เปิดไทม์ไลน์คดีบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ก่อนครม.มีมติจ่ายซ้ำ 'ค่าโง่' 9.6 พันล.
ผู้ที่ติดตามมหากาพย์ทุจริตโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียคลองด่านมาอย่างยาวนาน ต่างออกมาแสดงความผิดหวังกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่เห็นชอบให้สำนักงบประมาณเบิกจ่ายงบประมาณรวมเป็นเงินกว่า 9.6 พันล้านบาท เพื่อชำระค่าเสียหายแก่บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ตำบลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยแบ่งการชำระเงินออกเป็น 3 งวด (อ่านประกอบ:ภาคปชช.ค้านรัฐจ่ายซ้ำ ค่าโง่คลองด่าน 9.6 พันล. ชี้เอกชนมีส่วนก่อความเสียหาย ,องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน หวั่นภาระคนไทยจ่ายค่าโง่คดีคลองด่านอีก 9 พันล.)
ขณะที่การบำบัดน้ำเสียให้ประชาชนยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับคดีค่าโง่คลองด่าน หนึ่งในองค์กรภาคประชาสังคมที่เฝ้าติดตาม มูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้มีรวบรวมการสู้คดีนี้ โดยลำดับช่วงเวลาไว้อย่างน่าสนใจ ไล่ตั้งแต่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบสัญญาเป็นโมฆะ
|
24 ก.พ. 2546 กระทรวงทรัพย์ฯ สั่งหยุดการก่อสร้างโครงการ
28 ก.พ. 2546 กรมควบคุมมลพิษ แจ้งผู้รับเหมา สัญญาเป็นโมฆะ
คณะกรรมการตรวจสอบและสอบสวนการทุจริต
16 ม.ค. 2546 กระทรวงทรัพย์ ฯ มีคำสั่งที่ 10/2546 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่ว่ามีการกล่าวหาว่า มีการทุจริตและกระทำผิดกฎหมายในโครงการ ฯ โดยมีพลตำรวจโท นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ เป็นประธานกรรมการฯ
17 มี.ค. 2546 รายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการฯ เห็นว่า จากข้อมูลและหลักฐานน่าเชื่อว่า มีการกระทำความผิดอาญาฐานร่วมกันฉ้อโกงเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินของโครงการฯ คณะกรรมการจึงเสนอความเห็นให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
18 มี.ค. 2546 คพ. แจ้งความร้องทุกข์พนักงานสอบสวน กองปราบปรามให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ในการจัดซื้อที่ดินในโครงการฯ ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซื้อขายที่ดิน ตามความเห็นของคณะกรรมการฯ
การตรวจสอบและสอบสวนการทุจริต
1.การดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนการทุจริต โดย คณะกรรมการตรวจสอบและสอบสวนกรณีการทุจริตโครงการ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 95/2546 ลงวันที่ 3 เมษายน 2546 และเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 232/2546 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546
2.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การทุจริตโครงการผลการตรวจสอบและสอบสวนการทุจริตโดยคณะกรรมการตรวจสอบและสอบสวนกรณีการทุจริตโครงการ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 95/2546 ลงวันที่ 3 เมษายน 2546 และเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 232/2546
ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546
สรุป ผลการตรวจสอบและสอบสวน
กรณีทุจริตเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน คณะกรรมการฯ และพนักงานสอบสวน ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สรุปสำนวนการสอบสวนการกระทำผิดของผู้เกี่ยวข้องในการออกโฉนดที่ดิน โดยมิชอบรายงานเลขาธิการคณะกรรมการปปช. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0001(ปป31)/502 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546
กลุ่มข้าราชการการเมือง
การกระทำของนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ทำให้รัฐเสียหาย อันเป็นการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
สำหรับนายวัฒนา อัศวเหม มีพฤติการณ์เข้าข่ายสนับสนุนเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ประกอบมาตรา 157 เห็นควรส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
กลุ่มข้าราชการการเมือง
1.นายวัฒนา อัศวเหม สรุปว่า พฤติกรรมและการกระทำเป็นการสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้รัฐได้รับความเสียหายเรื่องที่ดินเป็นเงินประมาณ 1,900 ล้านบาท
2.นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ สรุปว่า ขณะดำรงตำแหน่งได้ดำเนินการโดยใช้อำนาจหน้าที่ของตน อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับเหมา โดยเป็นผู้เสนอเพิ่มวงเงินงบประมาณให้สูงขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการก่อสร้าง และเป็นผู้ลงนามอนุมัติจัดจ้างโครงการจัดการน้ำเสียในแบบการก่อสร้างระบบบำบัดเพียงแห่งเดียวที่ฝั่งตะวันออกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2540
