กฤษฎีกาชี้ นําที่การรถไฟฯ รง.มักกะสัน ทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้
คณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบข้อหารือการรถไฟฯ ชี้การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ สามารถดําเนินการได้
จากกรณี กรมธนารักษ์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องยุติแผนการส่งมอบที่ดินมักกะสันเพื่อแลกกับภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท.จำนวนกว่า 6.1 หมื่นล้านไปก่อน เพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในข้อกฎหมายว่าสามารถนำที่ดินที่ร.ฟ.ท.เวนคืนมาเพื่อกิจการรถไฟ ไปใช้เพื่อกิจการอื่นได้หรือไม่นั้น
ล่าสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์จึงสามารถดําเนินการได้ (http://www.krisdika.go.th)
หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รฟ1/1829/2559 ลงวันที่ 14 กันยายน 2559 ถึงสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า เนื่องด้วยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้มีมติในคราวประชุมที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดําเนินการจัดทําแผนการส่งมอบพื้นที่โรงงานมักกะสันให้แก่กระทรวงการคลังให้ชัดเจน พร้อมทั้งให้เร่งรัดดําเนินการส่งมอบเพื่อลดภาระหนี้สินโดยเร็ว
และในคราวประชุมร่วมระหว่างกระทรวงการคลัง (โดยกรมธนารักษ์และสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 ได้มีมติให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงการนําพื้นที่ดังกล่าวไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ว่าจะสามารถดําเนินการได้หรือไม่ อย่างไร
การรถไฟแห่งประเทศไทยตรวจสอบแล้วเห็นว่าพื้นที่โรงงานมักกะสันได้มาโดยบทบัญญัติดังต่อไปนี้
1. ประกาศพระราชกฤษฎีกาในการจัดซื้อที่ดินสร้างทางรถไฟสายตะวันออก ลงวันที่ 20 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 124
2. ประกาศเพิ่มเติมขยายเขตที่ดินสร้างโรงงานใหม่ในทางรถไฟสายตะวันออก ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 125
3. ประกาศเพิ่มเติมขยายเขตที่ดินสําหรับสร้างโรงงานใหญ่ กรมรถไฟหลวงริมทางรถไฟสายตะวันออก ณ ตําบลมักกะสัน (ครั้งที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายน พระพุทธศักราช 2461
4. พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อําเภอดุสิต อําเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร พุทธศักราช 2481
5. พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่อําเภอดุสิต จังหวัดพระนคร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2482
6. พระราชบัญญัติโอนคลองมักกะสัน ตําบลมักกะสัน อําเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้กรมรถไฟ พุทธศักราช 2482
7. พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ วัดมักกะสัน ตําบลถนนพญาไท อําเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ให้แก่กรมรถไฟ พุทธศักราช 2485
จากข้อเท็จจริงข้างต้น กรมรถไฟได้พื้นที่โรงงานมักกะสันมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีการก่อสร้างโรงงานมักกะสันตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงรับโอนกิจการทรัพย์สินและหนี้สินจากกรมรถไฟ
ทั้งนี้ ตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงขอหารือสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. พระบรมราชโองการและพระราชบัญญัติ มีลําดับศักดิ์กฎหมายเป็นเช่นใด
2. การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสัน (เพื่อประโยชน์ในกิจการเดินรถไฟ) มาเป็นโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ถือว่าขัดกับพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือไม่ อย่างไร
3. จากประเด็น 2. หากขัดแย้งกับประกาศพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์แล้ว จะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาข้อหารือของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประเด็นที่หนึ่ง พระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินในพื้นที่โรงงานมักกะสัน มีผลในทางกฎหมายอย่างไร นั้นเห็นว่า ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอํานาจโดยพระองค์เอง ทั้งในทางนิติบัญญัติและในทางบริหาร ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเป็นกฎหมายหรือไม่นั้นก็ต้องแล้วแต่ว่าในการมีพระบรมราชโองการนั้น พระมหากษัตริย์ได้ทรงใช้พระราชอํานาจในทางใด ถ้าพระองค์ทรงใช้พระราชอํานาจในทางนิติบัญญัติพระบรมราชโองการนั้นก็เป็นกฎหมาย แต่ถ้าพระองค์ทรงใช้พระราชอํานาจในทางบริหารพระบรมราชโองการนั้นก็มิใช่กฎหมาย หากเป็นเพียงคําสั่งในทางบริหารอย่างหนึ่งเท่านั้น
ประเด็นที่สอง การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จะสามารถดําเนินการได้หรือไม่ อย่างไร นั้น เห็นว่า การนําที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทําโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์จึงสามารถดําเนินการได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
‘มักกะสัน สวนสร้างสรรค์’ ปอดผืนสุดท้ายใจกลางกรุง
ดีที่สุดสำหรับมักกะสัน คืออะไร ฟังมุมคิด 'ต่อ-ธนญชัย ศรศรีวิชัย'
ภาคประชาชนลงขันความคิด เปลี่ยน ‘มักกะสัน’ เพิ่มปอดให้กรุงเทพฯ