ความคิดทางการศึกษาของ 'ป๋วย อึ๊งภากรณ์' บุคคลสำคัญของโลก
"การศึกษาในระดับประถม มัธยม เเละอาชีวศึกษา นั้น รัฐบาลควรให้เเก่ประชาชนทุกคน โดยไม่คิดเงินเเละมีคุณภาพ หรือมาตรฐานที่ให้เเก่ประชาชนในเเต่ละท้องถิ่น หรือภูมิภาค ไม่ควรเเตกต่างกันด้วย โดยรัฐบาลจะต้องจ่ายเเละการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย"
หมายเหตุ:บทความ เรื่อง "ความคิดทางการศึกษาของอาจารย์ป๋วย" เขียนโดย ศ.เกียรติคุณ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ราชบัณฑิต ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาเศรษฐกิจ ในฐานะอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อรำลึกเนื่องในวาระ 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บุคคลสำคัญของโลก
การกล่าวถึงเเนวคิดทางการศึกษาของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นั้น อาจจะต้องพิจารณาถึงเเนวคิดทางด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม เเละการเมือง ในการพัฒนาประเทศของท่าน ซึ่งมีเรื่องมากมายเกี่ยวกับทางเศรษฐกิจ
สำหรับในเรื่องสังคมเเละการเมืองนั้น อาจจะศึกษาได้จากงานเขียนของท่านจากเรื่อง "คุณภาพเเห่งชีวิต ปฏิทินเเห่งชีวิต จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" เเละเรื่อง "สันติประชาธรรม"
1.คุณภาพของประชากรกับการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ เเละการเมือง
ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ เเละการเมืองของประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง เเละมีความยั่งยืนนั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่คุณภาพของประชากร ระบบการเมือง เเละคุณภาพของผู้นำ สำหรับคุณภาพของประชากรนั้น มีเรื่องที่สำคัญ 3 เรื่องดังนี้
1)สุขภาพพลานามัยของประชาชน
2)การศึกษาเเละความรู้ความสามารถของประชากร
3)การมีระเบียบวินัย คุณธรรมความดี เเละความรับผิดชอบต่อสังคม
อาจารย์ป๋วย ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของมนุษย์เเต่ละคนตั้งเเต่เกิดจนตาย เเละความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมไว้ในเรื่อง ปฏิทินเเห่งชีวิต จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความสงบสุข เเละมีความเจริญก้าวหน้า
2.ความสำคัญของการศึกษาในเเต่ละระดับในการพัฒนาประเทศ
ระดับการศึกษาของประชาชนนั้นมึความสำคัญต่อการพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ เเละการเมืองของประเทศมาก อย่างไรก็ตาม คุณภาพของการศึกษาในเเต่ละระดับที่ให้เเก่ประชากรในเเต่ละกลุ่มของอายุนั้น ก็มีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ เเละการเมืองการปกครองของประเทศโดยรวม ก็มีความสำคัญเเละความจำเป็นที่เเตกต่างกัน ซึ่งอาจเเบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) การศึกษาระดับพื้นฐานของประชาชนเเต่ละคน
โดยทั่วไปเเล้วประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดี เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเเละเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ เเละการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ควรจะได้รับการศึกษาจากรัฐเป็นเวลาประมาณ 12 ปี หรืออย่างน้อยหรือไม่น้อยกว่า 10 ปี ด้วยมาตรฐานเเละคุณภาพที่ไม่เเตกต่างกัน
อาจารย์ป๋วยให้ความสำคัญเเก่ความเสมอภาคในการศึกษามาก ได้กล่าวว่า "เด็กทุกคนต้องมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาค เเละได้มีโอกาสเเสดงศักยภาพความสามารถของตน" โดยสังคมหรือรัฐจะต้องเป็นผู้ดูเเล
2) การศึกษาที่สูงกว่าระดับขั้นพื้นฐาน หรือระดับอุดมศึกษา
การศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับพื้นฐานนั้น เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มการชำนาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน หรือการประกอบอาชีพของเเต่ละคน ซึ่งอาจเป็นไปตามความต้องการของปัจเจกบุคคล หรือความต้องการของสังคม หรือประเทสในการใช้กำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศ
3) การศึกษาในระดับสูง เพื่อการค้นคว้าวิจัยในด้านต่าง ๆ
ในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของประเทศนั้น จำเป็นต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญในระดับที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี เพื่อการค้นคว้าวิจัยวิทยาการความรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตเเละการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านของการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเเละการเเข่งขันทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ
โดยทั่วไปเเล้ว ความเจริญก้าวหน้าหรือความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีนั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเเข่งขัน เเละความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศด้วย
3.หน้าที่เเละความรับผิดชอบของรัฐบาลในการให้การศึกษาเเก่ประชากรในระดับต่าง ๆ
1) โดยทั่วไปเเล้วรัฐบาลเเต่ละประเทศมีหน้าที่ต้องดูเเลในเรื่องการศึกษาในระดับพื้นฐานของประชาชนเเบบให้เปล่าตามมาตรฐานเเละรูปเเบบที่รัฐบาลกำหนด โดยถือว่าเป็นการลงทุนทางสังคมที่จำเป็นของประเทศ
อาจาย์ป๋วย มีความเห็นว่า การศึกษาในระดับประถม มัธยม เเละอาชีวศึกษา นั้น รัฐบาลควรให้เเก่ประชาชนทุกคน โดยไม่คิดเงินเเละมีคุณภาพ หรือมาตรฐานที่ให้เเก่ประชาชนในเเต่ละท้องถิ่น หรือภูมิภาค ไม่ควรเเตกต่างกันด้วย โดยรัฐบาลจะต้องจ่ายเเละการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
2)การศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับพื้นฐาน หรือระดับอุดมศึกษานั้น รัฐบาลควรให้การสนับสนุนเเละลงทุนในระดับที่เหมาะสม โดยอาจจะให้ผู้ได้รับการศึกษาหรือประชาชนเเบกรับภาระบางส่วน ตามสัดส่วนของผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลที่ได้รับเเละผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
อย่างไรก็ตาม ในระบบการเก็บค่าใช้จ่ายทางการศึกษานั้น จะต้องมีระบบการให้ทุนการศึกษาในรูปเเบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนคนที่เก่งเเต่ยากจนด้วย หรือให้นักศึกษาที่ได้ทุนเเบบช่วยทำงานของมหาวิทยาลัยหรือต้องทำงานในหน่วยงานของรัฐเป็นระยะเวลาหนึ่งที่รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา เช่น ระบบเเพทย์ใช้ทุน เป็นต้น
3) การศึกษาในระดับสูงเพื่อการค้นคว้าวิจัยในด้านต่าง ๆ ถือว่าเป็นการลงทุนการศึกษาที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลควรจะเป็นผู้เเบกรับภาระเป็นส่วนใหญ่ เช่น การให้ทุนการศึกษาในโครงการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี หรือให้ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศเป็นต้น สำหรับการศึกษาที่เป็นไปตามความพึงพอใจของปัจเจกบุคคลนั้น ผู้ที่เข้าศึกษาจะต้องเป็นผู้เเบกภาระเอง
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหรือการลงทุนการศึกษาของรัฐบาลนั้น จะเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ การเก็บภาษีเเละการใช้จ่ายของรัฐเป็นสำคัญ เเละเกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิภาพในการบริหารเเละการลงทุนการศึกษาของรัฐบาลในเเต่ละระบบสังคม เศรษฐกิจ เเละการเมืองของเเต่ละประเทศเป็นสำคัญ
(เว็บไซต์ tu.ac.th)
4.ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เเละการลงทุนทางการศึกษาของรัฐบาล
การใช้จ่ายด้านการศึกษาของรัฐบาลนั้น นอกจากจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายของรัฐบาลเเล้ว ยังเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เเละการลงทุนของรัฐบาลด้วย
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้กล่าวว่า ปัญหาการศึกษาของประเทศไทยนั้น มีปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคม เเละนโยบายในการบริหารจัดการในเรื่องการศึกษาของประเทศ ท่านได้มองเห็นข้อบกพร่องในการจัดสรรงบประมาณของประเทศ เพื่อพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของประเทศ มีข้อสำคัญบางประการ ดังนี้
1)การตั้งงบประมาณเเละเเผนงานการใช้งบประมาณสมัยน้ัน ไม่สนองตอบความต้องการด้านการศึกษาของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเเก้ปัญหาด้านมัธยมศึกษาสายสามัญ เเละอาชีวศึกษาได้ยากเต็มที
2) เเผนการศึกษาต่าง ๆ นั้น ไม่มีการประสานกัน เเละไม่เเสดงถึงลำดับความสำคัญ
3) การพัฒนาการศึกษานั้น ไม่สอดคล้องประสานกับการพัฒฯาเศรษฐกิจของประเทศ
ความเห็นของอาจารย์ป๋วยดังกล่าวได้เเสดงต่อเเผนการพัฒนาการศึกษา เเละการพัฒนาเศรษฐกิจในสมัยของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ในราวปี พ.ศ.2510 อย่างไรก็ตาม เเต่ไม่ได้รับการเเก้ไขเเต่อย่างใด
