Change in action (4) อำนาจสั่งคดีในแต่ละสถานี
คณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯประชุมครั้งที่ 4 เย็นวานนี้ขณะฝนฤดูร้อนถล่มกรุงพิจารณาต่อเนื่องในประเด็นรายละเอียดของโครงสร้าง 4 แท่ง โดยเฉพาะแท่งสืบสวนสอบสวน
เห็นควรให้อำนาจสั่งคดีในแต่ละสถานีตำรวจ หรือนัยหนึ่งอำนาจของ 'พนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่...' ตามนัยแห่งมาตรา 18 วรรคสี่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนระดับหัวหน้าในสถานีนั้น ไม่ใช่อำนาจของผู้กำกับการผู้เป็นหัวหน้าในสถานีตำรวจเหมือนในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้ตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นพนักงานสอบสวนในระดับที่เหนือกว่าพนักงานสอบสวนคนอื่นในสถานีไปด้วย ทำให้กลายเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไปโดยอัตโนมัติ ทั้งที่อาจจะไม่ได้เติบโตและมีประสบการณ์มาในแท่งสอบสวนโดยตลอดตั้งแต่ต้น
ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันในความเป็นอิสระและเป็นมืออาชีพในงานด้านคดีของพนักงานสอบสวน เห็นควรกำหนดให้ในแต่ละสถานีนอกจากจะมีตำแหน่งผู้กำกับหัวหน้าสถานี 1 คนแล้ว จะให้มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงานสอบสวน 1 คนด้วย
โดยจะกำหนดให้มี 'กลไกภายใน' ให้พนักงานสอบสวนในระดับเหนือขึ้นไปจากสถานีตำรวจตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง
ส่วน 'กลไกภายนอก' อาทิ อัยการ จะเข้ามามีส่วนร่วมแค่ไหน อย่างไร เมื่อใด จะได้พิจารณากันในโอกาสต่อไป
เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การคลายทุกข์ให้ประชาชนได้ตรงจุดที่สุด
ประเด็นอื่นนอกเหนือจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบางหน่วยที่อยู่ในแท่งที่ 3 งานเทคนิคและวิชาการ อาทิ แพทย์ วิทยาศาสตร์ การศึกษา ฯลฯ เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจประเภทไม่มียศ โดยเริ่มต้นเฉพาะจากเจ้าหน้าที่ตำรวจบรรจุใหม่หลังพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ใช้บังคับ
ซึ่งในประเด็นนี้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 บัญญัติให้มีนายตำรวจประเภทไม่มียศได้อยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยกำหนดให้มีมาก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาควา
พ.ร.บ.ตำรวจชาติแห่ง พ.ศ. 2547
พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
อ่านประกอบ :
Change in action (3) แยกงานสอบสวนเป็นสายงานเฉพาะ-อิสระ
Change in action (2) ภารกิจและการถ่ายโอนภารกิจ !
Change in action ! ปฏิรูปตำรวจทั้งระบบ สังคมไทยจะได้เห็นอะไรบ้าง?
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากไทยรัฐ