ทำความเข้าใจข้อมูลผิดๆ เรื่อง #ไทยมีความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่งของโลก
"...แต่ที่แน่ๆ คือ ค่าความเหลื่อมล้ำที่จัดโดยองค์กรระหว่างประเทศ อย่าง UN และ World Bank นั้นประเทศไทย ไม่ได้มีปัญหาหนักในเรื่องความเหลื่อมล้ำแน่นอนครับ คะแนนก็อยู่ระดับกลางๆ คือ 35-38 ซึ่งทำให้อยู่ในระดับที่ 40 กว่าจาก 196-206 ประเทศทั่วโลก ไม่ใช่อันดับ 1 ของโลกอย่างที่เข้าใจผิดๆ กันไป..."
- ประเด็นมันเริ่มจากการที่คุณบรรยง พงษ์พานิช อยากจะพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ แล้วแกก็เอาข้อมูลชุดหนึ่งจาก Credit Suisse (ฉบับที่ทำงานได้หยาบมากๆ) มาพูดถึง
- โดยที่ตัวแกเองก็รู้อยู่แล้วว่าข้อมูล มันไม่ตรงหรอก เพราะระดับแก มีหรือจะไม่รู้ แกยังบอกเองเลยว่าตัวเลขเงินในตลาดการเงินของไทยมีตั้ง 40 ล้านล้าน แต่ Credit บอกมีแค่ 16.5 ล้านล้านเอง ซึ่งแค่นี้ก็เห็นแล้วว่า Credit Suisse มั่ว
- แต่ประเด็นคือ แกต้องการเอามาจั่วหัวให้ดูแรงและเรียกความสนใจ (แม้แกจะรู้ว่ามันมั่ว) จากนั้นแกจึงค่อยโพสท์อารมณ์ประมาณว่า "ข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้อง แต่ช่างมันเถอะ เราจะมาพูดถึงความเหลื่อมล้ำที่ต้องแก้ไขกันดีกว่า"
https://www.facebook.com/banyong.pongpanich/posts/1002402713296361
..........................
- คือถ้าทำใจเป็นกลางๆ ผมก็พอเข้าใจเจตนาของแกนะ ว่าเอาเรื่องนี้มาจั่วหัว เพราะอยากให้มีคนสนใจ ให้มันดูแรง แต่ประเด็นคือ มันทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิด โดยเฉพาะในยุคโซเซียล ที่ผู้คนไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจทันเท่ากับความรวดเร็วของข่าวหรือเรื่องที่พูดต่อๆ กันไป
- จน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ต้องออกมาชี้แจงกันไปเมื่อเช้าตอน 10 โมง
https://www.facebook.com/NesdbPr/videos/2476566162359587/
- ซึ่งผมจะมาพูดให้ฟังอีกทีแบบง่ายๆ ภาษาชาวบ้าน และจะมีการอธิบายเลยว่าข้อมูลชุดนี้ของ Credit Suisse "ห่วยแตก" อย่างไร ? ขอโทษที่ต้องใช้คำรุนแรง แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อคุณอ่านจบ คุณจะพูดคำเดียวกับที่ผมพูด แน่นอนครับ หุหุ
----------------------
ข้อมูลแบบกะๆ เอา
----------------------
- ข้อมูลดังกล่าวมาจาก Credit Suisse ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน "เอกชน" รายหนึ่งในสวิสเซอร์แลนด์ โดยการรายงาน Credit Suisse ฉบับนี้เป็นการทำรายงานที่ขาดข้อมูลสำคัญและข้อมูลเป็นคาดคะเนแบบหยาบๆ
- เนื่องจาก Credit Suisse ใช้วิธีการวัด #การถือครองทรัพย์สิน ไม่ใช่วัดจากรายได้ ซึ่งการถือครองทรัพย์สินนั้น "วัดยากมาก" และมีไม่กี่ประเทศในโลกที่จะได้ข้อมูลนี้อย่างละเอียดและเที่ยงตรง
(ส่วนใหญ่คือ ประเทศรัฐสวัสดิการ ที่มีระบบฐานภาษีดี ที่คนไม่สามารถหลบเลี่ยงภาษีใดๆ ได้ เพราะรัฐมีข้อมูลหมดว่าใครถือครองทรัพย์สินอะไรไว้บ้าง)
- Credit Suisse ยอมรับในรายงานว่า ข้อมูลที่เขามีละเอียดจริงๆ พอจะวิเคราะห์ได้ มีแค่ 28 ประเทศ จาก 206 ประเทศ หรือแค่ 13.6% ส่วนที่ข้อมูลมีไม่ครบและขาดๆ ก็มีประมาณ 24 ประเทศ หรือ 11.6% ส่วนที่เหลืออีก 154 ประเทศหรือ 74.7% นั้นไม่มีข้อมูล หรือมีอยู่ในระดับที่แย่มาก
- ซึ่งจริงๆ แล้วการวิเคราะห์ข้อมูลพวกนี้ แค่ข้อมูลไม่ครบถ้วนก็ทำไม่ได้แล้วครับ พูดง่ายๆ เลยคือ Credit Suisse มีข้อมูลจริงแค่ 28 ประเทศจาก 206 ประเทศทั่วโลกเท่านั้น ที่เหลืออีก 24 ประเทศคือ #กะเอา ทั้งสิ้น!!