ในขณะเดียวกัน ผู้ที่มีอำนาจในรัฐบาล เเละการกำหนดนโบายการศึกษาของประเทศก็ให้ความสำคัญเเก่ผลประโยชน์ เเละการกุมอำนาจทางการศึกษาของตน ปรากฎว่า ประเทศไทยได้ใช้จ่ายลงทุนทางการศึกษาเป็นจำนวนมาก เเต่ผลลัพธ์จากการลงทุนนั้นต่ำมาก เมื่อเทียบกับการลงทุนการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในระดับการพัฒนาประเทศที่ใกล้เคียง
ในสมัยที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งได้ใช้จ่ายทางการศึกษาสูงมากเป็นลำดับหนึ่งของการใช้จ่ายของรัฐบาล โครงการใช้จ่ายจ่ายในโครงการประชานิยมรูปเเบบต่าง ๆ มีมากมาย ในสมัยที่คุณทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี นั้น ได้มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการถึง 5 คน
การใช้จ่ายโครงการประชานิยมครั้งหลังสุดในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้น ได้นำมาใช้กับการกำหนดตำเเหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยด้วย เพื่อเอาใจอาจารย์ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ตำเเหน่งทางวิชาการ
กล่าวคือ เเต่เดิม ตำเเหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องมีผลงานอย่างน้อย 2 ชิ้น คือ 1) งานวิจัย 2 บทความทางวิชาการ ได้เเก้ไขกฎระเบียบเป็นมีผลงานทางวิชาการเพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น คือ เป็นงานวิจัย หรือบทความทางวิชาการ
อาจกล่าวได้ว่า การขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางด้านการศึกษาเเละการใช้นโยบายประชานิยมอย่างขาดความรับผิดชอบ ได้ทำให้ระบบการศึกษาของไทย 'ล้มเหลว' ได้เป็นปัญหาสำคัญ ทำให้ระบบสังคมเศรษฐกิจของไทยล้มเหลวด้วย
ในปี 2558-59 รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เผชิญกับปัญหาในเชิงโครงสร้างที่เเก้ไขได้ยาก ถึงขนาดต้องใช้อำนาจพิเศษ มาตรา 44 ของธรรมนูญการปกครองประเทศเพื่อเเก้ไขปัญหา ซึ่งยังไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะสามารถเเก้ปัญหาได้หรือไม่ เเล้วจะสามารถเเก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจ เเละการเมืองของประเทศได้หรือไม่
ในเรื่องประสิทธิภาพการบริหารการจัดการ เเละการลงทุนทางการศึกษาของรัฐบาลนั้น จะขอขยายความที่เกี่ยวเนื่องกันอีก 2 เรื่อง คือ
การกู้ยืมเพื่อลงทุนทางการศึกษาของประเทศ
สำหรับการกู้ยืมเกี่ยวกับการศึกษานั้น อาจจะกล่าวถึงตัวอย่างสำคัญไว้ 2 เรื่อง คือ 1.การกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2.การกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงการอาชีวศึกษาของประเทศ ซึ่งพอจะพิจารณาโดยสังเขปได้ดังนี้
อาจารยป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการวางเเผนเเละพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงของเเผนพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง 4 กล่าวคือ ในช่วงของการพัฒนาเศรษฐกิจ ปีพ.ศ. 2504-2524 ด้วยการมีบทบาทสำคัญในการเเสวงหาเงินลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ
งานที่สำคัญในช่วงของการพัฒนาเศรษฐกิจฯ ในระยะเเรกของประเทศไทย คือ การเเสวงหาเงินทุนที่จะต้องใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเเละสังคมของประเทศไทย เพราะว่าในขณะนั้นมีเงินทุนที่จะใช้ในการพัฒนาประเทศน้อยมาก เพราะประเทสไทยเป็นประเทศยากจน เเละมีเงินออมหรือเงินสะสมทุนที่จะใช้ในการพัฒนาประเทศน้อยมาก ดังนั้น การจะสามารถพัฒนาสังคมเศรษฐกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จึงจำเป็นจะต้องพึ่งเงินลงทุนจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเเหล่งเงินเพื่อการพัฒนาจากธนาคารโลก เเละเงินกองทุนระหว่างประเทศที่มีการควบคุมการใช้เงินลงทุนที่รัดกุม เเละดอกเบี้ยต่ำด้วย
อาจารย์ป๋วยได้มีบทบาทสำคัญในการเจรจากูเงินจากธนาคารโลก คือ ในช่วงปี พ.ศ.2504-2524 หลายครั้ง รวมเเล้วประเทศไทยได้กู้เงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินกู้ยืมดังกล่าวได้ใช้ลงทุนอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
กล่าวคือ เงินส่วนใหญ่ได้ใช้ลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ ประมาณร้อยละ 36.2 ใช้ลงทุนทางด้านพลังงาน ร้อยละ 25.3 ใช้ลงทุนด้านคมนาคม เเละการขนส่ง ร้อยละ 10.3 ใช้ลงทุนทางด้านการเกษตร
การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้เป็นรากฐานของการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเวลาต่อมา เเละถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก เพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าวราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
การลงทุนพัฒนาทางด้านคมนาคมเเละการขนส่งในสมัยนั้น ได้ช่วยให้ประเทศไทยมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวคือ ระบบคมนาคมเเละการขนส่งได้ช่วยให้คนไทยในทุกจังหวัด เเละทุกภูมิภาคสามารถติดต่อกันได้ด้วยระบบการขนส่งทางถนน เเละการติดต่อทางโทรคมนาคมได้ช่วยให้คนไทยทุกภูมิภาคสามารถติดต่อกันได้ เเละความรู้สึกเป็นชนชาติเดียวกัน เเละมีความเเบ่งเเยกน้อยลง ทำให้คนไทยในทุกภูมิภาคสามารถผสมกลมกลืนกันได้เป็นอย่างดี การลงทุนพัฒนาดังกล่าวนอกจากจะช่วยในการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจเเล้ว ยังช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับการกู้เงินเพื่อการลงทุนทางด้านการศึกษาของประเทศนั้น จะขอกล่าวถึงกรณีตัวอย่าง 2 กรณี คือ การกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เเละการกู้เงินเพื่อพัฒนาระบบอาชีวศึกษา
-การกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อช่วยพัฒนาการผลิตทางด้านการเกษตร เเละการยกฐานะความเป็นอยู่ของชาวไร่ชาวนา ซึงเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทสให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในเเผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ในระยะเเรกนั้น ได้มีการเสนอให้รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อพัฒนาลงทุนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวนเงิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะในขณะนั้นรัฐบาลมีงบประมาณค่อนข้างจำกัด เเละมีความไม่เเน่นอนอยู่มาก ดังนั้น จึงเสนอให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำเเผนการพัฒนา เเละขอกู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรของประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม ในระยะเเรกผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ยอมกู้ เพราะไม่อยากมีภาระผูกพัน อาจารย์ป๋วยต้องเข้าไปเจรจาขอให้กู้เงินมาเพื่อพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศ เเละช่วยเหลือชาวไร่ชาวนาด้วย ในที่สุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยอมกู้เงินมาลงทุนพัฒนามหาวิทยาลัยในสมัยที่ ม.ล.ชูชาติ กำภู เป็นอธิการบดี
การกู้ยืมเงินมาลงทุนพัฒนาสมัยนั้น ได้ทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ขยายวิทยาเขตไปอ.กำเเพงเเสน จ.นครปฐม ด้วยการซื้อพื้นที่ดินจำนวน 8,000 ไร่ เป็นเงิน 16 ล้านบาท เเละลงทุนในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ด้วย ได้ทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
กล่าวคือ ได้เป็นมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรที่มีความเจริญก้าวหน้าที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเละได้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการด้านอื่น ๆ จนได้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำเเห่งหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน เเละมีวิทยาเขต เเละสถานีทดลองอยู่เกือบทั่วประเทศ โดยได้มีศูนย์การเรียนการสอนที่สำคัญอยู่ที่บางเขน กำเเพงเเสน สกลนคร เเละพัทยา
-การกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนาระบบอาชีวศึกษาของประเทศ
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ให้ความสำคัญเเก่การพัฒนาคุณภาพของประชากร โดยผ่านระบบการศึกษาของประเทศ โดยได้เน้นความสำคัญอยู่ที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ คือ การศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เเละอาชีวศึกษา
