คำถามจาก "อดีตคนบีบีซี" ถึงมาตรฐาน "แฟนเพจบีบีซีไทย"
เป็นที่น่าสนใจอย่างมากต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อ่านคนไทยต่อบทความ “การประชุมยูเอ็นเริ่มในบ้าน” ของ Outside Contributor ที่บีบีซีไทยในกรุงลอนดอนนำเสนอในpage facebookของตนเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา
หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้วก็รู้สึกว่า Outside Contributor ผู้นี้คงจะ insider มากอยู่ที่สามารถได้ข้อมูลและนำมาเขียนให้กับบีบีซีไทยในกรุงลอนดอนได้ชัดเจนเพียงนี้
สิ่งที่ได้รับจากบทความชิ้นนี้ คือ เนื้อหาที่แสดงให้เห็นว่าการเข้าประชุมสหประชาชาติของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นเป็นผลงานของข้าราชการกระทรวงต่างประเทศที่ดำเนินมานานแล้ว มิใช่ความสำคัญของตัวนายกรัฐมนตรีหรือเป็นการยอมรับในรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันจากนานาประเทศ
อีกประเด็นหนึ่งคือ การพบจับมือกันระหว่างพลเอกประยุทธ์กับนายโอบามาเป็นการที่เรียกว่า “จัดฉาก” ของฝ่ายข้าราชการของทั้งไทยและสหรัฐ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสหรัฐไม่ได้รังเกียจหรือตัดขาดกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจของไทย แต่ประเด็นนี้ถูกปฎิเสธจากฝ่ายไทยว่า ไม่ได้จัดการหรือจัดฉากและมีการยืนยันจากตัวพลเอกประยุทธ์เองว่า นายโอบามา เดินมาจับมือและขอบคุณตนในการเดินทางมาร่วมประชุมสหประชาชาติในครั้งนี้เอง
และการพบหารือกับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ก็เป็นไปในทำนองที่เขาห่วงใยในสิทธิเสรีภาพของคนไทยส่วนการเลือกตั้งที่ล่าช้าก็มาจากพลเอกประยุทธ์เองที่ทำให้ล่าช้า
ถ้าจะสรุปสิ่งที่ได้รับจากบทความชิ้นนี้ก็คือ ผู้เขียนบทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าการไปร่วมประชุมสหประชาชาติของพลเอกประยุทธ์ ไม่ได้รับความสำเร็จหรือสลักสำคัญอันใดเป็นเนื้อความที่ผู้เขียนใส่ความคิดเห็นของตนลงไปอย่างเจาะจงที่ทำให้คนอ่านเห็นว่าการเยือนสหรัฐของพลเอกประยุทธ์นั้นไม่ประสบความสำเร็จจริงตามที่ภาคข่าวของรัฐบาลไทยเสนอออกมา
และเป็นอีกภาพหนึ่งที่....บีบีซีไทยชี้แจงว่า
“ทีมงานเห็นว่าบทความนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าควรแก่การนำมาเสนอแก่ผู้อ่านเพื่อให้เป็นอีกด้านหนึ่งของข้อมูลข่าวสารที่สาธารณะพึงได้รับรู้ประกอบการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้อง”
แต่ขณะนี้ข้อมูลเหล่านี้กำลังถูกตั้งคำถามและถูกโจมตีจากผู้อ่านและคนทำงานข่าวด้วยกันในความถูกต้องและสมควรที่จะเป็นข้อมูลที่พึงรับรู้ประกอบการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านใด
บีบีซีไทยกำลังถูกตรวจสอบในประเด็นข้างล่างนี้จากผู้อ่านบางกลุ่ม (บีบีซีไทยอาจจะมีข้อแย้งว่ายังมีผู้อ่านบางกลุ่มพอใจในการเสนอเรื่องราวของตนอยู่ก็ได้)
ขอยก BBC's Editorial Values หรือหลักการที่ยึดมั่นของบรรณาธิการของบีบีซีข้างล่างนี้มาให้ผู้อ่านทั้งหลายได้เห็นว่า BBC ทั้งหมดจะต้องปฏิบัติตามคือ
Trust
Trust is the foundation of the BBC: we are independent, impartial and honest. We are committed to achieving the highest standards of due accuracy and impartiality and strive to avoid knowingly and materially misleading our audiences.
Truth and Accuracy
We seek to establish the truth of what has happened and are committed to achieving due accuracy in all our output. Accuracy is not simply a matter of getting facts right; when necessary, we will weigh relevant facts and information to get at the truth. Our output, as appropriate to its subject and nature, will be well sourced, based on sound evidence, thoroughly tested and presented in clear, precise language. We will strive to be honest and open about what we don't know and avoid unfounded speculation.
