- Home
- South
- สกู๊ปข่าว
- เปิดผลวิจัย "คณะลูกขุนพลเมือง" หนุนเลือกตั้งผู้ว่าการมณฑล - หย่อนบัตรเฟ้น "พ่อเมือง" 4 จังหวัดชายแดนใต้
เปิดผลวิจัย "คณะลูกขุนพลเมือง" หนุนเลือกตั้งผู้ว่าการมณฑล - หย่อนบัตรเฟ้น "พ่อเมือง" 4 จังหวัดชายแดนใต้
สถานวิจัยความขัดแย้งฯ ม.อ.ปัตตานี จับมือศูนย์สันติวิธีฯ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงผลวิจัยตามกระบวนการ "ลูกขุนพลเมือง" หลังรับฟังแนวคิดดับไฟใต้จากสามัญชนคนธรรมดา สรุปหนุนจัดรูปแบบการปกครองพิเศษใหม่ชายแดนใต้ เลือกตั้งผู้ว่าการมณฑล ยกสถานะ 4 อำเภอสงขลาขึ้นเป็นจังหวัด พร้อมเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด 4 จังหวัดชายแดน
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) และศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แถลงผลวิจัยในโครงการวิจัยศึกษาพัฒนาต้นแบบการบริหารรัฐกิจและการปกครองแบบพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้
โครงการวิจัยดังกล่าวใช้วิธีการทดสอบกับภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป โดยยก 8 โมเดล (รูปแบบ) การปกครองที่มีการกล่าวถึงก่อนหน้านี้ขึ้นมาพิจารณา แล้วใช้รูปแบบการวิจัยแบบใหม่ที่ชื่อว่า "คณะลูกขุนพลเมือง" หรือ Citizens Jury ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Jefferson Center ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ กระบวนการของการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นการออกแบบกระบวนการทั้งหมดภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการที่ปรึกษา แล้วสุ่มคัดเลือก "คณะลูกขุนพลเมือง" หรือตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมพิจารณารูปแบบการปกครอง ส่วนระยะที่สองเป็นกระบวนการรับฟังและปรึกษาหารือ โดยคณะลูกขุนพลเมืองรับฟังและซักถามข้อมูลเกี่ยวกับการปกครองรูปแบบต่างๆ จากพยาน ก่อนจะอภิปรายอย่างอิสระ กระทั่งหารือร่วมกันสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการวิจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากผลสรุปของการอภิปรายและปรึกษาหารือของคณะลูกขุนพลเมืองใน 3 ประเด็นได้แก่
ประเด็นที่ 1 อะไรคือคุณค่าสำคัญในการสร้างความยุติธรรมและสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้? ที่ประชุมคณะลูกขุนพลเมืองมีฉันทามติว่า ความยุติธรรมเป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุดอันนำมาซึ่งความสงบสุขและนำไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การศึกษา และคุณภาพชีวิต
ประเด็นที่ 2 รูปแบบการปกครองในปัจจุบันสามารถสร้างความยุติธรรมและสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้หรือไม่ อย่างไร? คณะลูกขุนพลเมืองมีความเห็นว่า โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ มีช่องโหว่ทางการปฏิบัติ ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม สายการบังคับบัญชายาวเกินไป ทำให้ข้าราชการในพื้นที่ไม่สนองตอบความต้องการของประชาชน แต่ไปสนองตอบความต้องการของผู้บังคับบัญชาจากส่วนกลาง
ประเด็นที่ 3 การปกครองรูปแบบใดจะนำมาซึ่งความยุติธรรมและสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้? คณะลูกขุนพลเมืองมีข้อเสนอให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเว้นด้านความมั่นคง (ทหาร) การต่างประเทศ และนโยบายด้านการเงิน แล้วให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใหม่ โดยให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคมาขึ้นกับส่วนท้องถิ่นแทน