*** เพราะจริงๆ สถาบันนี้เขาไม่ได้สนประเทศอื่นเท่าไร ที่เขาทำก็แค่จัดดูในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อประเมินด้านการเงินในการทำธุรกรรมเท่านั้น (ก็ตามสไตล์บริษัทเอกชนน่ะครับ)
https://publications.credit-suisse.com/…/re…/file/index.cfm…
----------------------
ข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 2006/2549
----------------------
- เนื่องจากไม่มีข้อมูลประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้ และไม่ได้สนใจเท่าไร แต่แค่จะเอามายัดใส่ให้มันดูครบๆ Credit Suisse ก็เอาข้อมูลเก่าของ ประเทศไทยที่ IMF รวบรวมและเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2006/2549 (และข้อมูลนี้ก็เก็บก่อนหน้านั้นสักพักด้วย)
- ข้อมูลชุดดังกล่าวมีความผิดพลาดหลายประการ เช่น การบอกว่าไทยมีทรัพย์สินรวมแค่ 505 พันล้านดอลล่าร์ หรือแค่ 16.5 ล้านล้านบาท ทั้งที่ในความจริง แค่มูลค่าตลาดการเงินก็ 40 ล้านล้านแล้ว ไม่รวมพวกอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในธนาคารด้วย
(แต่อย่างว่าครับ ใครเขาจะสน เขาแค่เอาไปใส่ให้มันครบๆ ในรายงานเท่านั้นเอง)
----------------------
80% ไม่มีข้อมูล 13% ข้อมูลไม่ครบ
----------------------
- ข้อมูลของประเทศส่วนใหญ่กว่า 80% จากรายงานฉบับนี้ของ Credit Suisse เป็นการกะเอาอย่างชัดเจน บางอันก็ไม่มีข้อมูล ผังที่แสดงความสมบูรณ์ของข้อมูลในหน้า 19-22 ก็ระบุว่า กว่าร้อยละ 80 อยู่ในสภาพแย่ (poor) และแย่มาก (very poor)
เอาจริงๆ ผมก็สงสัยว่ารายงานฉบับนี้ทำออกมาได้อย่างไรกัน ?
- และจริงๆ มันไม่ใช่ 80% ด้วย เพราะไอ้กลุ่มข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์มันก็คือมั่วๆ เอาเหมือนกัน แต่มั่วบ้างจริงบ้างบางส่วนแค่นั้นเอง สุดท้ายข้อมูลที่ใช้ได้จริงมีแค่ 13.6% ของประเทศทั่วโลก ที่เหลือก็มั่วเอาทั้งนั้น
----------------------
ข้อมูลที่ไม่ตรงกับเอกสาร
----------------------
- ในขณะที่ข้อมูลการถือครองทรัพย์สินของประเทศไทยนั้น "ไม่มี" และแบงก์ชาติก็ไม่ได้ทำไว้ (ไม่มีใครยอมบอกข้อมูลทรัพย์สินที่แท้จริงหรอกครับ ขนาดให้แสดงบัญชีทรัพย์สิน มันยังปกปิดกันเลย ตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับสูงก็เหมือนๆ กัน)
แล้ว Credit Suisse ไป "เสกข้อมูล" มาจากไหน?