Impartiality
Impartiality lies at the core of the BBC's commitment to its audiences. We will apply due impartiality to all our subject matter and will reflect a breadth and diversity of opinion across our output as a whole, over an appropriate period, so that no significant strand of thought is knowingly unreflected or under-represented. We will be fair and open-minded when examining evidence and weighing material facts.
Transparency
We will be transparent about the nature and provenance of the content we offer online. Where appropriate, we will identify who has created it and will use labelling to help online users make informed decisions about the suitability of content for themselves and their children.
Accountability
We are accountable to our audiences and will deal fairly and openly with them. Their continuing trust in the BBC is a crucial part of our relationship with them. We will be open in acknowledging mistakes when they are made and encourage a culture of willingness to learn from them.
นี่คือหัวใจในการทำงานของบีบีซีทั้งหมด ทีนี้มีคำถามว่าหรือบีบีซีไทยไม่ได้อยู่ในหลักปฎิบัตินี้เมื่อเลือกบทความนี้มาลง และเป็นคำถามที่คุณสมชัย สุวรรณบรรณ อดึตหัวหน้าแผนกภาษาไทย,วิทยุภาคบริการโลกที่ปิดตัวไปแล้ว พูดกับสำนักข่าวอิศราว่า
“ในระยะหลังไม่ค่อยได้ติดตามกระบวนการทำงานของบีบีซีไทยมากนัก แต่สำหรับงานเขียนที่มีปัญหาได้อ่านข้อมูลแล้วเห็นว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องแหล่งที่มาและความสมดุลจริง แต่ก็ไม่แน่ใจว่ากระบวนการทำงานปัจจุบันใช้มาตรฐานเดียวกันกับในอดีตหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องกลับไปถามย้ำกับฝ่ายบริหารที่คุมกองบรรณาธิการ”
ผอ.ไทยพีบีเอส ระบุว่า ข้อมูลที่นำเสนอหรือการรายงานข่าวบีบีซีต้องตรวจสอบว่าคนเขียนอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงหรือไม่แม้จะไม่เปิดเผยแหล่งข่าวก็ตาม ซึ่งประเด็นที่เกิดขึ้นคือกระบวนการเบื้องหลังการถ่ายไม่แน่ใจว่ามีการตรวจสอบหรือไม่ และความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับใด ถ้าคนเขียนไม่อยู่ในเหตุการณ์แล้วเขาเอามาจากไหน กระบวนการทำงานข่าวเป็นอย่างไร ทำไมบีบีซีไทยตัดสินใจนำเสนอข้อมูล แล้วตัดสินใจด้วยมาตรฐานหรือมาตรการที่บีบีซีเองเคยประกาศเอาไว้หรือไม่ นี่คือคำถามที่ฝ่ายบริหารกองบรรณาธิการบีบีซีไทยต้องตอบให้ได้”
ประโยคสุดท้ายของคุณสมชัยถามได้ตรงที่สุดคือ “ทำไมบีบีซีไทยตัดสินใจนำเสนอข้อมูลนี้ แล้วตัดสินใจด้วยมาตรฐานที่บีบีซีเองเคยประกาศเอาไว้หรือไม่ นี่คือคำถามที่ฝ่ายบริหารกองบรรณาธิการบีบีซีไทยต้องตอบให้ได้"
แต่ดูเหมือนว่าผู้อ่านทั้งหลายยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากกองบรรณาธิการบีบีซีไทย หากแต่กลับไปชั้แจงในเรื่องการไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความเป็นประเด็นหลัก
ดังรายงานของสำนักข่าวอิศราโดยคุณกิตติทัศ ชัยประสิทธิ์ ข้างล่าง
บีบีซีไทย ปกปิดแหล่งข่าวหรือเต้าข่าว? Kittitouch Chaiprasith
บีบีซีไทยกลับเบี่ยงประเด็นให้คนไปสนใจเรื่องการไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความ(เท็จ)แทน
กรณีนี้กองบรรณาธิการของบีบีซีไทย คงคิดว่าคนในสังคมไทยนั้นโง่เง่า และสามารถถูกหลอกให้ หลงประเด็นได้ง่ายๆ แต่ขอโทษนะครับ คนไทยไม่ได้โง่อย่างที่คุณคิด สิ่งที่คุณทำมันมีหลักฐานเชิงประจักษ์ชัดเจน จะแถลงการณ์เพื่อ "เบี่ยงประเด็น" สักเท่าไร มันก็ไม่ช่วยหรอกครับ ซึ่งถ้าพวกคุณไม่อยากให้มีการวิพากษ์การทำงานหรือร้องเรียนเช่นนี้ พวกคุณก็ไม่ควรจะทำพฤติกรรมเสื่อมทรามเหล่านั้น ตั้งแต่แต่แรกครับ!!!
