ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงสินบน บ.ยักษ์ใหญ่บราซิล 2.5 หมื่นล. สะเทือนทั่วลาตินอเมริกา
"...เมื่อประมาณเดือน เม.ย. 2561 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยข้อมูลว่าบริษัทโอเดเบรชต์ มีส่วนพัวพันกับการให้สินบนมูลค่าสูงมากกว่า 788 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 25,079 ล้านบาท ใน 12 ประเทศ โดยมีประเทศที่เกี่ยวข้องส่วนมากอยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกา..."
ส่องคดีทุจริตโลกในสัปดาห์นี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ขอนำเสนอประเด็นการทุจริตที่เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก จากกรณีเมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา อดีตประธานาธิบดีเปรู อลัน การ์เซีย ( Alan Garcia ) วัย 79 ปี ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ก่อนที่จะถูกตำรวจจับกุมที่บ้านพักในข้อหาคอร์รัปชันเนื่องจากรับสินบนจากบริษัท บริษัทโอเดเบรชต์( Odebrecht ) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างสัญชาติบราซิล (อ่านประกอบ:อดีตผู้นำเปรูเสียชีวิตหลัง "ใช้ปืนยิงตัวเอง" ระหว่างถูกตำรวจบุกบ้านจับคดีรับสินบน)
ซึ่ง ล่าสุด สำนักข่าว Japantimes ของประเทศญี่ปุ่น สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ ได้เจาะลึกข้อมูลข่าวกรณีสินบนของบริษัทก่อสร้างสัญชาติบราซิลแห่งนี้ พบว่า เมื่อประมาณเดือน เม.ย. 2561 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า บริษัทโอเดเบรชต์ มีส่วนพัวพันกับการให้สินบนมูลค่าสูงมากกว่า 788 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 25,079 ล้านบาท ใน 12 ประเทศ โดยมีประเทศที่เกี่ยวข้องส่วนมากอยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
สำหรับรายละเอียดประเทศที่เกี่ยวข้องและยังมีการสืบสวนสอบสวนทุจริตมีดังต่อไปนี้
@ ประเทศบราซิล
ที่ประเทศบราซิลนั้นมีปฏิบัติการณ์กวาดล้างการทุจริตโดยใช้ชื่อว่าปฏิบัติการณ์ล้างรถยนต์ หรือ Car Wash ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 จนนำไปสู่การเปิดโปงกรณีทุจริตทั้งในภาคการเมืองและภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจากข้อมูลการตรวจสอบนั้นพบว่า ตัวบริษัทโอเดเบรชต์เอง ก็ได้มีส่วนในการก่อสร้างในหลายประเทศทั้งสนามแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกปี 2557 ที่ประเทศบราซิล สนามแข่งบาสเกตบอลในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา ของสหรัฐอเมิกา การก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ประเทศแองโกลา
โดย นายมาเซโล โอเดเบรชต์ อดีตผู้บริหารของบริษัทนั้น ได้ถูกจับกุมและถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 19 ปีเมื่อช่วงเดือน มี.ค. 2559 ที่ผ่านมา ในข้อหาจ่ายสินบนมูลค่า 30 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 954 ล้านบาท ให้กับข้าราชการบราซิล เพื่อจะแลกกับสัญญาการก่อสร้างต่างๆ
ส่วนนายมาเซโล ได้รับการลดโทษเหลือแค่กักขังในคฤหาสน์หรูในเมืองเซาโปโล โดยแลกกับการให้ข้อมูลของบุคคลอื่นที่มีพฤติกรรมการรับสินบน และเขายังคงเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศบราซิล
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวด้วยว่าในปี 2561 บริษัทโอเดเบรชต์ ได้ตัดสินใจจ่ายเงินเป็นจำนวน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 22,278 ล้านบาท ให้กับหน่วยงานรัฐบาลบราซิล ซึ่งการจ่ายเงินดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งธุรกรรมทางการเงินมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 82,750 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายให้กับหน่วยงานรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศบราซิล และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี โดยการจ่ายเงินนั้นเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อปี 2559
และแน่นอนว่าในปี 2561 นี้เอง นายลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลว่า (Luiz Inacio Lula da Silva) อดีตประธานาธิบดีบราซิล ได้ถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นระยะเวลา 12 ปี กับอีก 1 เดือน ในข้อหารับสินบนจากบริษัทแห่งนี้ เพื่อแลกกับการโน้มน้าวให้ประเทศอื่นๆเซ็นสัญญาก่อสร้างกับทางบริษัท
นอกจากนี้นายมิเชล เตแมร์ (Michel Temer) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิลตั้งแต่ปี 2559-2561 ก็ถูกดำเนินคดีข้อหาทุจริตไปด้วยเช่นกัน
@ ประเทศเปรู
สำหรับประเทศเปรูนั้น พบข้อมูลว่าทางบริษัทโอเดเบรชต์ เองก็ได้จ่ายเงินสินบนเป็นจำนวนมากกว่า 29 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 923 ล้านบาท ให้กับทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลเปรู นับตั้งแต่ปี 2547 โดยมีประธานาธิบดีเปรูที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจ่ายสินบนของบริษัทนี้ ได้แก่ นายอเลจานโดย โทเลโด ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2544- 2559 นาย อลัน การ์เซีย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2549-2554 นายโอลลานต้า ฮูมาลา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2554-2559 และนายเปโดร พาโบล คุชซินสกี ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2559-2561
โดยนายเปโดร ได้ยอมรับว่าได้รับเงินสินบนเป็นจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 159 ล้านบาท และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ลาออกในช่วงเดือน ม.ค. 2561 เพราะเหตุผลเรื่องคดีทุจริตดังกล่าวนี้ ทำให้เขาถูกผู้พิพากษาตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี และทางสำนักอัยการเปรูเองก็เตรียมที่จะตั้งข้อหาทุจริตกับทางด้านของนายเปโดรต่อไปด้วย
ขณะที่อดีตประธานาธิบดีอลัน กาเซียร์ ซึ่งฆ่าตัวตายไปแล้วนั้น ได้ทิ้งข้อความในจดหมายลาตายเอาไว้ด้วยว่าเขาไม่ได้รับเงินสินบนจากบริษัทแต่อย่างใด
@ ประเทศเอกวาดอร์
สำหรับกรณีของประเทศเอกวาดอร์นั้น อดีตรองประธานาธิบดี จอร์เก กลาส ได้ถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2559 ในข้อหารับเงินสินบนเป็นจำนวน 13.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 430 ล้านบาทจากบริษัทโอเดเบรชต์ นอกจากนี้ทางอัยกายังได้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องอีก 22 คน โดยมีคดีจำนวนทั้งสิ้น 24 คดี
@ ประเทศเวเนซูเอลา
นอกจากนี้ ยังมีกรณีการทุจริตเรื่องสินบนของบริษัทโอเดเบรชต์ในประเทศเวเนซูเอลา โดยทางบริษัทเป็นผู้ที่ยอมรับเองว่าได้ให้สินบนเป็นจำนวนมากกว่า 98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 3,119 ล้านบาท กับทางรัฐบาลของเวเนซูเอลา ซึ่งเงินสินบนจำนวนดังกล่าวนี้ถือได้ว่ามากที่สุดเท่าที่บริษัทโอเดเบรซต์ได้เคยจ่ายนอกประเทศบราซิล
และยังมีข้อกล่าวหาว่าอดีตประธานาธิบดีนิโคลัส มาร์ดูโร่ เองก็น่าจะมีส่วนในการรับสินบนจำนวนดังกล่าวนี้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการยุติธรรมของประเทศเวเนซุเอลานั้นก็ได้ละเลยการสอบสวนกรณีนี้โดยสิ้นเชิง
@ ประเทศปานามา
