรือคิดเป็น 37.4% ของชุมชุนชาวโรฮิงญาที่ปัจจุบันไม่มีคนอาศัยอยู่เลย และอีก 34 ชุมชนที่ถูกปล่อยร้าง นอกจากนี้ยังมีรายงานของ ฮิวแมนไรซ์ วอชช์ ที่เผยภาพดาวเทียมชุดใหม่ที่เพิ่งถ่ายไว้เมื่อวันที่ 16 กันยายน ก่อนการแถลงเพียงสามวัน พบว่า มีชุมชนกว่า 214 แห่ง โดนเผาเรียบ (อ่านประกอบ: สวนแถลงซูจี ฮิวแมนไรซ์ฯ เผยภาพดาวเทียมชุดใหม่ พบบ้านโรฮิงญา 214 ชุมชนโดนเผาเรียบ )
ภาพถ่ายดาวเทียมนี้ยังสะท้อนความย้อนแย้งที่นางซูจีระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. เป็นต้นมาไม่มีปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่อีก รวมถึงที่ผ่านมากองทัพได้เข้าจัดการกับกลุ่มติดอาวุธโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของพลเรือน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า การแถลงของซูจีครั้งนี้ ได้แสดงให้โลกเห็นว่า เธอและรัฐบาลของเธอได้ ฝังหัวของพวกเขาไว้ในทรายเหนือความรุนแรงในรัฐยะไข่ที่โลกถูกแฉ พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ฯประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก นายเจมส์ โกเมซ ยังระบุอีกว่า หากซูจียืนยันว่า รัฐบาลไม่กลัวการจับตามองของประชาคม ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะปกปิด ดังนั้นควรจะเปิดให้มีการสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นครั้งนี้จากคณะกรรมการของสหประชาชาติ รวมไปถึงการเปิดทางให้มีการส่งความช่วยด้านมนุษยธรรมในพื้นที่โดยเร็ว
โกเมซถึงกับนิยามการแถลงครั้งนี้ว่าเป็น การโกหกและใส่ร้ายเหยื่อความรุนแรง
ด้านมาร์ค ฟาเมนเนอร์ (Mark Farmaner) ผู้อำนวยการโครงการพม่าของสหราชอาณาจักร (เป็นองค์กร NGO ที่ก่อตั้งเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเมียนมา) ระบุว่า ถ้อยแถลงของซูจีในครั้งนี้ก็เป็นแค่ โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการเมืองเช่นเคย ปฏิเสธเช่นเคย “business as usual, denial as usual”
(Reuters)
ซูจีคนโกหก
อับดุล ฮาฟิซ ชาวโรฮิงญาที่อพยพ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า เมื่อก่อนพวกเราเชื่อมั่นในตัวอองซาน ซูจี มากกว่ารัฐบาลจากกองทัพ แต่วันนี้ เขาบอกว่า คำพูดของซูจี คือ คำโกหก ดีๆ นี่เอง และที่สำคัญวันนี้ชาวโรฮิงญากลับลำบากขึ้นกว่าเดิม เขายังบอกด้วยว่า รัฐบาลต้องเปิดให้นักข่าวลงพื้นที่เพื่อดูความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น
ภายหลังจากการแถลงในเช้าวันอังคารที่เนปีดอว์ ซุลต่าน อะห์หมัด ชาวโรฮิงญาในแคมป์ลี้ภัยในค็อกซ์ บาซาร์ มองว่า สิ่งที่ซูจีอ้างว่า มีมุสลิมในยะไข่อีกจำนวนมากที่อาศัยอย่างสงบนั้นไม่จริง และ คำมั่นที่ว่าจะมีการอนุญาตคืนถิ่นนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ซูจีคือคนทรยศ เราไม่อาจเชื่อในคำพูดของเธอได้เลย เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในยะไข่ ซูจีไม่มีทางควบคุมกองทัพได้เลย เขายังบอกด้วยว่า ตอนนี้ในหมู่ชาวโรฮิงญา ไม่มีใครสนใจถึงชื่ออองซาน ซูจีอีกเเล้ว
(Reuters)
ทำไมซูจีถึงไม่ประณามความรุนแรงต่อโรฮิงญาตรงๆ