ในขณะเดียวกันได้เห็นว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ เเละการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศนั้น กำลังคนในระดับมัธยมศึกษา เเละอาชีวศึกษานั้นสำคัญมาก ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เเละพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ดีขึ้น ในขณะนั้นอัตราการเพิ่มของประชากรของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูงมาก กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 3 ต่อปี ในปี พ.ศ.2513
ปรากฎว่า จำนวนเด็กในวัยเรียนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบการศึกษาในสมัยนั้นไม่สามารถรองรับได้ เพราะรัฐบาลมีงบประมาณค่อนข้างจำกัดในการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ
อาจารย์ป๋วยได้เสนอต่อรัฐบาลให้กู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาระบบอาชีวศึกษาของไทย เพื่อผลิตกำลังคนสนองตอบการต้องการคนในระดับกลาง เเละเป็นผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญของอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพราะใช้ให้ประเทศสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมมีคุณภาพดีขึ้น เเละมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระจายรายได้ที่เป็นธรรมในสังคมด้วย
อย่างไรก็ตาม โครงการกู้เงินมาลงทุนเพื่อพัฒนาระบบอาชีวศึกษานั้น ต้องใช้เงินหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ เเต่รัฐบาลหรือผู้นำทางการเมืองของประเทศรวมถึงผู้ที่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ มองไม่เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาดังกล่าว รัฐบาลเเละผู้กุมอำนาจในการศึกษาส่วนใหญ่มีความเคยชินกับระบบอำนาจเเละผลประโยชน์ในระบบเก่า จึงไม่กล้าที่จะตัดสินใจเปลี่ยนเเปลง
ขณะเดียวกันค่านิยมของสังคมส่วนใหญ่ก็ยังเคยชินกับระบบ 'ปริญญานิยม' กล่าวคือ ต้องการเรียนให้ได้ปริญญาหรือคุณวุฒิที่สูงขึ้นเเละทำงานที่สบาย ไม่ค่อยยอมรับการทำงานที่จะต้องลงมือปฏิบัติ เเละมีความยากลำบากอยู่บ้าง ดังนั้น จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยขาดเเคลนคนระดับกลางในการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ คือระดับช่างฝีมือ อาชีวศึกษา เป็นจำนวนมาก
ในขณะเดียวกันก็ขาดกำลังคนทำงานในระดับล่าง ทำให้ต้องพึ่งเเรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เเละความมั่นคงของประเทศติดตามมา
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2558 รัฐบาลได้เห็นปัญหาสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานของระบบการศึกษา เเละระบบการบริหารจัดการในระบบการศึกษาของไทยที่มีความล้มเหลวไม่สามารถเเก้ปัญหาสังคมเศรษฐกิจของประเทศ เเละมีปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบการศึกษาเป็นอันมาก เเละไม่สามารถเเก้ไขตามวิธีปกติของระบบราชการได้ ต้องใช้อำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบเเห่งชาติ (คสช.) เข้ามาเเก้ปัญหา
ในเรื่องระบบการศึกษาของประเทศไทยทีได้กลายเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของประเทศในปัจจุบันนั้น อาจกล่าวได้ว่า อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้มองเห็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง เเละต้องรีบลงมือเเก้ไข เมื่อประมาณเกือบ 50 ปีมาเเล้ว ในทำนองเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้ประสบความล้มเหลวในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย
เพราะความล้มเหลวในการสร้างระบบการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมในสสังคมเเละการพัฒนาคุณภาพของประชากรให้สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการปกครองของประเทศด้วย
ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย เเละสิงคโปร์เเล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อประมาณ 50 ปีที่เเล้ว คือ ในราวปี พ.ศ.2504 ประเทศไทยตกอยู่ในฐานะทีดีกว่าประเทศสิงคโปร์เเละมาเลเซีย
เเต่ปัจจุบันคือในปี พ.ศ.2556 รายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ยของประชากรในประเทศสิงคโปร์สูงกว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่าตัว เเละของประเทศมาเลเซียสูงกว่าประเทศไทยประมาณ 2 เท่าตัว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเเตกต่างในเรื่องรายได้เเละชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย เเต่ปัญหาสำคัญที่สุดอยู่ที่ระบบการศึกษาเเละคุณภาพของประชากร เเละคุณภาพของนักการเมือง หรือผู้นำของประเทศ ที่ขาดความมุ่งมั่นทางการเมืองที่จะเเก้ปัญหาพื้นฐานของประเทศ คือ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน เเละประสิทธิภาพในการบริหารจัดการปัญหาของประเทศ