3.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ สรุปว่า ขณะดำรงตำแหน่งได้ใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้ริเริ่มผลักดันโครงการ ให้เปลี่ยนแปลงไปจากมติคณะรัฐมนตรีเดิมโดยเอาแผนงานโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย มารวมกันแล้วดำเนินการให้มีการก่อสร้างแบบจ้างเหมารวมและให้ผู้ก่อสร้างเป็นผู้จัดซื้อที่ดิน เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ในการจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการฯ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาสามารถเสนอที่ดินของบริษัทคลองด่านมารีน สำหรับใช้ในการโครงการจัดการน้ำ
กลุ่มข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
กลุ่มข้าราชการประกอบด้วย นายปกิต กิระวานิช นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ นางยุวรี อินนา กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และคณะกรรมการตรวจจ้าง ที่ตรวจรับที่ดิน ได้ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 157 เห็นควรส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการ ปปช. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เช่นเดียวกัน
กลุ่มเอกชนผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน
กลุ่มเอกชนผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานประกอบด้วย บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์พิชเชอร์รี่ จำกัด บริษัท ปาล์มบีช ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด และกลุ่มกิจการร่วมค้า มีหลักฐานน่าเชื่อว่า ร่วมกระทำผิดเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานเจ้าพนักงานให้กระทำความผิด อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 มาตรา 157 โดยเป็นการร่วมกระทำผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในการตรวจสอบและสอบสวน คณะกรรมการ ฯ ได้ประสานงานกับพนักงานอัยการ
ฝ่ายคดีอาญา ฝ่ายคดีแพ่ง อนุญาโตตุลาการ และคณะกรรมการ ปปช. และพนักงานสอบสวนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควบคู่กันไปเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ผลการตรวจสอบและสอบสวนการทุจริต โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 1 วันที่ 14 มิถุนายน 2550 ครั้งที่ 2 วันที่ 8 ธันวาคม 2554 ผลตรวจสอบและสอบสวนการทุจริตโครงการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ วันที่ 14 มิถุนายน 2550
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติชี้มูลความผิดทางวินัยและทางอาญา
นายวัฒนา อัศวเหม มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนในหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 84
อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มูลความผิดทางวินัยและทางอาญาเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่กรมการปกครองประกอบด้วย นายสมมาตร ดลมินทร์, นายชวณัฐ โฉมจังหวัด, นายอริยะ สุกวรรณรัตน์, นายพรชัย ดิสกุล, นายคมชิต วิชญะเดชา, นายวิชัย ฉ่างทองคำ, นายเกียงศักดิ์ ตัณฑะตะนัย, นายณรงค์ ยอดศิรจินดา
อัยการสูงสุดฟ้องคดีอาญา และฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติชี้มูลความผิดทางวินัยร้ายแรงเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ประกอบด้วย นายไพศาล กาญจนประพันธ์, นายสมชัย แตงอ่อน, นายวีระวงศ์ สุวรรณวณิช
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้
- ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย
- และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
-และให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15565 ที่ออกโดยมิชอบ ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และให้เพิ่มเติมเงื่อนไขในการเพิกถอนโฉนดที่ดิน จำนวน 4 แปลงที่กรมที่ดินได้เพิกถอนไปแล้ว ว่าเป็นการออกในพื้นที่สงวนหวงห้าม “ที่เทขยะมูลฝอย” อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ของแผ่นดินโยเฉพาะด้วย
รายละเอียดที่ดินที่ออกโฉนดทั้งหมด 5 แปลง ประกอบด้วย โฉนดเลขที่ 13150, 13817, 15024, 15528 และ 15565 รวมเนื้อที่ประมาณ 1,700 ไร่
3 มี.ค.2547 อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินจำนวน 4 ฉบับ คือ โฉนดที่ดินเลขที่ 13150,13817,15024 และ 15528 เนื่องจากมีการออกโฉนดที่ดินทับคลองสาธารณประโยชน์ และมีการนำหลักฐานสำหรับที่ดินแปลงอื่นมาอ้างออกโฉนดที่ดินอันเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย
ความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15565 ที่ออกโดยมิชอบ ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และให้เพิ่มเติมเงื่อนไขในการเพิกถอนโฉนดที่ดิน จำนวน 4 แปลงที่กรมที่ดินได้เพิกถอนไปแล้ว ว่าเป็นการออกในพื้นที่สงวนหวงห้าม “ที่เทขยะมูลฝอย” อันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ของแผ่นดินโยเฉพาะด้วย
กรณีข้าราชการกรมที่ดิน
คดีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
1) คดีหมายเลขดำที่ อม.2/2550 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายวัฒนา อัศวเหม
2) คดีหมายเลขดำที่ อม.18/2551 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายชวณัฐ หรือสุขุม โฉมจังหวัด นายอริยะ สุกวรรณรัตน์, นายพรชัย ดิสกุล, นายศุภโชค หรือวิชัย ฉ่างทองคำ, นายเกรียงศักดิ์ ตัณฑะตะนัย, นายณรงค์ ยอดศิรจินดา
3) คดีหมายเลขดำที่ อม.19/2551 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายสมมาตร ดลมินทร์
4) คดีหมายเลขดำที่ อม.20/2551 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายคมชิต วิชญะเดชา
คดีนายวัฒนา อัศวเหม
1) คดีหมายเลขดำที่ อม.2/2550 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายวัฒนา อัศวเหม คดีหมายเลขแดงที่ อม.2/2551 วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี ริบพระเครื่องผงสุพรรณเลื่ยมทองคำจำนวน 1 องค์ ของกลาง
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 255 จำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา คดีความผิดทางวินัยและทางอาญาเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง
2)คดีหมายเลขดำที่ อม.18/2551 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายชวณัฐ, หรือสุขุม โฉมจังหวัด,นายอริยะ สุกวรรณรัตน์, นายพรชัย ดิสกุล, นายศุภโชค หรือวิชัย ฉ่างทองคำ, นายเกรียงศักดิ์ ตัณฑะตะนัย, และ นายณรงค์ ยอดศิรจินดา
พิพากษายกฟ้อง คดีหมายเลขแดงที่ อม.11/2552 วันที่ 9 กันยายน 2552 องค์คณะผู้พิพากษา จึงมีมติเป็น เอกฉันท์ว่า คดีโจทก์สำหรับจำเลยทั้งหกขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2)
3)คดีหมายเลขดำที่ อม.19/2551 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายสมมาตร ดลมินทร์
พิพากษายกฟ้อง คดีหมายเลขแดงที่ อม.12/2552 วันที่ 9 กันยายน 2552 องค์คณะผู้พิพากษา จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า แม้โจทก์ฟ้องจำเลย ภายในกำหนดอายุความ แต่เมื่อยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาลจนล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 ปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 18 วรรคสอง
4)คดีหมายเลขดำที่ อม.20/2551 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ฟ้องนายคมชิต วิชญะเดชา
พิพากษายกฟ้อง คดีหมายเลขแดงที่ อม.13/2552 วันที่ 9 กันยายน 2552 องค์คณะผู้พิพากษา จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าแม้โจทก์ฟ้องจำเลยภายในกำหนดอายุความ แต่เมื่อยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาลจนล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 ปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 18 วรรคสอง
ผลการตรวจสอบและสอบสวนการทุจริต โดย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
กรณีข้าราชการกรมควบคุมมลพิษ ครั้งที่ 2 วันที่ 8 ธันวาคม 2554 กลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3 คน
พฤติการณ์ของ นายวัฒนา อัศวเหม มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใน หรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 157 แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างหลบหนีหมายจับ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ อม.2/2552 คณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามระเบียบต่อไป
พฤติการณ์ของ นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา ทรัพย์ใดๆ ได้กระทำการทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 แต่เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหา ได้ถึงแก่ความตายแล้ว เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(1) คณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภคณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ข้อกล่าวหาตกไป
กลุ่มข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ
นายปกิต กิระวานิช, นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูณ์, นางนิศากร โฆษิตรัตน์, นางยุวรี อินนา การกระทำของทั้ง 4 คนมีมูลเป็นความผิดทางวินัยร้ายแรง และมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ได้กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 แต่ทั้งนี้สำหรับนายปกิต ได้พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่จะมีการกล่าวหาร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการป.ป.ช. จึงไม่อาจส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการพิจารณาโทษทางวินัยต่อไปได้
คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1)ส่งรายงานและเอกสาร พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยแก่ ข้าราชการ 11 คน ตามฐานความผิดวินัยไม่ร้ายแรง 8 คน และมีความผิดทางวินัยร้ายแรง 3 คน ประกอบด้วย นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์, นางนิศากร โฆษิตรัตน์, นางยุวรี อินนา ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92
2)ส่งรายงาน เอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ นายปกิต กิระวานิช, นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูณ์, นางนิศากร โฆษิตรัตน์, นางยุวรี อินนา ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97
คดีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีข้าราชการกรมควบคุมมลพิษ ไม่เคยมีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น
คำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 112/2557 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำสั่งลงวันที่ 10 เมษายน 2557
1)นายปกิต กิระวานิช ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ เป็นจำนวนเงิน 6,558,019,772.56 บาท ( หกพันห้าร้อยห้าสิบแปดล้านหนึ่งหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสองบาทห้าสิบหกสตางค์ ) และเป็นเงินเหรียญสหรัฐจำนวน 48,537,554.88 เหรียญ (สี่สิบแปดล้านห้าแสนสามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยห้าสิบสี่เหรียญสหรัฐ)
2) นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ เป็นจำนวนเงิน 4,840,169,829.42 บาท ( สี่พันแปดร้อยสี่สิบล้านหนึ่งแสนหกหมื่นเก้าพันแปดร้อยยี่สิบเก้าบาทสี่สิบสองสตางค์ ) และเป็นเงินเหรียญสหรัฐจำนวน 36,403,166.16 เหรียญ (สามสิบหกล้านสี่แสนสามพันหนึ่งร้อยหกสิบหกเหรียญสหรัฐ)
3)นางยุวรี อินนา ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ เป็นจำนวนเงิน 3,772,324,857.85 บาท ( สามพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสองล้านสามแสนสองหมื่นสี่พันแปดร้อยห้าสิบเจ็ดบาทแปดสิบห้าสตางค์ ) และเป็นเงินเหรียญสหรัฐจำนวน 30,335,971.80 เหรียญ (สามสิบล้านสามแสนสามหมื่นห้าพันเก้าร้อยเจ็ดสิบเอ็ดเหรียญสหรัฐ)
คำสั่งกรมควบคุมมลพิษ รายละเอียดที่ 117/2557 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ลงวันที่ 18 เมษายน 2557
นายปกิต กิระวานิช ในฐานะอธิบดี รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 20 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 3,040,109,951.60 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 24,268,777.438 เหรียญ
นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ในฐานะรองอธิบดี รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 10 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 1,520,054,975.80 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 12,134,388.719 เหรียญ
นางยุวรี อินนา ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 10 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 1,520,054,975.80 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 12,134,388.719 เหรียญ
คำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 118/2557 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ลงวันที่ 18 เมษายน 2557
นายวัฒนา อัศวเหม รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 30 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 4,560,164,927.40 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 36,403,166.157 เหรียญ
คำสั่งกรมควบคุมมลพิษที่ 120/2557 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ลงวันที่ 18 เมษายน 2557
นายณรงค์ ยอดศิรจินดา รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 5 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 760,027,487.90 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 6,067,194.359 เหรียญ
