- Home
- Isranews
- รายงาน-สกู๊ป
- ใช้1.5หมื่นล.แลกเหมืองถ่านหิน! เปิดรายงานตรวจสอบบ.เอิร์ธฯ สัญญาซื้อ3หมื่นล.ล่องหน
ใช้1.5หมื่นล.แลกเหมืองถ่านหิน! เปิดรายงานตรวจสอบบ.เอิร์ธฯ สัญญาซื้อ3หมื่นล.ล่องหน
"... สัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2559 และ 31 ม.ค. 2560 มีจํานวนมาก ผู้บริหารเดิมแจ้งว่า สัญญาบางส่วนถูกยกเลิกแล้วและสัญญาบางส่วนสูญหาย ซึ่งทําให้ผู้ตรวจสอบไม่สามารถอ่านสัญญาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสัญญาตั้งต้นของการทํารายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ผู้ตรวจสอบได้รับเพียงสัญญาส่วนที่จัดทําในช่วงปลายปี2559..."
การที่ผู้บริหารธนาคารกรุงไทยชุดปัจจุบันได้กล่าวโทษร้องทุกข์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ฉ้อโกงธนาคารโดยการปลอมแปลงใบตราส่งสินค้าทางเรือ(Bill of lading-B/L)นำเข้าถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซียของ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัดหรือ เอิร์ธ(EARTH)และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการกู้เงินจากธนาคารกรุงไทยเกือบหมื่นล้านบาท โดยคดีดังกล่าว เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายไทยที่กระทำนอกราชอาณาจักรรวมอยู่ด้วย จึงเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดในการดำเนินคดี และมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างดีเอสไอกับอัยการสูงสุดโดยให้พนักงานอัยการเป็นหัวหน้าคณะเพื่อดำเนินคดีดังกล่าวนั้น (อ่านประกอบ : ฉ้อโกงกรุงไทยหลายพันล.ปลอมใบขนถ่านหิน บ.เอิร์ธกู้เงิน-แจ้งดีเอสไอลุยสอบ)
สะท้อนให้เห็นความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของบริษัทเอิร์ธว่า มีมากน้อยแค่ไหน
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)มีคําสั่งให้บริษัท เอิร์ธ จัดให้มีการตรวจสอบบัญชีเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit)เกี่ยวกับการทํารายการในส่วนของบัญชีเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า(ถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซีย )วันที่ 31 ธ.ค. 2559 และ 31 มี.ค. 2560 มูลค่ากว่า 31,000 ล้านบาท โดย สํานักงาน อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรีเซอร์วิสเซส จํากัดซึ่ง ทางสำนักงาน อีวายฯได้ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว และนำส่งผลตรวจสอบให้แก่สำนักงาน ก.ล.ต.เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สำนักงานอีวายฯได้ตรวจสอบบัญชีเป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2559 จำนวน 420 ล้านเหรียญ(ประมาณ 15,052 ล้านบาท) และวันที่ 31 มี.ค. 2560 จำนวน 466 ล้านเหรียญ(ประมาณ 16,069 ล้านบาท) พบข้อสังเกตที่สําคัญจากการปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษดังนี้
- สัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ณ วันที่ 31 ธ.ค.2559 และ 31 มี.ค. 2560 มีจํานวนมาก ผู้บริหารเดิมแจ้งว่า สัญญาบางส่วนถูกยกเลิกแล้วและสัญญาบางส่วนสูญหาย ซึ่งทําให้ผู้ตรวจสอบไม่สามารถอ่านสัญญาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสัญญาตั้งต้นของการทํารายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ผู้ตรวจสอบได้รับเพียงสัญญาส่วนที่จัดทําในช่วงปลายปี2559
