ยูเอ็นชี้วิกฤติโรฮิงญา เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ยูเอ็นชี้วิกฤติโรฮิงญา คือตัวอย่างตำราการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาเปิดให้องค์กรภายนอกเข้าสอบสวน วอนบังคลาเทศให้ยังเปิดชายแดนรับผู้ลี้ภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ก.ย. 60 ที่ผ่านมานายไซยิด ราอัด อัล ฮูเซ็น (Zeid Ra’ad Al Hussein) กรรมาธิการระดับสูงประจำข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แถลงที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ถึงวิกฤตโรฮิงญาว่า เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ตอบโต้รัฐบาลของนางอองซาน ซูจีต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว
นายอัล ฮูเซ็น กล่าวว่า น่าตกใจมากต่อกองทัพเมียนมา ที่เข้าจัดการในพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ และขอประณามต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งการเผาบ้านเรือน การวิสามัญฆาตกรรมทั้งกองกำลังฝ่ายตรงข้ามและชาวบ้านที่กำลังอพยพ นับตั้งแต่เกิดเหตุความรุนแรงเมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา
“ปีที่เเล้ว ผมได้เตือนถึงรูปแบบความรุนแรงทั้งหมดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา ขณะเดียวกัน รัฐบาลเมียนมาได้ปฏิเสธการเข้าสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเหตุการณ์ในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีการประเมิน แต่สถานการณ์ดูเหมือนจะเป็นตัวอย่างตำราของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” นายอัล ฮูเซ็นกล่าว
นอกจากนี้ นางอัล ฮูเซ็น ยังวิพากษ์ กองทัพเมียนมา หลังมีรายงานว่ามีการวางระเบิดระหว่างทางบริเวณชายแดนบังคลาเทศที่ผู้อพยพใช้เพื่อหนีความรุนแรงในบ้านเกิด รวมไปถึงคำประกาศต่อกลุ่มผู้อพยพว่า หนทางเดียวที่พวกเขาจะกลับมาเมียนมาได้ ถ้าสามารถพิสูจน์สัญชาติได้ก่อน
ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่าจำนวนผู้อพยพโรฮิงญาในบังคลาเทศเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 คน จนกระทั่งรัฐมนตรีต่างประเทศบังคลาเทศออกมาขอความช่วยเหลือจากนานาชาติโดยด่วน (อ่านประกอบโรฮิงญาอพยพเเล้ว3 แสนคน รมต.ต่างประเทศบังคลาเทศชี้ นี่คือ’ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ )
นางอัล ฮูเซ็น กล่าวอีกว่า ขอให้รัฐบาลบังคลาเทศเปิดชายแดนรับผู้ลี้ภัยและให้ความร่วมมือกับองค์กรต่างชาติ ขณะเดียวกันขอตำหนิ รัฐบาลอินเดียที่ประกาศจะผลักดันผู้อพยพโรฮิงญา 40,000 คน ในฐานะผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยไม่ได้คำนึงถึงสถานะผู้ลี้ภัยของ UNHCR อินเดียไม่ควรผลักให้ผู้อพยพกลับไปยังประเทศต้นทางที่ปราศจากความปลอดภัยต่อชีวิต
ข่าวที่่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการ ชี้ใช้คำ ‘เบงกาลี’ เรียกโรฮิงญา เป็นการจงใจทำลายประวัติศาสตร์พื้นที่
โรฮิงญาอพยพพุ่ง 90,000 คน - "ซูจี" ถูกนานาชาติกดดันหนัก
หยุดปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อพลเรือนชาวโรฮิงญา
ฮิวแมนไรต์โชว์ภาพดาวเทียม ไหม้วอด 700 หลังบ้านชาวโรฮิงญา
เตือนบทบาทไทยกรณี "โรฮิงญา" รับลูก "เมียนมา" เสี่ยงหลายมิติ
รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
กลุ่มผู้หญิงโรฮิงยาเผยกับสื่อ ชาวบ้านโดนทรมานสารพัดช่วงทหารกวาดล้าง
WFP รายงานโรฮิงยากว่าแสนคนเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร