นักวิชาการ วิพากษ์กรณีรถตู้สื่อหลายสำนักเน้นขายดราม่า ไม่นึกถึงใจญาติ
นักวิชาการสื่อ วิพากษ์ นักข่าวมัวขายแต่ดราม่า ไม่คำนึงผลกระทบต่อจิตใจญาติผู้เสียหาย ขณะที่คนไทยการตระหนักถึงความเสี่ยงในชีวิตประจำวันยังต่ำ
เมื่อเร็วๆ นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีจุฬาฯ เสวนาครั้งที่4 “แนวทางปฏิรูปหลังโศกนาฏกรรมรถตู้” ณ ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2 หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดวงกมล ชาติประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงกรณีหลายสำนักข่าวพยายามขายความดราม่าจากกรณีโศกนาฏกรมรถตู้ว่า รูปแบบการสื่อสารทุกวันนี้ ประเด็นที่สื่อเลือกมาใช้เน้นที่ข่าวดราม่าเกินไป หลายคนอาจแย้งขึ้นมาว่า สำหรับผู้รับสารบางกลุ่มหากเสนออะไรเป็นทางการมากไป อาจไม่เข้าถึง ดังนั้นจึงเลือกความดราม่าเป็นจุดขายเพื่อเป็นวิธีหนึ่งในการเข้าถึง แต่ก่อนอื่นต้องตอบให้ได้ก่อนว่าในการทำดราม่ามีใครต้องรับผลกระทบจากข่าวเหล่านี้ไหม เช่น ญาติพี่น้องของผู้เคราะห์ร้าย เรามีสิทธิไปกระทำกับเขาไหมแบบนั้นไหม ในความเป็นวิชาชีพสื่อ ถือเป็นคุณค่าหลักหรือไม่ ในการรักษาปกป้องพวกเขา
“ถ้าจะสร้างความตระหนัก วิธีการแบบนั้นใช่ทางเลือกเราจะหาทางอื่นที่กระทบทางจิตใจผู้คนน้อยที่สุด หรือต้องยืนยันว่าวิธีอื่นไม่ได้ผล วันนี้เราเร้าอารมณ์มากี่ข่าว แล้วได้ลองวิธีอื่นหรือยัง ทางเลือกในรูปแบบการสื่อสาร เป็นความท้าทายของสื่อมวลชน วิธีการสื่อสารไหนลดผลกระทบมากที่สุด ทางเลือกอื่นอาจช้า แต่เราไม่ทำลายวิชาชีพของเรา เราก็เลือกทางนั้น”
ผศ.ดร.ดวงกมล กล่าวอีกว่า ในเชิงสาเหตุสื่อต้องทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น ถ้าวิเคราะห์ประเด็นปัญหารถตู้ ว่าเกิดจากอะไร ต้องรายงานประมวลประเด็นอื่นให้ได้ ไม่ใช่แค่รายงานข้อเท็จจริงตรงๆ อย่างเดียว ทำอย่างไรให้เกิดการสื่อสาร ที่จรรโลงสังคมอย่างแท้จริง
ผศ.ดร.ดวงกมล กล่าวด้วยว่า เรื่องวัฒนธรรมความเสี่ยงเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมไทย คนไทยในภาพรวมไม่ตระหนักถึงความเสี่ยง เช่นเรื่องอาหารการกิน เราเคยตระไหมว่าสิ่งที่เรากินมีอะไรอันตรายบ้าง ผู้ประกอบการใส่อะไรให้เรากิน สารเคมีมีเท่าไร แค่นี่ถือเป็นอาชญกรรมแล้ว ถ้าเราตระหนักจะเกิดการผลักดันอะไรบ้างอย่าง
"ย้อนมาถึงเรื่องรถตู้ อาจเป็นเพราะเป็นพุทธหรือเปล่า เราเลยเชื่อในเรื่องบุญกรรม หรือว่าเราไม่มีทางเลือก เลยทำใจยอมรับสิ่งนั้น ทำให้ทุกวันนี้เราอยู่ด้วยความประมาท สิ่งที่ทำให้เราเพิกเฉยคือ แล้วจะให้ทำอย่างไร สิ่งที่สื่อทำคือการสร้างความตระหนก แต่ความตระหนกโดยไม่มีทางออกก็ไม่มีผล "
นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ กล่าวด้วยว่า ความรับผิดชอบในเรื่องความเสี่ยงใครจะรับผิดชอบ รัฐ ผู้ประกอบการ ต้องตกลงในระดับหลักการ หน้าที่การให้รับความผิดชอบของผู้ประกอบการอยู่ตรงไหน การดูเเลระหว่างรัฐ องค์กรที่รับผิดชอบ ปัญหาอยู่ที่ กระบวนการต้นเหตุของปัญหา การกำกับดูเเล
อ่านประกอบ
นพ.ธนะพงศ์ ชี้ถึงเวลานำตัวล็อคความเร็วมาใช้- รื้อระบบประกอบการรถตู้
คุยกับนพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ มองราก (ลึก) ปัญหารถตู้
ปัญหารถตู้ นักวิชาการติงอย่าเปลี่ยนแค่รถ ต้องสังคายนาโครงสร้างประกอบการด้วย
ภาพประกอบจาก
http://deeps.tnews.co.th/contents/218975/
http://clip.teenee.com/news/55103.html
http://news.tlcthai.com/news-clips/802977.html