งานวิจัยพบคนไทยเกิน50% เห็นด้วยเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติก
งานวิจัยล่าสุดเผยคนไทยเกิน 50% เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมใช้ถุงพลาสติก เชื่อช่วยลดการใช้ แนะทุกภาคส่วนทั้งผู้บริโภค-ผู้ผลิตควรเตรียมปรับตัว
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ) ภายใต้ทุนสนับสนุนของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยผลวิจัยมาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก พบว่าคนไทยมีความตระหนักและตื่นตัวสิ่งแวดล้อมมาก โดยส่วนใหญ่เห็นความสาคัญของปัญหาขยะ ถุงพลาสติกและอยากให้มีมาตรการแก้ไข
นอกจากนี้ ผลวิจัยพบว่า คนไทยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยกับการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติก เพราะจะช่วยลดจำนวนการใช้ ทำให้ลดปริมาณขยะถุงพลาสติก
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร. กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ รองคณบดีคณะนิเทศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษามาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าถุงพลาสติกก่อให้เกิดปัญหามลพิษ และปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้าท่วม สร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
อย่างไรก็ดีผู้ใช้ถุงพลาสติกซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษกลับไม่ได้แบกรับต้นทุนดังกล่าว เนื่องจากได้รับถุง"ฟรี" จากผู้ขายสินค้าและบริการ จึงไม่เกิดแรงจูงใจใดๆ ในการลดการใช้ถุงพลาสติก
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติกจึงเป็นมาตรการ หนึ่งที่จะทำให้ผู้ใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษต้องแบกรับต้นทุนที่ตกอยู่กับสังคมสร้างแรงจูงใจในการลดการใช้ถุงพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิผล
ทั้งนี้ คณะนิเทศาสตร์นวัตกรรมการจัดการ (นิด้า) และ คณะเศรษฐศาสตร์ (มธ) ได้ร่วมกันทำการศึกษาความคิดเห็นของประชาชน ต่อแนวทางความเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อถุงพลาสติก (WTP) และความเต็มใจรับเงินคืน (WTA) จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศโดยศูนย์วิจัยนิด้าโพล พบว่า ร้อยละ 89 ของกลุ่ม ตัวอย่างเห็นด้วย ขยะถุงพลาสติกเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐฯ ควรแก้ไขโดยเร็ว
- ร้อยละ 88 เห็นด้วยว่า การใช้ ถุงพลาสติกมีส่วนทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน
- ร้อยละ 63 เห็นด้วยว่าประชาชนทุกคนควรมีส่วนร่วมในการ แบกรับต้นทุนในการจัดการขยะถุงพลาสติก
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ควรนำมาใช้นั้นพบว่า
- ร้อยละ 78 เห็นด้วยกับนโยบายการห้ามใช้ถุงพลาสติก
ในขณะที่ประชาชนร้อยละ 57 เห็นด้วยกับมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย (กว่าร้อยละ 60) ว่า มาตรการค่าธรรมเนียมฯ จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าการให้คืนเงินสดเมื่อไม่ใช้ถุงฯ หรือ การรณรงค์สร้างจิตสานึก
รศ.ดร. กุลทิพย์ กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษามาตรการที่เกี่ยวข้องในการจัดการถุงพลาสติก ที่ทางโครงการฯจะได้นำเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทางโครงการฯยังได้มีการระดมความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดทาแนวทางในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม เพื่อให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณา
“จากการสำรวจข้อมูลการวิเคราะห์ทางสถิติ แลคณะผู้วิจัยเสนอว่า ควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกในอัตราเดียวกันทุกขนาดเพราะจะส่งผลให้ต้นทุนในการใช้ถุงขนาดเล็กเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าการใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ทำให้การใช้ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีความจำเป็นมากนักลดลงได้อย่างมีประสิทธิผล
สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมคณะผู้วิจัยเสนอว่า ควรอยู่ที่ 1-2 บาทต่อถุงโดยให้จัดเก็บจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ใช้ถุงพลาสติกตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย การจัดเก็บจะเริ่มจากร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากมีระบบการชำระเงินที่สามารถติดตามตรวจสอบได้ โดยค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ควร นำไปใช้ในการจัดการปัญหาขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม” รศ.ดร. กุลทิพย์ กล่าว
ขณะที่ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กล่าวถึงมาตรการเก็บค่าเนียมการใช้ถุงว่า เห็นด้วยและเป็นเรื่องที่ดี เพราะไม่ใช่เฉพาะไทยที่มีแนวคิดนี้ แต่ทั่วโลกทำกัน เพียงแค่ว่าประเด็นที่อยากแยกให้คนทั่วเข้าใจคือ อย่ามองว่าพลาสติกคือผู้ร้าย เพราะต้นตอของปัญหาขยะอยู่ที่พฤติกรรมของคนและระบบการจัดการขยะ (อ่านประกอบ: กลุ่มผู้ผลิตพลาสติกเห็นด้วยเก็บเงินค่าถุง ชี้ปัญหาขยะเหตุจากนิสัยคนและระบบจัดการ )