(เว็บไซต์ ratioscripta.blogspot.com)
5.ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกับการนำมหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการของไทย
ในการเเก้ปัญหาเเละพัฒนาระบบการศึกษานั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่การกำหนดนโยบายเเละประสิทธิภาพการบริหารจัดการเป็นสำคัญ ซึ่งอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้มีความคิด เเละได้เสนอเเนะให้นำมาเป็นเเนวทางในการเเก้ปัญหามหาวิทยาลัยไทย ซึ่งจะขอกล่าวถึงเรื่องโดยสังเขป ดังนี้
1) อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เสนอเเนวความคิดในการเเก้ปัญหา เเละพัฒนาระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยด้วยการเสนอให้นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ เพื่อเเก้ปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยให้มหาวิทยาลัยเเต่ละเเห่งมีอิสระในการบริหาร เเละไม่ใช้ระบบการบริหารเเบบราชการ เเต่รัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนเป็นก้อน หรือ 'Block grant' ในเเต่ละปี
2)อาจารย์ป๋วยได้เสนอความคิดดังกล่าวในที่ประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยที่บางปู จ.สมุทรปราการ ในราวปี พ.ศ.2514 ซึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากอธิการบดีของมหาวิทยาลัยหลายเเห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละมหาวิทยาลัยมหิดล
อย่างไรก็ตาม เเนวความคิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นเป็นความจริงขึ้นมาในรัฐบาลของคุณอานันท์ ปันยารชุน ในปี พ.ศ.2534 คือ เป็นเวลาประมาณ 20 ปี หลังที่ได้มีการเสนอเเนวความคิดดังกล่าวนั้น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกจากระบบราชการในปลายปี พ.ศ.2558 หลังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประมาณ 24 ปี หรือจากที่อาจารย์ป๋วยได้เสนอความคิดประมาณ 44 ปี
3) การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยที่สามารถพัฒนาเเละเติบโตได้เร็วขึ้น เพราะนโยบายการเปิดกว้างเพื่อดึงคนดี คนเก่ง เข้ามาเรียนเเละทำงาน ซึ่งจะพิจารณาได้ตัวอย่างของคณะเเพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เเละสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หรือSIIT
4)การพัฒนาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เเละสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร นั้น ได้รับการช่วยเหลือจากคนเป็นจำนวนมากที่จะขอกล่าวถึงในที่นี้ คือ ศ.ดร.นักสิทธิ คูวัฒนชัย เเละศ.ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์
5)สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร เป็นตัวอย่างของสถาบันการศึกษาที่ได้ประสบความสำเร็จมากที่่สุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าในประเทศไทยด้วย คือ ประมาณ 24 ปี จากการก่อตั้งในปี 2535
6.อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับการบริหารเเละการวางรากฐานในการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เเนวคิดทางการศึกษาของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ปรากฎให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อท่านได้เข้ามาเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ.2507-2515 เเละเป็นอธิการบดี ในปี พ.ศ.2518-2519 ในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงเเนวทางในการทำงานของท่านเกี่ยวกับการศึกษาโดยสังเขป ดังนี้
1)การกระจายโอกาส เเละความเสมอภาคทางการศึกษา
อาจารย์ป๋วย อึํงภากรณ์ ได้ให้ความสำคัญในการกระจายโอกาส เเละความเสมอภาคในการศึกษาเเก่ประชาชน รูปเเบบที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เมื่อท่านเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ได้เเก่
-การเปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ภาคค่ำในระดับปริญญาตรีเเก่คนที่ทำงานได้มีโอกาสเข้าศึกษาที่คณะเศรษฐศาสตร์ ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.2508 เเต่ได้ยุบเลิกไปในปี พ.ศ.2520