ทั้งนี้ มีรายงานว่าในประเทศปานามาเองนั้น บริษัทโอเดเบรชต์ก็ได้ยอมรับว่าได้จ่ายเงินสินบนเป็นจำนวน 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,878 ล้านบาท ให้กับ 17 บุคคล ซึ่งรวมไปถึงบุตร 2 คน และอดีตรัฐมนตรีอีก 3 คน ซึ่งเคยทำงานภายใต้การปกครองของอดีตประธานาธิบดีริคาร์โด มาติเนลลี ซึ่งในเวลาต่อมาเขาก็ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ารับสินบนเช่นกัน
และมีรายงานเพิ่มเติมจากทางสำนักข่าวบีบีซีด้วยว่า ทนายความจากบริษัท มอสแซค ฟอนเซก้า ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่ออยู่ในเอกสารปานามาก็ได้กล่าวหาว่าประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นายฮวน คาร์ลอส วาเรลา ก็ได้รับเงินสินบนผ่านการบริจาคของบริษัทด้วยเช่นกัน ซึ่งนายฮวนก็ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว
(เรียบเรียงจาก: https://www.bbc.com/news/world-latin-america-41109132, https://www.japantimes.co.jp/news/2019/04/18/world/politics-diplomacy-world/odebrecht-scandal-shaking-latin-america-brazil-peru-beyond/)
ทั้งหมดนี่ เป็นข้อมูลเบื้องลึกกรณีการจ่ายสินบนของบริษัทก่อสร้างสัญชาติบราซิล ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ที่ปรากฎเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage
อ่านประกอบ :
ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลจีนจำคุก จนท.มองโกเลีย 18 ปี เลียนแบบหนังสายลับซ่อนเงินสินบน700ล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อ บ.เชลล์-เอมิ เจอข้อหาให้สินบนหมื่นล้าน แลกใบอนุญาตสำรวจบ่อน้ำมัน
ส่องคดีทุจริตโลก : ศึกชิงเก้าอี้ ปธน.ยูเครน เดือด! ข้อกล่าวหาโกงซื้อเสียงเพียบ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อหัวคะแนนพรรครีพับลิกันโกงการเลือกตั้งรัฐนอร์ทแคโรไลน่า
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ป.ป.ช.ยูเครน ดองเรื่องไม่สอบทุจริตขนย้ายอะไหล่อาวุธ
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดโปงขบวนการทุจริตขายอาวุธยูเครน โยงข้อมูลธุรกิจบริษัทประธานาธิบดี?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อรัฐวิสาหกิจขายอาวุธยูเครนส่อโดนยุบจากข้อหาทุจริต 295ล.
ส่องคดีทุจริตโลก:ตีแผ่ปัญหาคอร์รัปชั่น เส้นสาย ฝังรากลึกในกองทัพปลดปล่อยปชช.จีน
ส่องคดีทุจริตโลก: ความพยายามในการขจัดอิทธิพลกลุ่มทุนในการเมืองสหรัฐ ผ่าน Dark Money
ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตผู้บริหารบ.จีน ส่อโดนโทษประหาร ปมขายความลับเรือบรรทุกเครื่องบิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติวิจารณ์นครดูไบเป็นสวรรค์การฟอกเงิน
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จีน เจอข้อครหาฉ้อโกงราคาชิ้นส่วนโดรน 4.6 พันล.
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อเกม Fortnite กลายเป็นเครื่องมือฟอกเงินของอาชญากรไซเบอร์?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อปธ.คกก.จัดโอลิมปิกญี่ปุ่น ถูกอัยการฝรั่งเศสสอบปมจ่ายสินบน73ล.?
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อบ.ส่งเสบียงให้กองทัพสหรัฐฯ ถูกสอบปมฉ้อโกงสัญญา 8 พันล.เหรียญ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อบ.ลูกโฟล์คสวาเกน ยอมรับมีเอี่ยวโกงทดสอบค่าปล่อยมลพิษสหรัฐฯ ด้วย
ส่องคดีทุจริตโลก : เปิดกรณีสินบนจัดซื้อ 'กริพเพน' แสนล.กระทบปมทุจริตอดีตผู้นำบราซิล
ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯสอบสวน ปมเอี่ยวฟอกเงินเกาหลีเหนือ
ส่องคดีทุจริตโลก : เมื่อ ปธ.ANOC ลงจากตำแหน่ง หลังถูกสอบปลอมแปลงกระบวนการอนุญาโตฯ จัดโอลิมปิก