- ผู้ตรวจสอบไม่ได้รับเอกสารประกอบรายการเคลื่อนไหวของรายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าทั้งหมดที่TTP(บริษัทย่อยเดิมของเอิร์ธ) จ่ายให้กับหรือตัดจําหน่ายจากการได้รับสินค้าจากสัญญาในประเทศอินโดนีเซียในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2558 ถึง 31 มี.ค. 2560 โดยได้รับคําอธิบายจากผู้บริหารเดิมของเอิร์ธว่า เอกสารดังกล่าวถูกจัดเก็บที่สํานักงานของ TTPL ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบัน TTPLได้ถูกโอนให้กับบุคคลภายนอกแล้วจากการแลกเปลี่ยยนเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า (รวมกับสินทรัพย์อื่นของกลุ่มกิจการ) กับการถือหุ้นในบริษัทสองแห่งซึ่งส่งผลให้กลุ่มกิจการ(เอิร์ธ)ได้มาซึ่งสิทธิในปริมาณสํารองถ่านหินในเหมืองถ่านหินจํานวนสองแห่ง(ในอินโดนีเซีย)
- ผู้ตรวจสอบได้รับการชี้แจงจากผู้บริหารเดิมว่า ในการคัดเลือกคู่สัญญาเหมืองที่กลุ่มกิจการจะเข้าทําสัญญา Coal Advance Purchase Agreements(การจ่ายเงินล่วงหน้าค่าถ่านหิน) และ Coal Offtake Agreements(สัญญารับซื้อถ่านหิน) กลุ่มกิจการจะเลือกคู่สัญญาที่เป็นคู่ค้าที่กลุ่มกิจการมีความมั่นใจในการทําธุรกิจร่วมกัน เนื่องจากข้อกําหนดการวางเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าตามสัญญาข้างต้นมีจํานวนเงินสูง
โดยผู้ตรวจสอบได้รับการชี้แจงจากผู้บริหารเดิมว่า นื่องจากการเข้าทําสัญญาดังกล่าวกับคู่ค้าถือเป็นการทําการค้าปกติของกลุ่มกิจการ ดังนั้นผู้บริหารเดิมจึงมิได้กําหนดรูปแบบการอนุมัติรายการดังกล่าวผ่านมติที่ประชุมใดๆเช่น ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่ประชุมคณะกรรมการ หรือที่ประชุมผู้บริหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการอ่านสัญญาที่ผู้บริหารเดิมจัดหาให้ ผู้ตรวจสอบพบลายเซ็นของผู้บริหารเดิมซึ่งเป็นผู้มีอํานาจลงนามในสัญญาดังกล่าว
- ผู้ตรวจสอบไม่ได้รับรายงานการสํารวจเหมืองถ่านหิน (JORC Report) ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าซึ่งรายงานดังกล่าวจะเป็นรายงานที่ระบุถึงปริมาณสํารองถ่านหินในเหมืองถ่านหินเพื่อให้แน่ใจว่าคู่สัญญาจะมีปริมาณถ่านหินสํารองเพียงพอก่อนที่กลุ่มกิจการจะเข้าทําสัญญาการวางเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้ากับคู่สัญญา แต่มิได้แสดงถึงสิทธิความเป็นเจ้าของ
- จากเหตุการณ์ในปัจจุบันที่กลุ่มกิจการได้ทําการแลกเปลี่ยนเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า (รวมกับสินทรัพย์อื่นองกลุ่มกิจการ) กับการถือหุ้นในบริษัทสองแห่งซึ่งส่งผลให้กลุ่มกิจการได้มาซึ่งสิทธิในปริมาณสํารองถ่านหินในเหมืองถ่านหินจํานวนสองแห่ง ทําให้ผู้ตรวจสอบไม่สามารถเข้าเยี่ยมพบปะคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้รับเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าที่สถานที่ทําการของคู่สัญญาได้
- ตามที่บริษัท เอิร์ธฯได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ17 เรื่องเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าในงบการเงินสําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2559 และในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 15เรื่อง เงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าในงบการเงินสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2560 ว่า เงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าเป็นเงินจองที่กลุ่มกิจการชําระเงินให้แก่คู่สัญญาเพื่อให้ได้สิทธิในการซื้อถ่านหินในอนาคตเป็ นเวลา 15 ปี ตามสัญญา อย่างไรก็ตาม ในสัญญาเงินจองสิทธิค่าซื้อสินค้าแต่ละฉบับที่ผู้ตรวจสอบได้รับระบุอายุสัญญาเพียง 5 ปี
สำหรับการตรวจสอบประเด็นอื่นๆที่ผู้ตรวจสอบเห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ผู้บริหารเดิมอ้างว่า ได้ตัดสินใจเจรจากับคู่สัญญาซึ่งป็นผู้รับเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าจํานวนสองรายในประเทศอินโดนีเซียเพื่อทําการแลกเปลี่ยนเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า (รวมกับสินทรัพย์อื่นของกลุ่มกิจการ)กับการถือหุ้นในบริษัทสองแห่งซึ่งส่งผลให้กลุ่มกิจการได้มาซึ่งสิทธิในปริมาณสํารองถ่านหินในเหมืองถ่านหินจํานวนสองแห่ง การแลกเปลี่ยนดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังวันที่ 31 มี.ค. 2560
กล่าวคือ ภายหลังจากการถือหุ้นในบริษัทสองแห่งที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวในช่วงเดือน ก.ค. และเดือน ก.ย. 2560 กลุ่มกิจการได้เข้าทําสัญญากับคู่สัญญาสองรายในประเทศอินโดนีเซียเพื่อนําเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าจํานวนรวม210 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (ประมาณ 7,036 ล้านบาท)และเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าจํานวนรวม 225 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (ประมาณ 7,487 ล้านบาท)รวมถึงสินทรัพย์อื่นๆของบริษัทย่อยตามที่ระบุในสัญญา(ประมาณ 15,000 ล้านบาท-สำนักข่าวอิศรา)เพื่อแลกเปลี่ยนกับปริมาณสํารองถ่านหินในเหมืองถ่านหินจํานวนสองเหมืองในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) PT. EMAS HITAM MULIA (“EHM”)ตามสัญญา Coal Reserve Purchase Agreementลงวันที่26 ก.ค. 2560 คู่สัญญาได้ให้สิทธิแก่ EEHK ในการซื้อถ่านหินจาก EHM ตามปริมาณสํารองถ่านหินภายในเหมืองทั้งหมดจํานวน 110 ล้านตัน (อ้างอิงตาม JORC Report ซึ่งจัดทําในเดือนเม.ย. 2559ปรับปรุงในเดือนพ.ค. 2560)ที่ราคา 3.8 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อตัน (ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ EEHK(บริษัทย่อยของเอิร์ธ)และคู่สัญญาได้ตกลงกันโดยอ้างอิงจากช่วงของมูลค่าการประเมินตามรายงานการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งจัดทําโดยบริษัทที่ปรึกษาการเงินอิสระแห่งหนึ่งในประเทศไทยตามรายงานลงวันที่ 24 ก.ค. 2560 ซึ่งกําหนดมูลค่าประเมินไว้ที่ 3.00 - 4.40 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อตัน) คิดเป็นมูลค่าของปริมาณสํารองถ่านหินภายในเหมืองจํานวน 418 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดย EEHK ตกลงที่จะจ่ายชําระมูลค่าดังกล่าวให้กับคู่สัญญาด้วยสินทรัพย์ของกลุ่มกิจการตามที่ระบุในสัญญาดังนี้
- หุ้น TTPL จํานวน 999 หุ้นที่ถือโดย EEHK คิดเป็ นจํานวนร้อยละ 99.9ของหุ้นที่ออกและเรียกชําระแล้วของ TTPL โดยมีมูลค่ารวม 49.48 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