-โครงการเรียนดีจากชนบท หรือโครงการช้างเผือก เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่เรียนดี เเต่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจน ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยจัดหาทุนการศึกษาให้การสนับสนุน
(โครงการดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นอธิการบดี เเต่นำไปปฏิบัติในสมัยที่อาจารย์ประภาส อวยชัย เป็นอธิการบดี ในปี พ.ศ.2521)
โครงการกระจายโอกาสในการศึกษา ต่อมาได้ขยายเเก่กลุ่มนักเรียนที่ยากจนในเขตเมืองด้วย
-การตั้งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์เเละมนุษยศาสตร์ ในปี พ.ศ.2509 เเละโครงการพัฒนาชนบท ในปี พ.ศ.2510
2)คุณภาพของบัณฑิต เเละความรับผิดชอบต่อสังคม
เมื่อท่านเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพของบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยจะผลิตออกไปนั้น จะต้องมีมาตรฐานความรู้ที่ดี เเละมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตบางประการที่ท่านได้เห็น ดังนี้
-มหาวิทยาลัยมีหน้าที่อบรมเเละสั่งสอนนักศึกษาให้เป็น 'บัณฑิต' ที่มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นมนุษย์ที่ดี เป็นพลเมืองที่ดี เเละเป็นผู้สามารถประกอบอาชีพ
บุคคลที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมนั้น มิใช่เเต่มีความรู้ในอาชีพเเต่เพียงอย่างเดียว เเต่ต้องเป็นคนดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์ รักศิลปะเเละความงาม รักหมู่คณะ เห็นเเก่ประโยชน์ของส่วนรวม บำเพ็ญทานเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ยอมเป็นหุ่นกระบอกให้มือที่ 3 ชักใย หรือกรอกคำพูดใส่ปาก
-อาจารย์ป๋วย มีความเห็นว่า หน้าที่ของมหาวิทยาลัยนั้น นอกจากการวิจัยความรู้เเละสอนนักศึกษาชั้นสูงเเล้วจะต้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำ คือ
"จะต้องฝึกฝนวิชาของตนเองให้ลึกซึ้งกว้างขวาง ก้าวหน้าให้ทันสมัยด้วย เพราะวิชาในโลกนี้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ต้องก้าวหน้าอยู่เสมอ...วิชาความรู้ี่ผู้อื่นเขาสามารถคิดค้นใหม่ ๆ ได้นั้น ส่วนมากใช้ได้เเต่ในประเทศอื่น หากนำมาใช้ในประเทศไทยต้องดัดเเปลงในรายละเอียดในสาระสำคัญบ้าง ฉะนั้นงานวิจัยของอาจารย์ไทยที่อาศัยผลงานของที่อื่นมาดัดเเปลงให้ใช้ประโยชน์ในเมืองไทย ย่อมเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยเเละโลกเเห่งวิชาการเป็นอย่างดี..."
-การให้บริการเเก่สังคมนั้นเป็นหน้าที่ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย นอกจากการเรียนการสอนเเละการวิจัย กิจกรรมที่สำคัญที่จะต้องให้ความช่วยเหลือเเก่ประชาชนเเละสังคมด้วย เช่น โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเเม่กลองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศ่าสตร์ เเละมหาวิทยาลัยมหิดล เเละโครงการบัณฑิตอาสาสมัครของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
3) การวางรากฐานในการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีในการรับใช้ประชาชน
สำหรับบทบาทของมหาวิทยาลัยในการช่วยเหลือสังคม เเละประเทศชาติโดยส่วนรวมของอาจารย์ป๋วยนั้น อาจจะพิจารณาได้จากการวางมาตรฐานในการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีในการรับใช้ประชาชน เเละสังคมไทยนั้นอาจจะพิจารณาโดยสังเขปดังนี้
-ข้อจำกัดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งเเต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2477 คือ ข้อจำกัดในเรื่องที่ดิน เเละฐานทางวิชาการที่จะพัฒนาต่อยอดทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีให้ทันกับการพัฒนาเปลี่ยนเเปลงของสังคมเศรษฐกิจโลก อาจารย์ป๋วยได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยที่สำคัญ ดังนี้ คือ
"ได้เสนอให้มหาวิทยาลัยจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนา เเละการขยายมหาวิทยาลัย เพราะที่วิทยาเขตท่าพระจันทร์ไม่สามารถขยายได้"
จากข้อเสนอเเนะของอาจารย์ป๋วย ทำให้มหาวิทยาลัยตัดสินใจใช้เงินสะสมของมหาวิทยาลัยจำนวน 5 ล้านบาท ซื้อที่ดินจำนวนประมาณ 700 ไร่ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในราคาไร่ละ 7,500 บาท ที่ ต.บางชัน อ.มีนบุรี ในปี พ.ศ.2507
