กองทัพเมียนมายอมรับมีส่วนสังหารโรฮิงญาจริง แอมเนสตี้กดดันสอบสวน
กองทัพเมียนมาแถลงยอมรับเป็นครั้งแรกว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารชาวโรฮิงญา 10 คนเมื่อปีก่อนจริง แอมเนสตี้เรียกร้องสืบสวนอย่างจริงจังต่อเหตุรุนแรงอื่นๆ
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้กองทัพเมียนมาออกมายอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารชาวโรฮิงญาในหมู่บ้านอินดิน รัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงญาเสียชีวิต 10 คน ก่อนจะฝังศพพวกเขาไว้บริเวณดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการช่วยชาวบ้านชาวพุทธแก้แค้นกลุ่มติดอาวุธ
การแถลงผ่านเฟซบุ๊กในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กองทัพเมียนมาออกมายอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารชาวโรฮิงญาจริง แม้จะมีหลักฐานมากมายก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่พบว่าการสังหารชาวโรฮิงญาในเมียนมาอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยทางการเมียนมาปฏิเสธข้อหาดังกล่าวมาโดยตลอด
เจมส์ โกเมซ ผู้อำนวยการสำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าข้อมูลนี้ถือได้ว่าเป็นเพียงแค่ยอดเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระและจริงจังต่อเหตุรุนแรงอื่นๆ ในปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ อันเป็นเหตุให้ชาวโรฮิงญากว่า 655,000 คนต้องลี้ภัยออกจากรัฐยะไข่นับแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา
“น่าใจหายที่ทหารพยายามสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารนอกกฎหมายเหล่านี้ โดยอ้างว่าจำเป็นต้องทำเพื่อความมั่นคงและไม่รู้ว่าจะจัดการกับบุคคลเหล่านี้อย่างไร พฤติกรรมเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าการดูหมิ่นเหยียดหยามชีวิตมนุษย์ยังคงเป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับได้ของกองทัพ" เจมส์ โกเมซ กล่าว
แอมเนสตี้และหน่วยงานอื่นๆ ได้เก็บข้อมูลหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากหมู่บ้านอินดินที่กองทัพเมียนมายอมรับว่าก่อเหตุจริงแล้ว ยังมีหมู่บ้านต่างๆ ทั่วภาคเหนือของรัฐยะไข่ที่กองทัพสังหาร ข่มขืน และเผาหมู่บ้านชาวโรฮิงญามากมาย ซึ่งยังไม่มีการแสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด
ขณะที่คณะศึกษาข้อเท็จจริงของสหประชาชาติ (UN Fact-Finding Mission) และผู้สังเกตการณ์อิสระอื่นๆ ยังคงไม่ได้รับอนุญาตให้สามารถเข้าไปลงพื้นที่เพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติมในรัฐยะไข่ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุดหดหู่ เอพีเผยปากคำเหยื่อทางเพศชาวโรฮิงญา ชี้เป็นปฏิบัติการของทหารเมียนมา
ไม่มี'โรฮิงญา' ในถ้อยแถลงของ ซูจี สิ่งยืนยันว่าพวกเขาไร้ตัวตน
ยูนิเซฟ ประกาศเด็กโรฮิงญา 2แสนคน ต้องการความช่วยเหลือด่วน ทั้งด้านร่างกาย-จิตใจ
โรฮิงญาอพยพเเล้ว3 แสนคนรมต.ต่างประเทศบังคลาเทศชี้นี่คือ’ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’
ยูเอ็นชี้วิกฤตโรฮิงญา เป็นตัวอย่างตำราฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นักวิชาการชี้ใช้คำ ‘เบงกาลี’ แทนโรฮิงญาเป็นการจงใจทำลายประวัติศาสตร์พื้นที่
นักวิชาการชี้ ‘ซูจี’ ไร้อำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปมโรฮิงญา
โรฮิงญาอพยพพุ่ง 90,000 คน - "ซูจี" ถูกนานาชาติกดดันหนัก
หยุดปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อพลเรือนชาวโรฮิงญา
ฮิวแมนไรต์โชว์ภาพดาวเทียม ไหม้วอด 700 หลังบ้านชาวโรฮิงญา
เตือนบทบาทไทยกรณี "โรฮิงญา" รับลูก "เมียนมา" เสี่ยงหลายมิติ
รัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธให้ยูเอ็นเข้าตรวจสอบประเด็นฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโรฮิงยา
กลุ่มผู้หญิงโรฮิงยาเผยกับสื่อ ชาวบ้านโดนทรมานสารพัดช่วงทหารกวาดล้าง
WFP รายงานโรฮิงยากว่าแสนคนเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร
โรฮิงญา...จาก "อคติชาติพันธุ์" สู่ "เหยื่อค้ามนุษย์"