ยูเอ็นประกาศ5 ธันวาเป็นวันหมอกควันสากล ยกปัญหามลพิษทางอากาศ
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ประกาศให้ 5 ธันวา เป็นวันหมอกควันสากล ยกระดับปัญหามลพิษทางอากาศร่วมกัน หลังพบอัตราเสียชีวิตสูงหลัก 6.5 ล้านคน
เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.60 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Environment ประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมเป็นวันหมอกควันสากล( International Smog Day) เพื่อรำลึกถึงคนที่เสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศ ขณะเดียวกันการประกาศครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายแรกในการยกปัญหาเรื่อมลพิษทางอากาศขึ้นเป็นปัญหาใหญ่ร่วมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนร่วมหาทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าวอีกด้วย
UN Environment ระบุว่า วันนี้พวกเรามีตัวเลือกมากมายในชีวิต การหายใจกลับไม่ใช้หนึ่งในนั้น เพราะไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่ที่ไหน ไม่ว่าอากาศที่หายใจนั้นจะมีมลพิษเท่าใด เราก็ยังต้องหายใจ ตลอดหนึ่งชีวิตของเรา ต้องการอากาศหายใจมากถึง 250 ล้านลิตร เฉลี่ย 10,000,000 ลิตรทุกวัน
วันหมอกควันสากล เกิดขึ้นจากการได้แบ่งปันประสบการณ์ของผู้คนที่ใช้ชีวิตในสองเมืองใหญ่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง อย่างกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย แต่ผลการพูดคุยในครั้งนั้นกลับไปไกลกว่าที่คิดไว้มาก ซึ่งวันหมอกควันสากล ยังเป็นการสนับสนุน โครงการของ UN Environment ในแคมเปญเอาชนะมลพิษ และ แคมเปญหายใจเพื่อชีวิต โดยความพยายามในการนำเอาเรื่องราวเหล่านี้ไปสร้างรูปธรรมเพื่อทำให้เกิดการลดมลพิษทางอากาศได้จริง
ซึ่งวันหมอกควันสากลเกิดจากข้อตกลงกันในการประชุมสภาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นงานชุมนุมระดับโลก การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อมลพิษ
ในรายงานด้านสภาพมลพิษโดยคณะกรรมาธิการด้านมลพิษและสุขภาพประจำสถาบันสำรวจตรวจวัดสุขภาพแลนแซท (The Lancet Commission on Pollution and Health) ฉบับล่าสุดระบุว่าในปี 2015 มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตโดยอัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุนี้มากถึง6.5 ล้านคน
ขณะที่ช่วงต้นเดือนพฤษจิกายนที่ผ่านมา กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย มีดัชนีมลพิษทางอากาศที่เป็นมาตรฐานสากลหรือ ค่า AQI (Air Quality Index) เฉลี่ยประมาณ 600-800 ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ โดยในรายงานข่าวระบุว่า มลพิษ (smog) ในกรุงนิวเดลีนั้นเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันพิษจากรถยนต์ การก่อสร้าง และจากการเผาฟางและเศษผลผลิตที่เหลือจากเกษตรกรรมหลังสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวในรัฐโดยรอบกรุงนิวเดลี อาทิ รัฐหริยาณา (Haryana) และรัฐปัญจาบ (Punjab) ซึ่งปัญหามลพิษในกรุงนิวเดลีมักจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงฤดูหนาว (ระหว่างเดือน ต.ค.- มี.ค.)
ด้าน สถานการณ์มลพิษ ขนาด PM 2.5 ในประเทศไทย ของกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า จากการประมวลค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 19 จุด ใน 14 เมืองทั่วประเทศ ช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 2560 พบว่า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ PM 2.5 ทั้ง 14 เมือง ได้แก่เชียงใหม่ ลำปาง น่าน ตาก ขอนแก่น สระบุรี กรุงเทพฯ ปราจีนบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ราชบุรี และสงขลาเกินค่าความปลอดภัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ไม่ควรเกิน 10 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
อ่านประกอบ
พบฝุ่น PM2.5 ใน 14 เมืองของไทย เกินค่าความปลอดภัย WHO
ฝุ่นละอองไม่เกิน PM2.5 จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน คือ ภัยคุกคามสุขภาวะคนไทย
งานวิจัยล่าสุดเผย มลพิษปนเปื้อนคร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า9ล้านคนในปี2015