- เขาระบุว่าเขาอ้างจากโพลสำรวจในเอกสารรายงาน ที่ชื่อ The Wealth and Debt of Thai Households: Risk Management and Financial Access
- หรือในชื่อภาษาไทยว่า "ความมั่งคั่งและหนี้สินครัวเรือนไทย: การบริหารความเสี่ยงและการเข้าถึงบริการทางการเงิน" โดย ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย (ซึ่งตอนนั้นทำงานในแบงก์ชาติ) และทีมงาน
*** ที่ตลกคือ เอกสารชุดนั้นไม่ได้มีระบุเรื่องระดับการถือครองทรัพย์สินของคนในประเทศ เพราะในเอกสารเน้นการอธิบายเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และ เงินเดือนโดยเฉลี่ยของผู้ต้องการกู้ซื้อบ้าน
(โดยทำเป็นแบบสอบถามที่ถามถึงทรัพย์สินและหนี้สินของครัวเรือนประมาณหมื่นกว่าคนจากทั้งประเทศ)
http://econ.tu.ac.th/…/Wealth%20and%20Debt%20of%20Thai%20Ho…
*** ซึ่งผมก็งง ว่าแล้วที่ Credit Suisse มันอ้าง มันเอาตัวเองหรือข้อมูลมาจากไหน... อ้างเอกสารประกอบ แต่เอกสารไม่มีข้อมูลดังกล่าวที่อ้างมา -_-"
----------------------
อ้างเอกสารที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย
----------------------
- ข้อมูลอีกชุดที่ Credit Suisse อ้างถึงประเทศไทยก็คือ หน้า 11 ที่ชี้แจงว่าข้อมูล "การถือครองอสังหาริมทรัพย์" เอามาจากไหน ปรากฎว่าอันนี้หนักกว่าอันที่แล้วอีก!!
- คือ Credit Suisse ไม่มีข้อมูลประเทศไทย (n.a.) / not available แต่ใส่เอกสาร IMF : Household Credit Growth In Emerging Market Countries 2006 บทที่ 2 มา
- เอกสารบทนี้ชื่อ THE INFLUENCE OF CREDIT DERIVATIVE AND STRUCTURED CREDIT MARKETS ON FINANCIAL STABILITY
- ซึ่งพูดถึงสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อในเศรษฐกิจโลก การบริหารจัดการความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจประกันภัย บลาๆๆ ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า Credit Suisse
- ซึ่งมีเพียงข้อมูลอัตราการปล่อยกู้สินเชื่อในอัสงหาริมทรัพย์แค่นิดเดียว ในหน้า 52 ที่เป็นตาราง+กราฟสรุปภาพรวมการปล่อยกู้สินเชื่อบ้านในประเทศไทย ปี 2004-2005 (2547-2548) ซึ่งไม่สามารถเอามาอ้างถึงการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในปี 2018 ได้เลย ข้อมูลทั้งเก่าเกิน และไม่มีรายละเอียดใดๆ
https://www.imf.org/…/2016/12/31/Market-Developments-and-Is…
- นี่ผมงงว่าสถาบันการเงินชื่อดัง เขาทำรายงานกันแบบนี้จริงๆ เหรอ? ยังกะรายงานของมหาวิทยาลัยห้องแถวก็ไม่ปาน...