ต่อมาอาจารย์ป๋วยได้เสนอให้มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินที่ซื้อมานั้นเเลกกับที่ดินของกระทรวงอุตสาหกรรมจำนวน 2,430 ไร่ ที่ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 41-42 ระหว่างถนนพหลโยธินกับทางรถไฟ เเละคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการเเลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวได้นั้น
ในด้านของการเปิดสอนทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีนั้น เมื่ออาจารย์ป๋วยได้เป็นอธิการบดีในปี พ.ศ.2518 ได้มีการศึกษาเเละได้วางเเผนเเม่บทในการพัฒนามหาวิทยาลัย ทั้งในเรื่องเรื่องขยายการเรียนการสอนไปที่ศูนย์รังสิต เเละเปิดการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีด้วย ซึ่งได้ช่วยให้อธิการบดีในสมัยต่อมาสามารถทำการพัฒนามหาวิทยาลัยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านได้วางระบบการทำงานของมหาวิทยาลัย เเละสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้สามารถรับงานของมหาวิทยาลัยได้
4)การสร้างระบบการบริหารที่ดี เเละการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่งต่อเนื่อง
ในการพัฒนาระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยเเต่ละเเห่ง หรือในระดับประเทศนั้น นอกจากจะพิจารณาจากเเนวความคิดในด้านการพัฒนาเเล้ว จะต้องพิจารณาความสามารถในการบริหารเเละการจัดการทางการศึกษาของผู้บริหาร หรือผู้นำของมหาวิทยาลัยด้วย
สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น อาจารย์ป๋วย ได้วางระบบการทำงานไว้ดี กล่าวคือ ได้ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานเเละรับรู้ปัญหาของมหาวิทยาลัย มีการร่วมกันทำงานเป็นทีม ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผู้นำรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยขึ้นมาเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้น จึงช่วยทำให้มหาวิทยาลัยสามารถทำงานอย่างต่อนเื่อง เเละกล้าที่จะเข้ารับงานเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วง 40 ปี หลัง คือ ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2517-2557
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังปี พ.ศ.2531 เมื่อสามารถปลดล๊อกทางการเมืองที่สกัดกั้นความเจริญเติบโตของมหาวิทยาลัยได้ ในวันที่ 13 กันยายน 2531 ซึ่งมีผลทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สามารถก่อตั้งคณะวิชาที่เป็นหัวหอกสำคัญในการพัมฯาทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีได้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีพ.ศ. 2532 คณะเเพทยศาสตร์ ปีพ.ศ.2533 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ปีพ.ศ.2535
ปรากฎว่าทั้ง 3 คณะวิชาดังกล่าว ได้ทำชื่อเสียงให้เเก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เเละเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การเเพทย์เเละสุขภาพ เเละทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี ปรากฎว่าในปัจจุบันบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นบัณฑิตทางสายวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีประมาณ 1 ใน 3 ของบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยผลิตได้ ในขณะเดียวกันได้มีเเนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปี
อย่างไรก็ตาม ด้วยชื่อเสียงเเละเกียรติคุณของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้สามารถดึงคนดีคนเก่งจำนวนมากเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คณะเศรษฐศาสตร์ ปรากฎว่าผู้ที่จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ได้ทำชื่อเสียงเเก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาก กล่าวคือ มีศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ได้เป็นผู้ว่าการธนาคารเเห่งประเทศไทย 2 คน คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เเละดร.วิรไท สันติประภพ เเละมีศิษย์เก่ารุ่นพี่อีก 2 คน เคยเป็นผู้ว่าการธนาคารเเห่งประเทศไทยที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เเละดร.เสนาะ อุนากูล .
อ่านประกอบ‘ดร.วรากรณ์’ ยกคำ อ.ป๋วย มองครูที่นำความคิดใส่สมองเด็ก เป็นเรื่องผิดพลาด
'หมอวิโรจน์' หนุนรัฐลงทุนด้านสุขภาพอย่างเต็มกำลัง เพื่อความยั่งยืน
ภาพประกอบ:เว็บไซต์ OKNATION