ขณะที่ผู้บริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการคัดกรองที่เป็นตัวแทนทุกภาคส่วนก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งจะจัดขึ้น 2 ระดับ คือ ระดับมณฑล 1 คน เป็นผู้ว่าการมณฑล ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (ในปัจจุบัน) และระดับจังหวัด 4 คน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดละ 1 คน โดย 4 อำเภอของ จ.สงขลา ให้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า โครงการลูกขุนพลเมืองเป็นแนวคิดใหม่ในการตัดสินนโยบายและประเด็นทางการเมืองโดยให้ความสนใจกับการตัดสินใจของสามัญชนคนธรรมดาที่มีความเข้าใจและมีเหตุผล มีข้อมูลประกอบการคิดการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และช่วยกันคิดหาทางเลือกให้สังคมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ระบบลูกขุนจะเป็นตัวเสริมให้กับประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่เรามีอยู่แล้ว เช่น ระบบรัฐสภา มีความสมบูรณ์มากขึ้น แต่ไม่ใช่มาแทนระบบตัวแทนทางการเมืองแบบเดิมที่มีอยู่ เพียงแต่เพิ่มทางเลือกใหม่ในการตัดสินใจโดยประชาชนเพื่อประชาชน
"จุดเริ่มมาจากแนวคิดที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของประชาชน (Deliberative Democracy) หรือประชาธิปไตยทางตรงที่เน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงในเรื่องนโยบายสาธารณะ เพราะเราเชื่อในประชาชนเราถึงมีระบบนี้ได้ เมื่อนำแนวคิดนี้มาใช้กับทางเลือกสาธารณะ เช่น นโยบายที่ทำให้เกิดโครงการสาธารณะ หรือการเลือกรูปแบบการเมืองการปกครองแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงต้องมีระบบคณะลูกขุนมาตัดสินใจร่วมกันว่าสังคมคิดอย่างไร เชื่ออย่างไร และตัดสินใจอย่างไรในเรื่องการปกครองแบบธรรมาภิบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้"
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวอีกว่า การดำเนินการมีการเชิญหรือคัดเลือกตัวแทนของประชาชนโดยการสุ่มตัวอย่างสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 40 คนซึ่งทั้งหมดเป็นประชาชนธรรมดาไม่ใช่กลุ่มผู้นำในพื้นที่ ซึ่งคนกลุ่มนี้เราได้เชิญมาเพื่อนั่งฟังความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีโมเดลในการปกครองพิเศษหรือรูปแบบของการจัดการแบบใหม่ๆ ประมาณ 8 โมเดล ใช้เวลาประมาณ 5 วัน โดยเริ่มต้นจะมีผู้นำเสนอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญให้คณะลูกขุนรับฟังและถกเถียงตั้งคำถามแล้วหาข้อสรุปกันว่ารูปแบบไหนเหมาะสมที่สุด จนสุดท้ายมาถึงขั้นตอนการวินิจฉัยของคณะลูกขุน คล้ายๆ กับระบบการวินิจฉัยของศาลในระบบลูกขุน
โดยข้อสรุปที่เราได้มานั้น คณะลูกขุนเห็นว่ารูปแบบที่ใกล้เคียงกับข้อเสนอของพวกเขามากที่สุดคือ "มหานครปัตตานี" ถือเป็นรูปแบบที่ถูกต้องและเป็นความต้องการของคณะลูกขุนซึ่งก็คือตัวแทนประชาชนคนธรรมดาในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง
-----------------------------------------------------------------------------------------
บรรยายภาพ : บรรยากาศในวันแถลงข่าว
อ่านประกอบ : ข่าวและสกู๊ปเกี่ยวกับนครปัตตานีและรูปแบบการปกครองพิเศษใหม่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเว็บอิศรา
-"เพื่อไทย"เอาจริงชงร่าง ก.ม.นครปัตตานี เลือกตั้งผู้ว่าฯ-เลิก ศอ.บต.