----------------------
มาตรฐานที่ไม่สมเหตุผล
----------------------
- ข้อมูลของ Credit Suisse ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันจนเป็นข่าวคือ หน้า 157 ซึ่ง ใช้วิธีการหาค่าความเหลื่อมล้ำ ด้วยการแบ่งจำนวนประชากร เป็น 4 กลุ่มคือ
1. กลุ่มมีทรัพย์สินต่ำกว่า 1 หมื่นเหรียญ หรือ 3.5 แสนบาท
2. กลุ่มมีทรัพย์สินระหว่าง 1 หมื่นถึง 1 แสนเหรียญ หรือ 3.5 แสนถึง 3.5 ล้านบาท
3. กลุ่มมีทรัพย์สินระหว่าง 1 แสนเเหรียญถึง 1 ล้านเหรียญ หรือ 3.5 ล้านบาทถึง 35 ล้านบาท
4. กลุ่มมีทรัพย์มากกว่า 1 ล้านเหรียญหรือ 35 ล้านบาทขึ้นไป
- โดย Credit Suisse ทำการแบ่งกลุ่มประชากรที่มีรายได้ลงไปใน 4 กลุ่มนี้อ้างว่าคนที่มีทรัพย์สินต่ำกว่า 3.5 แสนบาทนั้นมีอยู่ราว 48.2 ล้านคน มี 3.5 แสนถึง 3.5 ล้านบาทอยู่ 3.9 ล้านคน มีทรัพย์สิน 3.5 ล้านถึง 35 ล้านอยุ่ที่ 3.77 แสนคน และมีทรัพย์สินตั้งแต่ 35 ล้านบาทประมาณ 4 หมื่นคน
(รวมมีผู้ใหญ่วัยทำงาน 52.6 ล้านคน)
- เรื่องที่ว่าประเทศไทยเราไม่มีการจัดเก็บข้อมูล การถือครองทรัพย์สินอย่างแท้จริง (ถ้ามีรัฐคงไม่ต้องพยายามมาทำฐานข้อมูลการจัดเก็บภาษีกันตาเหลือกแบบนี้หรอก) และแหล่งข้อมูลที่ Credit Suisse อ้างก็ไม่มีระบุถึง ผมพูดไปแล้ว ซึ่งเพียงแค่นั้นก็น่าจะจบและเคลียร์แล้วนะครับ
- แต่ที่เป็นปัญหาเข้าไปอีกต่อก็คือ #ความไร้มาตรฐาน ของการใช้ข้อมูล (ไม่ว่าจะข้อมูลจริงหรือข้อมูลที่นั่งเทียนมาเอง)
- เพราะวิธีคิดของ Credit Suisse มีปัญหาตรงการเอาฐานที่ตัวเองแบ่ง 4 กลุ่มมาหารแล้วดูว่า กลุ่มไหนที่ถือครองทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน แล้วสัดส่วนต่างกันแค่ไหน แล้วจึงทำออกมาเป็นค่าความเหลื่อมล้ำ GINI Index
.............................
- สมมุตผมเป็นเศรษฐีในประเทศลาว แต่ผมมาอยู่เมืองไทย ผมอาจเป็นแค่ชนชั้นกลางบน หรือผมเป็นชนชั้นกลางในไทย ไปอยู่ในพม่าหรือลาว ผมอาจเป็นชนชั้นกลางบนหรือเศรษฐีก็ได้ เพราะค่าเงินและค่าครองชีพในแต่ละประเทศมันไม่เท่ากัน
- Credit Suisse ใช้การแบ่งช่วงของทรัพย์สินตามกำลังทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วมาเป็นเกณฑ์ แน่นอนว่าประเทศกำลังพัฒนา ย่อมทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา ตกอยู่ข่ายยากจน (ต่ำกว่า 3.5 แสนบาท) แม้ว่าตามจริง เขาอาจจะอยู่จัดอยู่ในระดับชนชั้นกลางในประเทศนั้นก็ตาม!!!
- อีกประการก็คือ ถ้าประเทศไหนเกิดมีเศรษฐีเยอะๆ ต่อให้คนจนเยอะ ค่าเฉลี่ยของเศรษฐีหรือคนรายได้สูงกับคนจน มันก็ทำให้ค่าความเหลื่อมล้ำลดลงอยู่ดี
แม้ว่าความเป็นจริงแล้วมันจะเหลื่อมล้ำไม่ต่างจากเดิมก็ตาม...
.............................