นายชะเอม ปู่มิ้ม รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 5 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 760,027,487.90 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 6,067,194.359 เหรียญ
นายบุญลือ โพธิ์อรุณ รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 5 ของความเสียหาย จำนวน 15,200,549,758 บาท และ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 760,027,487.90 บาทและเป็นเงินเหรียญสหรัฐ 6,067,194.359 เหรียญ
คำสั่งกรมควบคุมมลพิษ ที่ 121/2557 เรื่อง ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ลงวันที่ 18 เมษายน 2557 เจ้าพนักงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดิน ปรากฏตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขคดีดำที่ อม.2/2550 คดีหมายเลขคดีแดงที่ อม.2/2551 ดังนี้
•นายสมมาตร ดลมินทร์ เจ้าพนักงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี
• นายชวณัฐ โฉมจังหวัด ตำแหน่งช่างรังวัด 6 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายรังวัด
•นายอริยะ สุกวรรณรัตน์ ตำแหน่งช่างรังวัด 5 ทำหน้าที่หัวหน้างานรังวัด
•นายพรชัย ดิสกุล ตำแหน่งช่างรังวัด 4
•นายคมชิต วิชญะเดชา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน 6 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายทะเบียน
•นายวิชัย ฉ่างทองคำ ตำแหน่งนักวิชาการที่ดิน 5 ทำหน้าที่หัวหน้างานหนังสือสำคัญ สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ
•นายเกรียงศักดิ์ ตัณฑะตะนัย ตำแหน่งปลัดอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
นายณรงค์ ยอดศิรจินดา ตำแหน่งกำนันตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ให้เจ้าพนักงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดินรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนในอัตรา ร้อยละ 20 ของความเสียหาย จำนวน 912,000,000 บาท คิดเป็นเงินจำนวน 182,400,000 บาท โดยให้รับผิดคนละส่วนเท่าๆ กัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงมีคำสั่งให้ท่านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กรมควบคุมมลพิษ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ทั้งนี้ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว กรมควบคุมมลพิษมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา 57 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539
อนึ่ง หากท่านประสงค์จะอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งนี้ได้ ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนี้ โดยทำเป็นหนังสือระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย ตามนัยมาตรา 44 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 และสามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
คดีความ เอกชน – กรมควบคุมมลพิษ
คดีความโครงการคลองด่านที่ฟ้องแล้ว
5 ก.ย. 2546 คดีสถาบันอนุญาโตตุลาการ (ข้อพิพาทหมายเลข 50/2546) ผู้รับเหมาเรียกร้อง คพ. ชดใช้เงินค่าจ้างและค่าเสียหาย ประมาณ 6,200 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย
13 ม.ค. 2547 คดีอาญาศาลแขวงดุสิต (คดีหมายเลข 254/2547) คพ. ฟ้องผู้รับเหมา และเอกชนผู้ขายที่ดิน รวม 19 ราย ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงให้ คพ. ซื้อที่ดินและจัดทำสัญญาโครงการ
14 ม.ค. 2547คดีศาลแพ่งกรุงเทพใต้ฯ (คดีหมายเลขที่ 164/2547) ผู้รับเหมาร้องขอให้ศาลออกหมายคุ้มครองชั่วคราว ห้าม คพ. เรียกร้องเงินจากธนาคาร 5 แห่ง ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำนวนประมาณ 3,000 ล้านบาท และห้ามธนาคารจ่ายเงินให้ คพ.
12 ก.พ. 2547 คดีศาลแพ่ง (คดีหมายเลข 606/2547) คพ. ฟ้องธนาคารผู้ค้ำประกัน 5 แห่ง ให้เรียกชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจำนวน 3,000 ล้านบาท
20 ก.พ. 2547 คดีศาลแพ่ง (คดีหมายเลข 732/2547) คพ. ฟ้องผู้รับเหมา เรียกเงินค่าจ้างและค่าบริการคืนทั้งหมดกว่า 20,000 ล้านบาท
-----------2547คดีศาลแพ่ง (คดีหมายเลข 1676/2547) ผู้รับเหมาร้องให้ศาลแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ให้ คพ.
คดีความโครงการคลองด่านที่ฟ้องแล้วอนุญาโตตุลาการ
คดีสถาบันอนุญาโตตุลาการ (ข้อพิพาทหมายเลข 50/2546) 5 ก.ย. 46 ผู้รับเหมาเรียกร้อง คพ. ชดใช้เงินค่าจ้างและค่าเสียหาย ประมาณ 6,200 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย
คดีศาลแพ่ง (คดีหมายเลข 732/2547) 20 ก.พ. 47 คพ. ฟ้องผู้รับเหมา เรียกเงินค่าจ้างและค่าบริการคืนทั้งหมดกว่า 20,000 ล้านบาท
คดีศาลแพ่ง (คดีหมายเลข 1676/2547) ผู้รับเหมาร้องให้ศาลแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้ คพ.