คำถามนี้ เว็ปไซต์เดอะการ์เดี้ยน อธิบายว่า ตอนที่นางซูจีได้รับเลือกเข้าไปนั่งในรัฐสภาเมื่อปี 2012 ซึ่งตอนนั้นยังไม่ใช่พรรครัฐบาล ผู้คนต่างคาดหวังในตัวเธอค่อนข้างสุง ว่า เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ จะช่วยพาประเทศเมียนมาและหลอมรวมความเป็นหนึ่งเดียวจากความแตกแยกทางเชื้อชาติ ขณะเดียวกันก็มีคนที่เห็นต่างมองว่า เธอจะยังคงปิดปากเงียบต่อปัญหา(กลุ่มชาติพันธุ์) เพื่อรักษาคะแนนเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธซึ่งเป็นกลุ่มประชากรส่วนมากของประเทศ อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ซูจีและพรรคNLD ของเธอชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2015 เธอก็ยังคงมีท่าทีเมินเฉยต่อปัญหาเหล่านั้น
แม้ว่าในการแถลงครั้งล่าสุด เธอจะบอกว่า ขอประณามทุกความรุนแรงที่เกิดขึ้น พร้อมย้ำว่า เมียนมามีปัญหาอีกจำนวนมากที่ต้องแก้ไข ไม่ใช่แค่เรื่องโรฮิงญา และรัฐบาลของเธอก็เพิ่งอยู่มาได้เพียง 18 เดือนเท่านั้น ยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
นักวิเคราะห์ของเดอะการ์เดี้ยน มองว่า ความจงใจเงียบให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเพราะว่า อำนาจของกองทัพที่เรียกว่ายังครอบคลุมอยู่ และการรักษาสถานะของตัวเองของซูจีจึงเป็นการเงียบต่อปัญหาเหล่านั้นเสีย
ประโยคหนึ่งในคำแถลงของซูจี เธอบอกว่า “ไม่อยากให้เมียนมาต้องมาแบ่งแยกกันเพียงเพราะเรื่องศาสนาหรือความเชื่อ”
แต่หากดูจากทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าปัญหา “โรฮิงญา” ไม่ใช่เรื่องศาสนาเพราะเธอให้คำว่า มุสลิม นั้นสะท้อนว่ายอมรับว่ามีคนนับถืออิสลามในประเทศ(ซึ่งมีพื้นเพชาติพันธุ์ต่างจากโรฮิงญาด้วย)แต่คือเรื่องของมนุษยธรรม ความเกี่ยวพันในฐานะกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐไม่เพียงจะไม่รับสถานะพลเมืองแต่ยังไม่อยากเอ่ยถึงด้วยซ้ำ
แบบนี้เรียกได้ว่า ไม่เคยมีคนเหล่านี้ในสายตาของรัฐเลยแม้แต่น้อย หรือนี่จะเป็น การล้างเผ่าพันธุ์อย่างแท้จริง เหมือนที่เลขาฯยูเอ็นนิยามความรุนแรงครั้งนี้ว่าเป็น “ตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่านพันธุ์”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยูนิเซฟ ประกาศเด็กโรฮิงญา 2แสนคน ต้องการความช่วยเหลือด่วน ทั้งด้านร่างกาย-จิตใจ
โรฮิงญาอพยพเเล้ว3 แสนคนรมต.ต่างประเทศบังคลาเทศชี้นี่คือ’ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’
ยูเอ็นชี้วิกฤตโรฮิงญา เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นักวิชาการชี้ใช้คำ ‘เบงกาลี’ แทนโรฮิงญาเป็นการจงใจทำลายประวัติศาสตร์พื้นที่
นักวิชาการชี้ ‘ซูจี’ ไร้อำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปมโรฮิงญา
โรฮิงญาอพยพพุ่ง 90,000 คน - "ซูจี" ถูกนานาชาติกดดันหนัก
หยุดปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อพลเรือนชาวโรฮิงญา
ฮิวแมนไรต์โชว์ภาพดาวเทียม ไหม้วอด 700 หลังบ้านชาวโรฮิงญา
เตือนบทบาทไทยกรณี "โรฮิงญา" รับลูก "เมียนมา" เสี่ยงหลายมิติ
รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
กลุ่มผู้หญิงโรฮิงยาเผยกับสื่อ ชาวบ้านโดนทรมานสารพัดช่วงทหารกวาดล้าง
WFP รายงานโรฮิงยากว่าแสนคนเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร
โรฮิงญา...จาก "อคติชาติพันธุ์" สู่ "เหยื่อค้ามนุษย์"
ที่มาข้อมูล
http://www.aljazeera.com/news/2017/09/suu-kyi-burying-head-sand-rohingya-crisis-170919092338988.html
http://edition.cnn.com/2017/09/19/asia/myanmar-aung-san-suu-kyi-speech-facts/index.html