- หมายเหตุ: จริงๆ ผมอยากพูดต่อไปอีกเรื่องคือ ปัญหาที่ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลาง เพราะเรามีชนชั้นกลางน้อย และผู้ประกอบการเราค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ ทำอะไรๆ ก็เจ๊ง บริหารไม่เป็นแต่อยากให้เงินมาบริหาร ตามหนังสือรวยทางลัด และอื่นๆ
- ในขณะที่บริษัทที่เขามีมาตรฐานที่ดี มีการบริหารที่รัดกุม และพัฒนาตัวตลอด เขาก็เจริญขึ้น แบบนี้ควรจะโทษว่าเพราะรัฐ เพราะกฎหมาย หรือเพราะความไร้ศักยภาพของผู้ประกอบการในประเทศ ที่ทุกอย่างมันสบาย และไม่เคยต้องแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายเหมือนอีกหลายประเทศดีละครับ ???
แต่เรื่องนั้นเอาไว้ทีหลัง เพราะเป็นอีกเรื่องใหญ่ที่เดี๋ยวมาว่ากันครับ
----------------------
ข้อมูลของ World Bank
----------------------
- ในขณะที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่นานาชาติยอมรับ และมีข้อมูลครบถ้วนในการประเมินอย่าง ธนาคารโลก หรือ World Bank นั้นระบุค่า GINI Index ซึ่งบอกถึงความเหลื่อมล้ำทางรายได้
- ประเทศไทยมีค่าอยู่ที่ 38 (สหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ 41 หรือแย่กว่าไทย) ส่วนประเทศที่ถูกระบุว่าเหลื่อมล้ำมากที่สุดคือ แอฟริกาใต้ ค่า GINI อยู่ทึ่ 63 และรองๆ มาจากแอฟริกาใต้ ส่วนใหญ่ก็คือ ประเทศในทวีปแอฟริกาและละตินอเมริกาทั้งสิ้น เช่น
- Namibia
- Botswana
- Zambia
- Central African Republic
- Lesotho
- Swaziland
- Brazil
- Colombia
- Panama
- Guinea-Bissau
- Rwanda
ส่วนประเทศต่างๆ โดยทั่วไปค่า GINI จะอยู่ที่ 25-50 ซึ่งจะยังถือว่าโอเคสำหรับประเทศทุนนิยมทั้งหลาย
https://www.npr.org/…/the-country-with-the-worlds-worst-ine…
หมายเหตุ: ในข้อมูลไม่มีเกาหลีเหนือ ถ้ามีเกาหลีเหนืออาจเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุดในโลก อันเป็นอุดมคติของชาวสังคมนิยมก็ได้นะครับ ?
(และถ้าเยอรมันตะวันออก โซเวียต และประเทศคอมมิวนิสท์แท้ อื่นๆ ยังอยู่ คงจะเป็นประเทศในฝัน เพราะมีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประเทศทุนนิยมแน่ๆ ป.ล. จีนไม่ใช่คอมมิวนิสท์นะครับ มันแค่ใช้ชื่อเฉยๆ แต่จีนปัจจุบัน ห่างไกลจากคอมมิวนิสท์เยอะมากแล้ว)
----------------------
ค่า GINI ใช้ดูโดยประมาณ
----------------------
- เราต้องเข้าใจก่อนว่าค่าดังกล่าวนี้ วัดโดยการประมาณจากรายได้และรายจ่าย ซึ่งไม่ได้แปลว่ามันจะสะท้อน #ความอยู่ดีกินดีของคนในประเทศได้ในทุกมิติ
- อย่างประเทศยูเครน (26) ที่มีค่าความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด กลับเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่การเมืองในประเทศตีกันเละเทะเลย แถมความเป็นอยู่ของประชากรไม่ได้ดีกว่าไทยแน่นอน
(จนคนรัฐไครเมียและรัฐฝั่งตะวันออก ยังขอแยกตัวไปรวมกับสหพันธรัฐรัสเซียที่มีรายได้สูงกว่าและการเมืองนิ่งกว่าแทน)
- หรืออย่างโคโซโว (27) หรือ คาซัคสถาน (27) ก็มีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประเทศยุโรปทุกประเทศ หรือ อิรัค (30) และคีกีซสถาน (29) ที่มีค่าความเหลื่อมล้ำ น้อยกว่าเยอรมัน (31) และญี่ปุ่น (32)
