สังคมก้มหน้า! เปิดผลสำรวจความคิดเห็น เสพติดสมาร์ทโฟน ชีวิตหายไป 6.2 ปี
เปิดผลสำรวจความคิดเห็น พบเฉลี่ยคนไทยใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟนเกือบ 4 ชม./วัน ทำชีวิตหายไป 6.2 ปี ดร.ดวงตา หวั่นพฤติกรรมเสพติด เร่งขึ้นทุกวัน ความรุนแรงซ่อนตัว
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ดร.ดวงตา ปาวา นักแปลอิสระ กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีและธุรกิจที่ทำให้เราเสพติด ในงานสัมมนาเรื่อง "การเสพติดย้อนอดีตสู่อนาคต: ปัญหาและทางออก" (Back to the Future of Addiction:Problems and Solutions" ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพ จัดโดยสำนักกิจการในพระราชดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ร่วมกับศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต (ป.ป.ส.)
ดร.ดวงตา ได้กล่าวถึงผลการสำรวจความคิดเห็นที่พบว่า คนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลากับสมาร์ทโฟนมากกว่าวันละ 3.50 ชั่วโมง และเมื่อถามว่า หากให้คุณมีอายุไปอีก 40 ปีข้างหน้า คิดว่า เราจะหมดเวลาไปกับการใช้งานสมาร์ทโฟนไปทั้งหมดกี่ปี
"ผลการสำรวจพบว่า หากเราใช้งานสมาร์ทโฟนวันละเกือบ 4 ชั่วโมง ชีวิตเราจะหายไปจากการก้มหน้า 6.2 ปี"
ขณะเดียวกันการสำรวจความคิดเห็น ยังพบคนทั่วโลกเสพติดสมาร์ทโฟนมากกว่า 280 ล้านคน โดยประชากรมีขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศอินเดีย จีน สหรัฐฯ กว่าครึ่งของคนที่ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า พวกเขาต้องเข้าโซเชี่ยลมีเดียชั่วโมงละ 1 ครั้ง มิเช่นนั้นจะรู้สึกสับสน กระวนกระวาย
"สมาร์ทโฟนไม่ใช่แค่ขโมยเวลาไป 6.2 ปีเท่านั้น ยังส่งผลมากกว่านั้นอีก ในชีวิตของเราไป การไม่ได้ใช้ แต่แค่มันอยู่ใกล้ๆ ยังทำให้เราไม่ได้นึกถึงโลกรอบตัวเรา ทำให้นึกถึงแต่สมาร์ทโฟน สังคมออนไลน์"
นักแปลอิสระ ได้ตั้งคำถามว่า นอกจากการเสพติดสมาร์ทโฟนแล้ว ทุกวันนี้คนเสพติดอะไรบ้าง เช่น เสพติดการพนัน เกม ช็อปปิ้ง เพศสัมพันธ์ สื่อลามก ฯลฯ
"ในสภาพแวดล้อมบางสภาพแวดล้อม คนเราสามารถหลายเป็นคนเสพติดได้เช่นกัน"ดร.ดวงตา กล่าว และว่า การเสพติดที่คล้ายคลึงกับการเสพติดสารเสพติด นั่นคือ การเสพติดพฤติกรรม (Behavioral Addictions) ทั้งการใช้โซเชี่ยลมีเดียว การช้อปปิ้ง ติดเหม การพนัน ซึ่งมีความรุนแรงมันซ่อนตัวอยู่ในตัวเรา มองจากภายนอกแทบไม่รู้เลย ใครเสพติดพฤติกรรมอะไรอยู่บ้าง
ดร.ดวงตา กล่าวอีกว่า เบื้องหลังการเสพติดพฤติกรรมเหล่านี้ถูกออกแบบมาอย่างดี จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีการคิดค้น วิจัยด้านพฤติกรรมมนุษย์มาอย่างดี ทำตามกฎพื้นฐานของผู้ค้ายาเสพติดเลยว่า อย่าหลงมัวเมาในผลิตภัณฑ์ของตนเอง
"ทุกวันนี้เราเข้าใจเรื่องการเสพติดมากขึ้น หลังงจากนักเคมีได้คิดค้นยาเสพติดขึ้นมา แต่ปัจจุบันผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟชบุค อีเมล์ ปอพริเคชั่นต่างๆ ล้วนออกแบบมาเพื่อให้เราได้ใช้มัน และไม่ใช่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิก ใช้ซ้ำๆ ทำให้เราเสพติดได้อีก เรากำลังถูกเร่งขึ้นๆ โดยไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นข้างหน้า รู้แต่ว่า อิทธิพลของการเสพติดมันจะช่วยบำบัดความเหงา ความเหินห่าง และความคึกในจิตใจของคนได้"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
องคมนตรี ห่วงสังคมไทยไม่ปรับทัศนคติ มองผู้เสพยา เป็นโรคต้องบำบัดรักษา แทนติดคุก
คาดไทยต้องใช้เวลาอีก 30 ปี แก้ยาเสพติดได้หมดเหมือนรัฐแวนคูเวอร์ แคนนาดา