- Home
- Thaireform
- หลากมิติ
- พระราชกําหนด การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
พระราชกําหนด การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559
พระราชกําหนด
การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
พ.ศ. 2559
-------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เป็นปีที่ 71 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกําหนดนี้เรียกว่า “พระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้าง
ในประเทศ พ.ศ. 2559”
มาตรา 2 พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา 3 พระราชกําหนดนี้ไม่ใช้บังคับกับ
(1) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
(2) การจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล
มาตรา 4 ในพระราชกําหนดนี้
“การนําคนต่างด้าวมาทํางาน” หมายความว่า การดําเนินการใดๆ เพื่อนําคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาต
ให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจ
ที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือตามนโยบายของรัฐบาลว่าด้วยการจ้างแรงงานมาทํางาน
กับนายจ้างในประเทศ โดยจะมีค่าบริการหรือค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
“คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
“นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศกับตนด้วย
“ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นการตอบแทนการนําคนต่างด้าว
มาทํางาน
“ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการนําคนต่างด้าวมาทํางาน
“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานของผู้รับอนุญาต
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกําหนดนี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกําหนดนี้
มาตรา 5ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชกําหนดนี้และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกําหนดนี้ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกําหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกําหนดนี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด 1
บททั่วไป
---------------------------
มาตรา 6 การนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศมี 2 กรณี ดังนี้
(1) กรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นผู้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
(2) กรณีที่นายจ้างเป็นผู้นําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนําคนต่างด้าวมาทํางานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 7 ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจภัยพิบัติสาธารณะหรือกรณีอื่นในลักษณะเดียวกัน รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตหรือนายจ้างนําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในประเทศภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จําต้องปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้ในกรณีใดๆ ก็ได้
มาตรา 8 ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนเองในประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี
หมวด 2
การประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
---------------------------
มาตรา 9 ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 10 ผู้ขออนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีทุนจดทะเบียนและชําระแล้วตามที่อธิบดีประกาศกําหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
(2) มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนทุนทั้งหมด และจะต้องมีจํานวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดเว้นแต่ในกรณีที่มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญาหรือความผูกพันตามพันธกรณีนั้น
(3) มีสํานักงานอยู่ในที่ตั้งที่เป็นสัดส่วน เปิดเผย มีหลักแหล่งที่แน่นอน และไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
(4) ไม่เป็นผู้รับอนุญาต ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชกําหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงาน
ทางทะเล
(5) มีผู้จัดการซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) มีสัญชาติไทย
(ข) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(ค) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาต หรือในขณะที่นิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชกําหนดนี้กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล
(ง) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(จ) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(ฉ)ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทําโดยทุจริตเป็นองค์ประกอบ หรือในความผิดตามพระราชกําหนดนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล
มาตรา 11 ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันอันสมควรไว้กับอธิบดี เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ และเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้ ก่อนที่อธิบดีจะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขออนุญาต เป็นจํานวนเงินตามที่กําหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท
การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การหักหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกันการหักเงินจากหลักประกันชดใช้ให้แก่นายจ้างหรือคนต่างด้าวในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่ม และการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตวางไว้ตามวรรคหนึ่งลดลงเพราะถูกใช้จ่ายไปตามพระราชกําหนดนี้ให้อธิบดีสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตวางหลักประกันเพิ่มจนครบจํานวนเงินที่กําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่ง
มาตรา 12 ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคําขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวันเมื่อได้ยื่นคําขอดังกล่าวแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าอธิบดีจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ
ใบอนุญาตนั้นการขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด
ในกฎกระทรวง
มาตรา 13 ผ้รูับอนุญาตต้องยื่นคําขอใบแทนใบอนุญาตในกรณีที่ใบอนุญาตชํารุดในสาระสําคัญสูญหาย หรือถูกทําลาย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการชํารุด สูญหาย หรือถูกทําลายของใบอนุญาต
ดังกล่าว
การขอและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ํ
มาตรา 14 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สํานักงานตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา 15 ผู้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอต่ออธิบดี เมื่อประสงค์จะย้ายสํานักงานหรือตั้งสํานักงานชั่วคราวที่มิใช่สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา 16 ผู้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอต่ออธิบดี เมื่อประสงค์จะเปลี่ยนผู้จัดการ
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา 17 ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาตตามมาตรา 9 ไม่ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 12ไม่อนุญาตให้ย้ายสํานักงานหรือให้จัดตั้งสํานักงานชั่วคราวตามมาตรา 15 ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการตามมาตรา16 ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาต
คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา18ผู้รับอนุญาตต้องจดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ผู้รับอนุญาตต้องใช้ลูกจ้างซึ่งได้จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งแล้วเท่านั้นให้ทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
ผู้รับอนุญาตต้องแสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ณ สํานักงาน เพื่อให้นายจ้างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบความเป็นลูกจ้างดังกล่าวได้
ใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาต ให้คุ้มถึงลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศซึ่งผู้รับอนุญาตผู้นั้นได้จดทะเบียนไว้ด้วย
การกระทําที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศของลูกจ้างดังกล่าวซึ่งผู้รับอนุญาตได้จดทะเบียนไว้ ให้ถือว่าเป็นการกระทาของผ ํ ู้รับอนุญาตด้วย
มาตรา 19 ลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา10 (5) และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1)เป็นลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตรายอื่นตามพระราชกําหนดนี้
(2)เป็นตัวแทนจัดหางานหรือลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ในขณะเดียวกัน
มาตรา 20 การประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศเป็นอันสิ้นสุดลง
ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตสิ้นอายุ
(2) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
(3) ไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
(4) ผู้รับอนุญาตยกเลิกวัตถุประสงค์ของบริษัทในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
(5) ผู้รับอนุญาตเลิกบริษัท
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งและผู้รับอนุญาตมีความผูกพันตามสัญญากับนายจ้างอยู่ให้ผู้รับอนุญาตที่ยังคงมีภาระหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้แจ้งต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
ในกรณีตาม (4) และ (5) ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่ออธิบดีและส่งใบอนุญาตคืนแก่อธิบดีโดยไม่ชักช้า
มาตรา 21 หลักประกันที่ผู้รับอนุญาตวางไว้ตามมาตรา 11 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้รับอนุญาตยังมิได้เลิกประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศหรือผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้วแต่ยังมีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศและไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคําขอรับหลักประกันคืนต่ออธิบดีเมื่ออธิบดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับอนุญาตไม่มีความรับผิดที่ต้องชดใช้ตามพระราชกําหนดนี้ให้แจ้งแก่ผู้รับอนุญาตเป็นหนังสือเพื่อมารับหลักประกันคืน
ให้ผู้รับอนุญาตรับหลักประกันคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่รับหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา 22 ผู้จัดการหรือลูกจ้างต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้องเมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสํานักงาน
บัตรประจําตัวผู้จัดการ หรือลูกจ้าง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกบัตร
ผู้รับอนุญาต ผู้จัดการ หรือลูกจ้าง ต้องยื่นคําขอรับใบแทนบัตรประจําตัว ในกรณีที่บัตรประจําตัวชํารุดในสาระสําคัญ สูญหาย หรือถูกทําลาย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการชํารุดสูญหาย หรือถูกทําลายของบัตรประจําตัวดังกล่าว
การขอมีบัตร การออกบัตรประจําตัว และการออกใบแทนบัตรประจําตัวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา 23 ผู้จัดการหรือลูกจ้างซึ่งพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างต้องส่งคืนบัตรประจําตัวแก่อธิบดีหรือผู้รับอนุญาตภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างผู้รับอนุญาตซึ่งได้รับบัตรประจําตัวคืนตามวรรคหนึ่งต้องส่งบัตรประจําตัวนั้นแก่อธิบดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้าง
มาตรา 24 ในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ผู้รับอนุญาตต้องทําสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในกรณีที่ผู้รับอนุญาตมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความครบถ้วนของรายละเอียดในสัญญาว่าเป็นไปตามที่ประกาศกําหนดหรือไม่ ให้ส่งสัญญาดังกล่าวแก่อธิบดีเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ให้อธิบดีแจ้งแก่ผู้รับอนุญาตทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสัญญา
มาตรา 25 ในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ
(1) ห้ามผู้รับอนุญาตเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากนายจ้างเว้นแต่ค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด
(2) ห้ามผู้รับอนุญาตเรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากคนต่างด้าว
กรณีตาม(1)ผู้รับอนุญาตต้องออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างเมื่อได้รับค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย ตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา 26 ผู้รับอนุญาตต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศต่ออธิบดีตามแบบรายงานที่อธิบดีกําหนด ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป
หมวด 3
หน้าที่และความรับผิดชอบ
---------------------------
มาตรา 27 นายจ้างซึ่งประสงค์จะนําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนเองต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดี เมื่อได้รับหลักประกันแล้วให้อธิบดีอนุญาตให้นายจ้างนั้นนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศได้การวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การหักหลักประกันในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการที่นายจ้างได้นําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ การเรียกหลักประกันเพิ่มและการขอรับหลักประกันคืน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 28 ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับตนเองในประเทศ หากนายจ้างเลิกจ้างคนต่างด้าว คนต่างด้าวลาออกจากงานหรือคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างจนครบกําหนดตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ นายจ้างต้องแจ้งต่ออธิบดีและต้องจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับนายจ้างหรือวันที่ครบกําหนดตามสัญญา แล้วแต่กรณี
หากนายจ้างไม่ดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่งให้อธิบดีดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่นายจ้างได้วางไว้ตามมาตรา27
มาตรา 29 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ แต่นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทํางาน หรือคนต่างด้าวไม่ยินยอมทํางานกับนายจ้างนั้น หรือคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างในประเทศตามสัญญาแล้วแต่นายจ้างเลิกจ้าง หรือคนต่างด้าวได้ลาออกจากงานก่อนครบอายุสัญญา ให้ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทางเว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะทํางานกับนายจ้างรายอื่นที่มีลักษณะงานทํานองเดียวกัน ผู้รับอนุญาตจะจัดให้ลูกจ้างทํางานกับนายจ้างรายอื่นตามความประสงค์ของลูกจ้างก็ได้แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่เลิกทํางานกับนายจ้างรายเดิม
