พลิก 22 โครงการ 9101 จ.สุรินทร์ 52.5 ล ผลิตปุ๋ยอื้อ-กำหนดค่าวัสดุ แรงงานเท่ากันเป๊ะ 18 แห่ง
เปิดรายงานการประชุม ‘โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ’ อ.ศีขรภูมิ-สุรินทร์ หลังรับงบฯ จัดสรร 52.5 ล. อัดฉีดผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ในชุมชน 18 จาก 22 โครงการ ที่เหลือ ทอผ้าไหม-ปลูกดาวเรือง ระบุค่าวัสดุ-แรงงานชัดเจน
กรณีชาวบ้าน ต.ตรึม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ส่งหนังสือร้องเรียนการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ใน 'โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ' ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าได้เปิดให้ผู้รับเหมามาประมูลงาน แล้วจัดหาอุปกรณ์มาให้ชาวบ้าน ทั้งที่ ยังไม่มีการประชุมวางแผน หรือรับสมัครคนทำงาน โดยกระทรวงเกษตรฯ กำหนดให้ชาวบ้านรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยไว้ใช้เอง เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และจ้างแรงงานในหมู่บ้านเป็นคนทำปุ๋ย แต่ปรากฏว่าในการดำเนินการจริง คณะกรรมการชุมชนและกลุ่มชาวบ้านไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเอง กลับเป็นเกษตรอำเภอที่ให้ผู้รับเหมามาประมูลงาน แล้วจัดหาอุปกรณ์มาให้ชาวบ้าน (อ่านประกอบ :โครงการ 9101 จ.สุรินทร์ ถูกร้อง! จนท.จัดการเอง ซื้อปุ๋ยแพงกว่าชาวบ้าน-ผู้ว่าฯ ตั้ง กก.สอบ)
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำรายงานการประชุมคณะกรรมการ ‘โครงการ 9101 ตามรอบเท้าพ่อฯ’ ครั้งที่ 1/2560 ที่ ห้องประชุมสันติสุข ที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2560 เรื่องการพิจารณาอนุมัติโครงการที่คณะกรรมการฯ ระดับชุมชนเสนอโดยชุมชน 21 ชุมชน จำนวน 22 โครงการ ซึ่งมติที่ประประชุมเห็นควรให้อนุมัติ มาเสนอดังนี้
1.ชุมชน ต.ระแงง
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน โดย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชผักบ้านหนองหว้า ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรในชุมชน และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,297 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
2.ชุมชน ต.ตรึม 1
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรทำนา ต.ตรึม ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,000 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
3.ชุมชน ต.ตรึม 2
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านจังเอิด ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 950 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
4.ชุมชน ต.ช่างปี่ 1
โครงการ ทอผ้าไหมมัดหมี่ โดย กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านตะคร้อ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ ทอผ้าไหม และเหตุความจำเป็น เพื่อรักษาภูมิปัญญาและผ้าไหมไทยให้สามารถเพิ่มมูลค่า และคงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในตลาดของผู้บริโภค โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 920 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,240,045 บาท และค่าแรงงาน 1,259,955 บาท
5.ชุมชน ต.ช่างปี่ 2
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ต.ช่างปี่ โดย กลุ่มเกษตรกรครบวงจร ต.ช่างปี่ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 880 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
6.ชุมชน ต.หนองขวาว
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ บ้านนาฮัง-นาแก ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,272 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
7.ชุมชน ต.ขวาวใหญ่
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มผลิตเม็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ต.ขวาวใหญ่ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 988 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
8.ชุมชน ต.จารพัต 1
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย ผู้เสนอโครงการ กลุ่มผู้ปลูกข้าวพันธุ์ดี ต.จารพัต ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,000 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
9.ชุมชน ต.จารพัต 2
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ต.จารพัต ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,000 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
10.ชุมชนผักไหม
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,086 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
11.ชุมชน ต.แตล 1
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดย ศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,012 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
12.ชุมชน ต.แตล 2
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดย กลุ่มสหกรณ์สตรีบ้านหนองผักบุ้ง ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,030 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
13.ชุมชน ต.หนองเหล็ก 1