สำหรับเรื่องการไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนนั้นขออ้างบทความของคุณธาม เชื้อสถาปนศิริ จากไทยพีบีเอส ที่เขียนลงในสำนักข่าวอิศราชี้แจงหลักการและหลักปฏิบัติได้ชัดเจนมาก ทุกคนอ่านแล้วจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องในการที่กองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยชื่อนักเขียนที่ไม่ต้องการ ทว่ากรณีนี้ไม่เข้ากับเหตุผลของบีบีซีไทยเลย
และคุณธามลงท้ายบทความไว้อย่างน่าสนใจและน่ากลัวมากกับอนาคตของ บีบีซีไทยในกรุงลอนดอน
“ควรหรือไม่ควรที่จะเปิดบีบีซีไทยอีกต่อไป เป็นคำถามที่บีบีซีต้องตอบ
แล้วอย่าลืมนะครับว่าบีบีซีเป็นผู้สอนชาวสื่อมวลชนของโลกว่าเป็นต้นแบบทางจริยธรรมที่มั่นคงตรงไปตรงมาเชื่อและยึดมั่นในวารสารศาสตร์แบบวัตถุวิสัย และเรื่องนี้เป็นหนังยาวครับ”
และความคิดเห็นที่คุณ Tengpong เขียนใน blog ของ The Nation นั้น สะท้อนให้เห็นถึงความไม่น่าเชื่อถือต่อบีบีซีไทยอย่างยิ่งและคำถามที่น่าตกใจมากคือ ใครอยู่เบื้องหลังบีบีซีไทย
Tengpong: BBCThai สื่อปลอม?หรือแค่พาหะ?
แนวทางการนำเสนอข่าวอย่าเงป็นทางการของ BBC ในรูปแบบ โซเชียลมีเดียนั้น BBC จะมีกองบรรณาธิการที่คัดกรองข่าวก่อนที่จะนำเสนอ หรือ ตอบคำถามใดใด ซึ่งสามารถดูวิธีที่ว่านี้ได้จาก Twister หรือแม้แต่กระทั่ง Line อย่างเป็นทางการของ ฺ BBC เช่นกัน ไม่ได้ปล่อยอิสระ ไร้ทิศทาง อยากจะเขียน อยากจะตำหนิใครโดยไร้หลักฐาน และข้อมูล จนข่าวที่นำเสนอ ขาดความน่าเชื่อถือ และทำตัวเป็นปรปักษ์ ต่อรัฐบาลในแต่ละประเทศ อย่างเช่น Page Facebook BBC Thai กำลังกระทำอยู่
ดังนั้นเมื่อที่มาที่ไป ไม่ชัดเจน และทิศทางการเสนอ สร้างความแตกแยก ไม่มีความเป็นมืออาชีพ และไม่มีจรรยาบรรณ อีกทั้งไม่ได้ฟังการทักท้วงของประชาชนผู้เสพข่าว เหล่านี้ เราจึงไม่ควรให้ ความน่าเชื่อถือ ไม่สมควรเรียกว่าเป็นสื่อ ไม่ควรแชร์ข่าว จนกว่า Page Facebook BBC Thai จะได้เปิดตัวว่าเป็นใคร? มาจากไหน? และใครสนับสนุนอยู่? หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็สมควรที่จะถูกประนาม
และต้องติดตามข้อสงสัยที่ว่านั้นว่า BBC หรือใครกันแน่ ที่ให้การสนับสนุน Page Facebook BBC Thai หรือเป็นเพียงแค่ผู้ที่แอบอ้างชื่อสื่อใหญ่ เพื่อสร้างความวุ่นวายในสังคมและประเทศชาติของเราเท่านั้น
และหากเป็นเช่นนี้ ก็ขอเตือนว่าอย่าเอาคำว่า ไทย ของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ มาใช้ชื่อเป็นเครื่องโดยเด็ดขาด......เราเตือนคุณแล้วนะ
อีกเสียงวิจารณ์หนึ่งจากคนที่ทำงานข่าวมาตลอดคือคุณเสริมสุข ปัจจุบันคือ New TV editor in Chief, และเคยทำงานที่ the Nation, BBK post Thai PBS
Sermsuk Kasitipradit
“แปลกใจกับเหตุผลที่ BBC ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อชี้แจงเหตุผลที่ไม่เปิดเผยชื่อ คนเขียนบทความวิจารณ์การเยือนUN ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในทางเสียหาย นำเสนอด้านเดียว มีอคติอย่างชัดเจน