ก็ไม่ได้แปลว่าคุณภาพชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้นจะดีกว่าประเทศที่มีค่าความเหลื่อมล้ำสูงกว่าเท่าไรนัก เพราะค่า GINI นั้นมันเป็นการประมาณการกว้างๆ จากรายได้ เป็นข้อมูลสถิติ ซึ่งมันกว้างมาก
- ข้อมูลพวกนี้เวลาดูต้องดูเป็น ช่วงระยะ (range) เช่นถ้ามันสูงมากๆ แบบพวกแอฟริกา ที่อยู่ที่ 60+ อันนี้ก็ถือว่าแย่ ถ้าอยู่ระดับ 25-30 ก็อาจจะดี และ 31-50 ก็ปานกลาง เป็นต้น
- แต่สุดท้ายแล้วมันก็ต้องดูภาพรวมอื่นๆ ประกอบด้วย เช่นอัตราการว่างงาน การมีอยู่มีกิน ความยากลำบากในการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยเฉพาะการศึกษาและสาธารณะ ฯลฯ อีกมาก
----------------------
แนวโน้มความเหลื่อมล้ำในไทย
----------------------
- ถ้าดูจากความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ที่จัดเก็บโดยธนาคารโลก จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2006 ที่รายงานนั้นระบุมา ค่าความเหลื่อมล้ำของไทยดีขึ้นเรื่อยๆ จาก 42 ในปี 2006 ลดลงมาเหลืออยู่ที่ 36 ในปี 2015
- ซึ่งทำให้เห็นแนวโน้มในการกระจายรายได้ที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI…
----------------------
สรุป
----------------------
- ความเหลื่อมล้ำมีทุกประเทศแหละครับ ไม่มีประเทศไหนไม่มีหรอก ยิ่งเป็นประเทศทุนนิยม ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แท้ๆ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการและทรัพย์สินทั้งหมด
- เพียงแต่มีมากมีน้อย ก็ต้องพิจารณากันไปเป็นช่วงๆ และถ้าเป็นไปได้ก็ควรพัฒนาให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำน้อยลงเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกันค่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ก็ไม่สามารถจะบอกทุกอย่างได้
(หรือถ้าใครคิดว่าค่านี้น้อยแล้วดี แนะนำให้ออกไปอยู่ ยูเครน อิรัก ปากีสถาน คาซัคสถาน ดูสัก 5 ปีนะครับ แล้วค่อยกลับมาบอกว่าเป็นอย่างไร หุหุ)
- แต่ที่แน่ๆ คือ ค่าความเหลื่อมล้ำที่จัดโดยองค์กรระหว่างประเทศ อย่าง UN และ World Bank นั้นประเทศไทย ไม่ได้มีปัญหาหนักในเรื่องความเหลื่อมล้ำแน่นอนครับ คะแนนก็อยู่ระดับกลางๆ คือ 35-38 ซึ่งทำให้อยู่ในระดับที่ 40 กว่าจาก 196-206 ประเทศทั่วโลก
ไม่ใช่อันดับ 1 ของโลกอย่างที่เข้าใจผิดๆ กันไป!!!
อ้างเอกสาร IMF อันนี้ แต่เอกสารชุดนี้มันไม่ได้พู
อ้างเอกสาร บทสำรวจความจากความเห็นของ
การจัดอันดับดัชนีความเหลื่
การจัดอันดับดัชนีความเหลื่
การจัดอันดับดัชนีความเหลื่
ค่าความเลื่อมล้ำของประเทศไ
ค่าความเลื่อมล้ำของประเทศไ
เอกสารที่ Credit Suisse อ้างถึง ซึ่งไม่ได้มีตัวเลขอะไรที่ต
ข้อมูลที่ Credit Suisse อ้างว่าเป็นที่มาเรื่องการถ
อัปเดต: ผมเจอละครับ ที่มีกล่าวถึงไทย มันเป็นกราฟสรุปตัวเลข อยู่หน้า 52 ที่พูดถึงสถานการณ์การปล่อย
ที่มา : เฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith
อ่านประกอบ :
ข้อเท็จจริงเรื่องสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย
บรรยง พงษ์พานิช:นั่งฟังสภาพัฒน์แถลง มันคนละเรื่องเดียวกัน