โครงการ ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ชุมชน ต.บ้านหนองเหล็ก โดย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเม็ดพันธุ์เกษตรชนบท ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,842 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
14.ชุมชน ต.หนองเหล็ก 2
โครงการ ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ชุมชน ต.บ้านหนองเหล็ก โดย กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 745 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
15.ชุมชน ต.ตรมไพร
โครงการ ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ชุมชน ต.ตรมไพร โดย กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,325 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
16.ชุมชน ต.หนองบัวใต้
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ต.หนองบัว ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 780 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
17.ชุมชน ต.หนองบัวเหนือ
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านหนองโดน ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 879 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,249,500 บาท และค่าแรงงาน 1,250,500 บาท
18.ชุมชน ต.คาละแมะ
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มอินทรีย์ ต.คาละแมะ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,320 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
19.ชุมชน ต.ยาง
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 869 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
20.ชุมชน ต.กุดหวาย
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดย กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 1,269 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 2,500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 1,246,450 บาท และค่าแรงงาน 1,253,550 บาท
21.ชุมชน ต.นารุ่ง
โครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนนารุ่ง โดย ศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ภายในชุมชน และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพทดแทน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปุ๋ยให้มีกำลังผลิตมากขึ้น โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 865 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 1,999,995 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 998,070 บาท และค่าแรงงาน 1,001,925 บาท
22.ชุมชน ต.นารุ่ง
โครงการ ผลิตพืช โดย ศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ผู้เสนอโครงการ ระบุกิจกรรมหลักของโครงการ คือ ผลิตดาวเรืองเพื่อจำหน่าย และเหตุความจำเป็น เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากการผลิตพืช เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชน โดยผู้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มีจำนวน 865 ครัวเรือน
ขณะที่ วงเงินงบประมาณ 500,000 บาท แบ่งเป็น ค่าวัสดุ 249,900 บาท และค่าแรงงาน 250,100 บาท (ดูเอกสารประกอบ)
โดย การประชุมดังกล่าวมี นายอำเภอ เป็นประธาน และมีกรรมการเข้าร่วมประชุมอีก 9 ราย อาทิ ปลัดอำเภอ ฝ่ายความมั่นคง ท้องถิ่นอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ ฯลฯ
ปรากฏชื่อ นายจำนงค์ มีสิทธิ์ เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน ลงนามเป็นผู้จดบันทึก และ นายธนัช ยืนยิ่ง เกษตรอำเภอศีขรภูมิ เป็นผู้ตรวจทาน
น่าสังเกตว่า โครงการทั้งหมดระบุค่าวัสดุและค่าแรงงานไว้เรียบร้อยแล้ว โดย 18 จาก 22 โครงการกำหนดราคาเท่ากัน
สำนักข่าวอิศรารายงานแล้วว่า โครงการ 9101 ระบุวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และกระตุ้นการใช้จ่ายของเกษตรกรในระดับฐานราก ด้วยการสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้นให้กับเกษตรกรในชุมชน 9,101 แห่ง แห่งละ 2.5 ล้านบาท รวม 22,800 ล้านบาท โดยเกษตรกรจะต้องดำเนินโครงการตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การทำฟาร์มชุมชน การเลี้ยงสัตว์เล็ก การทำประมง และการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งแต่ละชุมชนสามารถเลือกทำโครงการที่ต้องการได้ และจะได้รับค่าจ้างในการดำเนินโครงการตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าโครงการ โดยกำหนดเงินค่าจ้างของเกษตรกรจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% ของงบฯ 2.5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าบริหารจัดการ
โดย อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ได้รับงบฯ จัดสรร จำนวน 21 ชุมชน 22 โครงการ รวมจำนวนเงินโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 52.5 ล้านบาท (อ่านประกอบ : เจาะปมโครงการ 9101 จ.สุรินทร์ ขี้ไก่ กก.ละ 4 บาท ชาวบ้านซื้อขายแค่ 2 บาท)
ทั้งหมดคือ รายละเอียดโครงการทั้งหมดจำนวน 22 โครงการของ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ซึ่งถูกร้องเรียนกรณีจัดหาวัสดุสำหรับทำปุ๋ยให้กับชาวบ้าน ว่ามีราคาแพงกว่าที่ชาวบ้านทำขายเอง ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจังหวัดฯ
อ่านประกอบ :
ผู้รับเหมาโครงการ 9101 จ.สุรินทร์ เพิ่งก่อตั้ง ต.ค.59-กก.แจงวิ่งหางานเอง ได้อีก 3 จังหวัด