แปลกที่กล้าเขียนบทความวิจารณ์ในลักษณะนี้แต่กลับไม่ยอมเปิดเผยตัวตน แล้วบีบีซีไทย ยอมนำเสนอโดยอ้างว่ามีการตรวจสอบอย่างดีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นข้ออ้างที่เกิดขึ้นกับ BBC ที่ถูกมองว่ามีวาระซ่อนเร้นในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับเมืองไทย โดยเฉพาะภาคภาษาอังกฤษ ที่สัมภาษณ์นักวิชาการนักการเมืองสายล้มเจ้าตลอดช่วงที่ผ่านมา หรือนี่คือมาตรฐานของสนข.บีบีซี
ที่แปลกใจมากตรงที่ไปสัมภาษณ์นายกสมาคมผุ้สื่อข่าว เพื่ออ้างความชอบธรรมในการไม่ต้องเปิดเผยรายชื่อคนเขียน โดยอ้างเหตุในเรื่องความปลอดภัย น่าสมเพชที่BBC ต้องดิ้นรนหาตัวช่วยมาจากที่อื่น เพื่อมาปกป้องในสิ่งที่ได้กระทำไป บทความลักษณะเยี่ยงนี้ หากไม่ใช่สื่อเอียงข้าง จะมีสนข.ไหนกล้านำตีพิมพ์โดยไม่ระบุชื่อคนเขียน
การนำเสนอข่าวสารรอบด้านเป็นเรื่องปกติของคนทำสื่อ สังคมคนอ่านจะเป็นคนตัดสินความน่าเชื่อถือของข่าวชิ้นนั้นๆ แต่การนำเสนอด้านเดียวในบทความช้ินดังกล่าว ทำให้ต้องตั้งข้อสงสัยถึงวาระซ่อนเร้นที่มีตลอดช่วงที่ผ่านมา น่าสมเพชสุดๆ”
เหตุผลที่เขียนเรื่องนี้ก็คือ ขณะนี้ความน่าเชื่อถือของการรายงานข่าวหรือบทความเกี่ยวกับเมืองไทยของบีบีซีไทยถูกโจมตีอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อองค์กรของบีบีซีทั้งหมดด้วยซึ่งบีบีซีใหญ่ทั้งหมดคงไม่ต้องการเช่นนั้น ชื่อเสียงของวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทยในอดีตเป็นที่ยอมรับและนับถือในคุณภาพของรายการมาตลอด แต่ขณะนี้บีบีซีไทยเฟซบ๊ค ที่ตั้งขึ้นหลังจากการยึดอำนาจในเมืองไทยเมื่อปีที่แล้วกำลังทำผิดวัตถุประสงค์ของการเปิดเพช เฟซบุ๊คเพื่อให้คนไทยได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและเที่ยวตรงหรือไม่ BBC World Service นั้นมีเป้าหมายหลักที่จะให้ประชาชนในประเทศนั้นๆได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แต่บีบีซีไทย เฟซบุ๊ค กำลังบิดเบือนเป้าหมายนี้หรือเปล่า
ความถูกต้องของข่าวหรือบทความเป็นหัวใจของคนทำงานในวิชาชีพนี้
บีบีซีไทยอาจจะไม่สนใจหรือใส่ใจกับคำวิจารณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ขอนำเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้บริหารบีบีซีทั้งหมดต้องลาออกเพราะไม่ไตร่สวนให้ชัดเจนและปกป้องผู้สื่อข่าวของตนเช่นในกรณีที่ นาย Greg Dyke, Director General, ผู้อำนวยการใหญ่และ Broad of Governors (BBC Trust) คณะผู้บริหารบีบีซี ต้องลาออกทั้งหมดในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ หลังจากที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากรายงานที่เรียกว่า the Hutton Inquiry และรัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นยืนยันให้บีบีซีเปิดเผยแหล่งข่าวของตนหลังจากผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานผิดพลาด
ถ้ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ยืนยันให้บีบีซีไทย ชี้แจงที่มาที่ไปของบทความและความถูกต้องแล้วบีบีซีไทยและคณะผู้บริหารบีบีซีทั้งหมดจะทำเช่นไร
ภาพการ์ตูนประกอบของ ชัย ราชวัตร
อ่านประกอบ :
ให้ สนง.ใหญ่แจง! “บีบีซีไทย”ยังไม่เคลียร์ปมอ้างจัดฉาก“บิ๊กตู่”จับมือ“โอบาม่า”
ผอ.ไทยพีบีเอสยัน กองบก.บีบีซีไทยต้องตอบใช้มาตรฐานอะไรนำเสนอข่าว
บีบีซีไทย ปกปิดแหล่งข่าวหรือเต้าข่าว?
แหล่งข่าวที่ไม่ระบุชื่อของบีบีซีไทย