กพร.แพร่งานวิจัยบ่อเก็กกากแร่ที่ 1 เหมืองทองอัครารั่ว กระทบแหล่งน้ำใต้ดินโดยรอบ
รายงานทางการยืนยันผลวิจัย พบน้ำรั่วจากบ่อกักเก็บกากแร่เหมืองทองคำอัครา พิจิตรจริง คณะทำงานระบุ 2 ลักษณะสำคัญเหตุรั่วซึมจากผนังบ่อและก้นบ่อ ขณะที่น้ำผุดในนาข้าวมีความสัมพันธ์เดียวกันจากบ่อเก็บกากแร่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้เผยแพร่ ในรายงาน “การสำรวจตรวจสอบโอกาสการรั่วไหลของสารพิษจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่1 (TSF1) ของเหมืองทางคำบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จังหวัดพิจิตร ซึ่งดำเนินการโดยคณะวิจัยประกอบด้วย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ และดร.สิรินาฏ เลาหะโรจนพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ Dr. Yuji Nitsuhata จาก the Research Institute for Geo-Resoures amd Environment (GREEN), the National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST)
โดยผลจากการสำรวจด้วยธรณีฟิสิกส์ในโครงการนี้ คณะวิจัยแปลผลว่า น้ำเหมืองน่าจะรั่วไหลจากบ่อเก็บกากแร่ใน 2 ลักษณะ คือ การรั่วไหลผ่านผนังบ่อ (ระดับตื้น) และการรั่วไหลผ่านก้นบ่อ (ระดับลึกปานกลางถึงลึก) สำหรับการรั่วไหลผ่านผนังบ่อเก็บกากแร่นั้น ทั้งบริเวณที่ 2 และ 3 แสดงผิดปกติของความต้านทานไฟฟ้าที่แสดงถึงเหมืองรั่วไหลผ่านผนังบ่อเก็บกากแร่ในแนวสำรวจ DC02 และ DC03 ซึ่งทำให้คาดการณ์ได้ว่า น่าจะเกิดน้ำผุดในกินระดับตื้นสอดคล้องกับการพบน้ำผุดไหลผ่านรูพรุงของศิลาแลง ซึ่งมีลักษณะทางธรณีเคมีของน้ำผุดคล้ายคลึงน้ำเหมืองในบ่อเก็บกากแร่ที่ 1 (TSF-1) ที่อยู่ติดกัน
ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงมีความมั่นใจกับผลการสำรวจนี้สูงเพราะมีทั้งผลธรณีฟิสิกส์ที่แสดงความผิดปกติของความต้านทานไฟฟ้า และน้ำผุดที่เกิดขึ้นตามการคาดการณ์ของผลธรณีฟิสิกส์ที่สอดคล้องกัน
ทั้งนี้ความผิดปกติทางความต้านทานไฟฟ้าที่ตรวจพบโดยธรณีฟิสิกส์ และความผิดปกติทางธรณีเคมีและไอโซโทปที่ตรวจพบในบ่อเฝ้าระวัง 6468, 5339, 6691, 5338, 6473, และน้ำผุดผ่านศิลาแลงใกล้ TSF-1 ทำให้ตีความได้ว่า เกิดการรั่วไหลของน้ำเหมืองจากบ่อเก็บกากแร่ TSF-1 และน้ำเหมืองที่รั่วไหลได้กระทบบ่อเฝ้าระวังน้ำใต้ดินดังกล่าวแล้ว
ในส่วนของผลการตรวจน้ำผุดบริเวรนาข้าวนั้น รายงานฉบับนี้ระบุในทำนองเดียวกันเมื่อประเมินความผิดปกติทางความต้านทานไฟฟ้าบริเวณนาข้าวน้ำผุดใกล้ TSF-2 ร่วมกันความผิดปกติของเคมีของน้ำผุดหลายประการดังกล่าวก็ประเมินได้ว่าน้ำเหมืองรั่วไหลมาจาก TSF-1 น่าจะมาถึงนาข้าวน้ำผุดเช่นเดียวกัน และทิ้งร่องรอยไว้ แม้ไซยาไนด์จะระเหยหรือถูกย่อยสลายไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่อยรอยความสัมพันธ์ของความนำไฟฟ้า กับความเข้มข้นของซัลเฟตในน้ำผุดใกล้ TSF2 ความสัมพันธ์นี้ชี้ว่าน้ำผุดใกล้ TSF 2 เกิดจากการเจือจางของน้ำรั่วจาก TSF-1 ด้วน้ำธรรมชาติ
ทั้งนี้คณะวิจัยครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันกับสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และนักวิจัย the Research Institute for Geo-Resoures amd Environment (GREEN), the National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น ได้ดำเนินการตามมอบหมายของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงการรั่วซึมของบ่อเก็บกากแร่ที่ 1 ของเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร โดยมีสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นฝ่ายเลขาที่แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และปลักกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับเหมืองทองคำชาตรีของบริษัทอัครารีซอร์สเซสจำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่ต.เขาเจ็ดลูกอ.ทับคล้อจ.พิจิตร ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดคือพิจิตรพิษณุโลกเพชรบูรณ์ เริ่มประกอบกิจการขุดหาแร่ทองคำตั้งแต่ปี 2544 ก่อนมีประเด็นเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ส่งผลให้พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งที่ 72/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการตั้งแต่ 1 ม.ค. 60 ที่ผ่านมาโดยปัจจุบันทางบริษัทคิงส์เกตคอนโซลิเดดเต็ดจำกัดซึ่งเป็นบริษัทแม่ในการประกอบการเหมืองได้ยื่นอนุญาโตตุลาการกรณีการละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) ของรัฐบาลไทย
ขณะที่งานวิจัยที่ ก.พ.ร.เผยแพร่ ได้มีการ "หมายเหตุ" เอาไว้ด้วยว่า ควรพิจารณานำข้อมูลไปใช้ด้วยความระมัดระวังด้วย ซึ่งคาดว่า ก่อนหน้านี้ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับงานวิจัยดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ปลัดก.อุตฯ ยันพบข้อบ่งชี้การรั่วไหลน้ำจากบ่อเก็บกากแร่ที่ 1 เหมืองทองอัคราฯ
ที่ประชุมกพร.ยังไม่เปิดผลสอบบ่อเก็บแร่เหมืองทองรั่ว ขอเวลา 10 วัน-อัครา เล็งออกหนังสือแจง
เหมืองทองอัครฯ แจงสื่อเห็นแย้งในผลตรวจสอบการรั่วซึมบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1