คดีอนุญาโตตุลาการ และ คดีศาลอาญา
5 ก.ย. 2546 คดีสถาบันอนุญาโตตุลาการ (ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 50/2546, ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 2/2554) ผู้รับเหมาเรียกร้อง คพ. ชดใช้เงินค่าจ้างและค่าเสียหาย ประมาณ 6,200 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย
13 ม.ค. 2547 คดีอาญาศาลแขวงดุสิต (คดีหมายเลข 254/2547) คพ. ฟ้องผู้รับเหมา และเอกชนผู้ขายที่ดิน รวม 19 ราย ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงให้ คพ. ซื้อที่ดินและจัดทำสัญญาโครงการ
ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 ให้ประทับรับฟ้อง จำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
12 พ.ย. 2552 คดีอาญาศาลแขวงดุสิต (คดีหมายเลขแดงที่ 3501/2552) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 ลงโทษจำเลยที่ 2, 4, 6, 8, 10, 12 และ 16 ปรับคนละ 6,000 บาท ลงโทษจำเลยที่ 3, 5, 7, 9, 11, 13, 14, 15, 17, 18 และ 19 จำคุกคนละ 3 ปี
หากจำเลยที่ 2, 4, 6, 8, 10, 12 และ 16 ไม่ชำระค่าปรับให้ยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
5 ต.ค. 2553 ศาลอุทธรณ์ คดีอาญาศาลแขวงดุสิต (คดีหมายเลขดำที่ 2794/2553) ศาลอุทธรณ์รับ อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 2 - 19 อุทธรณ์คำพิพากษา ศาลแขวงดุสิตลงวันที่ 12 พ.ย. 52
12 ม.ค. 2554 คณะอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาข้อพิพาทเรื่องนี้ มีคำชี้ขาด ให้ผู้คัดค้านชำระเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยตามข้อเรียกร้องเป็นเงิน 4,983,342,383 บาท 31,035,780 เหรียญสหรัฐให้แก่ผู้เรียกร้องพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงิน 4,424,099,982 บาท และของเงิน 26,434,636 เหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่วันที่ 28 กพ. 46 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จและคืนหนังสือค้ำประกันพร้อมค่าธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมแทนผู้เรียกเป็นเงิน 6,000,000 บาท จนกว่าจะคืนหนังสือค้ำประกันให้ผู้เรียกร้อง ข้อเรียกร้องนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกข้อเรียกร้องแย้ง
9 พ.ย. 2555 ศาลปกครองกลาง คดีอนุญาโตตุลาการ ได้ตัดสินคดีที่ คพ.ยื่นคำร้องอนุญาโตตุลาการมีคำสั่ง ให้กรมควบคุมมลพิษ ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า โดยศาลปกครองกลางมีมติ 2 ต่อ 1 ให้ยื่นคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ได้ชี้ขาด โดยเห็นว่าคำสั่งของอนุญาโตตุลาการเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว คำสั่งดังกล่าวมีผลให้กรมควบคุมมลพิษต้องจ่ายค่าเสียหายให้เอกชน 9,000 ล้านบาท
19 ก.ค. 2556 คำพิพากษา คดีอาญาศาลแขวงดุสิต (คดีหมายเลขแดงที่ 14544/2556) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ - พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
4 ธ.ค. 2556 ศาลฎีกา คดีอาญาศาลแขวงดุสิต คพ.ยื่นฎีกา
10 ตค. 2557 ศาลปกครองสูงสุด คดีอนุญาโตตุลาการ ได้ตัดสินคดีที่ คพ.ยื่นคำอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่ง พิพากษายืนตามคำ พิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งในชั้นศาลปกครองชั้นต้นและในชั้นอุทธรณ์ซึ่งชำระไว้เกินให้แก่ผู้คัดค้านเป็นเงิน 5,484,918 บาท