(ไม่รวมสิทธิในเหมืองถ่านหินของ JMM ณ วันที่ทําสัญญา ซึ่งมูลค่าดังกล่าวผู้ตรวจสอบได้รับการบอกกล่าวจากผู้บริหารเดิม)- เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าจํานวนรวม 210 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่ง EEHK ได้เคยจ่ายให้กับคู่สัญญาที่เป็ นเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียจํานวนสามราย
- เงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าจํานวนรวม 30 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่ง EEHKได้เคยจ่ายให้กับคู่สัญญาที่เป็นเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียจํานวนสองราย
- ลูกหนี้การค้าจากการขายถ่านหินจํานวน 7 รายในประเทศสิงค์โปร์ของ EPCLจํานวนรวม 128.24 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดย EPCL ได้ทําการโอนสิทธิของกลุ่มลูกหนี้ดังกล่าวมาให้กับ EEHK
2) PT. JAGAD ARTA BARA (“JAB”)ตามสัญญา Coal Reserve Purchase Agreementลงวันที่ 20 ก.ย. 2560 คู่สัญญาให้
สิทธิแก่ EEHK ในการซื้อถ่านหินจาก JAB ตามปริมาณสํารองถ่านหินภายในเหมืองทั้งหมดจํานวน 104 ล้านตัน (อ้างอิงตาม JORC Report ซึ่งจัดทําในเดือนก.ค. 2560)ที่ราคา 3.0 เหรียญสหรัฐอเมริตกาต่อตัน (ราคาดังกล่าวเป็ นราคาทีที่EEHKและคู่สัญญาได้ตกลงกันโดยอ้างอิงจากช่วงของมูลค่าการประเมินตามรายงานการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งจัดทําโดยบริษัทที่ปรึกษาการเงินอิสระแห่งหนึ่งในประเทศไทยตามรายงานลงวันที่ 8 ก.ย. 2560 ซึ่งกําหนดมูลค่าประเมินไว้ที่2.90 - 3.90 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อตัน) คิดเป็นมูลค่าของปริมาณสํารองถ่านหินภายในเหมืองจํานวน 312ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดย EEHK ตกลงที่จะจ่ายชําระมูลค่าการซื้อขายดังกล่าวให้กับคู่สัญญาด้วยสินทรัพย์ของกลุ่มกิจการตามที่ระบุในสัญญา ดังนี้
- เงินจองสิทธิในการซื้อสินค้าจํานวนรวม 195 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาที่ EEHKได้เคยจ่ายให้กับคู่สัญญาที่เป็นเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย
- สิทธิในเหมืองถ่านหิน PT. JHOSWA MAHAKAM MINERRAL(JMM)จํานวน 118 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาซึ่งเดิมเป็นกรรมสิทธิของ TTPL โดยมีปริมาณสํารองถ่านหินภายในเหมืองทั้งหมดจํานวน 43 ล้านตัน ผู้ตรวจสอบได้ตรวจสอบถึงการระบุเงื่อนไขหรือหลักประกันในการนํามาซึ่งการทํารายการการแลกเปลี่ยนเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า (รวมกับสินทรัพย์อื่นของกลุ่มกิจการ) กับการถือหุ้นในบริษัทสองแห่งซึ่งส่งผลให้กลุ่มกิจการได้มาซึ่งสิทธิในปริมาณสํารองถ่านหินในเหมืองถ่านหินจํานวนสองแห่ง
ทั้งหมดนี่ คือ ข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นความโปร่งใสในการดำเนินกิจการของบริษัทเอิร์ธว่า มีมากน้อยแค่ไหน ก่อนจะเกิดปัญหาถูกร้องทุกข์กล่าวโทษกรณีการปลอมแปลงใบตราส่งสินค้าทางเรือ(Bill of lading-B/L) นำเข้าถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซียและนำมาใช้เป็นหลักฐานกู้เงินจากธนาคารกรุงไทยเกือบหมื่นล้านบาท ที่ปรากฎเป็นข่าวดังอยู่ในขณะนี้
อ่านรายงานตรวจสอบฉบับเต็มได้ที่นี่ https://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=15118277660921&language=th&country=TH
อ่านประกอบ :
แนะกสิกรไทย-กรุงศรี-ธสน.ตรวจสอบใบขนถ่านหิน 'เอิร์ธ' หวั่นเจอเหมือนกรุงไทย!