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/scoop-news-documentary/783-qq----.html
- One step closer to reality for Nakhon Pattani ?
http://www.south.isranews.org/english-article/789-one-step-closer-to-reality-for-nakhon-pattani-.html
-"นครปัตตานี"ในวาระร้อน...นายกเทศบาลนครยะลาย้ำ "เนื้อหา" สำคัญกว่า "รูปแบบ"
http://www.south.isranews.org/interviews/791-qq-qq-qq.html
-โมเดลจากพื้นที่: เผชิญแรงกดดันไฟใต้และ "ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ"
http://www.south.isranews.org/articless/739--qq.html
-7 ปีไฟใต้...วัดใจ"ปกครองพิเศษ" ปชป.งัดโมเดลใหม่สู้ "นครปัตตานี"
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/documentary/667-7-qq-qq.html
- บวรศักดิ์ : ได้เวลาพิจารณาการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษชายแดนใต้
http://www.south.isranews.org/interviews/656-2010-12-27-08-30-01.html
- อารีเพ็ญ : ผมไม่เห็นด้วยกับนครปัตตานี
http://www.south.isranews.org/interviews/638-2010-12-15-16-43-00.html
- อีกครั้งกับ "นครปัตตานี" 8 ความคาดหวังของคนพื้นที่ต่อรูปแบบการปกครองใหม่
http://www.south.isranews.org/academic-arena/637--8-.html
- Nakhon Pattani: A tangible dream or a cause of confusion?
http://www.south.isranews.org/english-article/639-nakhon-pattani-a-tangible-dream-or-a-cause-of-confusion.html
- ตรวจความพร้อม "มาตรา 21" เมื่อทุกฝ่ายขานรับ แล้วกองทัพมีคำตอบหรือยัง?
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/scoop-news-documentary/622--21-.html
- เมื่อปฏิบัติการทางทหารถึงทางตัน จับตา "นครปัตตานี-ม.21" ดับไฟใต้
http://www.south.isranews.org/academic-arena/157--q-21q-.html
- กะเทาะความคิด "อัคคชา พรหมสูตร" ผู้เสนอร่างกฎหมายปัตตานีมหานคร
http://www.south.isranews.org/academic-arena/76-2009-12-21-02-23-19.html
- พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ : ชายแดนใต้ไม่ถูกแบ่งแยก...แม้มี "นครปัตตานี"
http://www.south.isranews.org/academic-arena/68-2009-12-17-03-04-17.html
- นครปัตตานีกดดันรัฐ นายกฯเล็งปรับปรุง "องค์กรปกครองท้องถิ่น" นำร่องจังหวัดชายแดน
http://www.south.isranews.org/other-news/63--qq-.html
- เทียบโมเดล "นครปัตตานี" แน่หรือคือยุทธวิธีดับไฟใต้?
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/scoop-news-documentary/61-qq-.html
- ความฝันอันแรงร้อน...นครปัตตานี
http://www.south.isranews.org/academic-arena/58-2009-12-12-17-44-21.html
- ฟังเสียงรากหญ้าพูดถึงสะพานมิตรภาพ นายกฯมาเลย์เยือนใต้ และนครปัตตานี
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/documentary/56-qq-.html
- นายกฯมาเลย์เยือนใต้ จับตา "มาร์ค" พลิกเกมนครปัตตานี
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/scoop-news-documentary/49-2009-12-08-06-20-28.html
- นครปัตตานี...โดนใจแต่ไม่มั่นใจแก้วิกฤติชายแดนใต้
http://www.south.isranews.org/academic-arena/38-2009-12-03-17-52-30.html
- "บิ๊กจิ๋ว"ขยายความ "นครปัตตานี" ฟื้นความยิ่งใหญ่ของ "ระเบียงมักกะฮ์"
http://www.south.isranews.org/academic-arena/37-qq--qq--qq.html
- พิเคราะห์ "ลมปาก" นักการเมือง จาก "คำประกาศปัตตานี-ปฏิญญายะลา" ถึง "นครปัตตานี"
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/scoop-news-documentary/27--qq-q-q-qq-.html
- "นครปัตตานี" นักการเมืองจบแล้ว แต่คนพื้นที่ยังไม่จบ
http://www.south.isranews.org/scoop-and-documentary/scoop-news-documentary/16-2009-11-19-14-22-12.html
- ชัดๆ อีกครั้งกับผู้นำมาเลเซีย...อะไรคือรูปแบบ "การปกครองพิเศษ" สำหรับชายแดนใต้?
http://www.south.isranews.org/interviews/12-2009-11-17-19-21-02.html