มาตรา 30 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่นําคนต่างด้าวมาทํางานตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศให้คืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนายจ้างไปแล้วทั้งหมดให้แก่นายจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดตามสัญญาดังกล่าว
มาตรา 31 เมื่อคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างจนครบกําหนดตามสัญญาการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ หรือไม่ได้ทํางานกับนายจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งผู้รับอนุญาตโดยไม่ชักช้าเพื่อให้ผู้รับอนุญาตจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางที่ได้นําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ครบกําหนดตามสัญญาหรือวันที่คนต่างด้าวไม่ได้ทํางานกับนายจ้างแล้วแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศเมื่อคนต่างด้าวได้ทํางานกับนายจ้างจนครบกําหนดตามสัญญาแล้วให้นายจ้างแจ้งต่ออธิบดีเพื่อดําเนินการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง โดยหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของผู้รับอนุญาตที่ได้วางไว้ตามมาตรา 11
มาตรา 32 ในกรณีที่คนต่างด้าวเข้ามาทํางานตามพระราชกําหนดนี้ และต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่นให้หน่วยงานที่ดําเนินการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตได้
มาตรา 33 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา31วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหักค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา 11 คืนให้แก่นายจ้างและเมื่อได้ดําเนินการหักค่าบริการและค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ให้อธิบดีแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบโดยไม่ชักช้า
หมวด 4
การควบคุม
---------------------------
มาตรา 34 ผู้รับอนุญาตนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศต้องใช้ชื่อ คําแสดงชื่อหรือคําอื่นใดในการประกอบธุรกิจว่า “บริษัทนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ” และจะใช้ถ้อยคําหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกันประกอบด้วยก็ได้
มาตรา 35 ห้ามผู้ใดใช้ชื่อ คําแสดงชื่อ หรือคําอื่นใดว่า “บริษัทนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ” หรือถ้อยคําหรืออักษรต่างประเทศอื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกัน
มาตรา 36 ห้ามผู้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
มาตรา 37 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ ให้อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ
ดังต่อไปนี้
(1)มีหนังสือเรียกหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงรวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้
(2)เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชกําหนดนี้
(3) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัด เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
มีพยานหลักฐานในการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเพื่อพบและช่วยคนต่างด้าวที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเนิ่นช้ากว่า
จะเอาหมายค้นมาได้ พยานหลักฐานนั้นอาจถูกโยกย้าย ซ่อนเร้น หรือทําลายไปเสียก่อน หรือคนต่างด้าวนั้น
อาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น
(4) ยึดหรืออายัด เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชกําหนดนี้
ในการใช้อํานาจตาม (3) อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้นในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าค้นให้รายงานเหตุผลที่ทําให้สามารถเข้าค้นได้ รวมทั้งผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่ออธิบดี และให้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าค้นจัดทําสําเนารายงานดังกล่าวให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบสําเนารายงานนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทําได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและขึ้นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องดํารงตําแหน่งนายอําเภอหรือเป็นข้าราชการตํารวจตั้งแต่ระดับรองผู้กํากับการหรือข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป ทั้งนี้ ให้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าค้นส่งสําเนารายงานเหตุผลและผลการตรวจค้น บัญชีพยานหลักฐานหรือคนต่างด้าวที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบัญชีทรัพย์ที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอํานาจเหนือท้องที่ที่ทําการค้นหรือศาลอาญา ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการตรวจค้นเพื่อเป็นหลักฐาน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๒) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา 38 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจําตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศ
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา 39 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดนี้ ให้อธิบดีและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทําความผิดตามพระราชกําหนดนี้ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 40 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 10 หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกําหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ให้อธิบดีมีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตนั้นปฏิบัติให้ถูกต้องหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
มาตรา 41 อธิบดีมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามคําสั่งของอธิบดีตามมาตรา 40 ภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) ผู้รับอนุญาตเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี หรือเคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(3) อธิบดีเห็นว่าผู้รับอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชกําหนดนี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ได้อีกต่อไปแล้ว
(4) ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทางมีส่วนรู้เห็นหรือเป็นผู้สนับสนุนการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องดังกล่าวในการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ และอธิบดีได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศต้นทางหรือห้ามมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งเตือนของอธิบดี
(5) ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนมาตรา 42 วรรคสอง
(6)อธิบดีเห็นว่าการที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชกําหนดนี้หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชกําหนดนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรง
มาตรา 42 คําสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทําเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับอนุญาต หรือผู้รับอนุญาตไม่ยอมรับคําสั่ง ให้ปิดคําสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สํานักงานของผู้รับอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับอนุญาตได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคําสั่งในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตดําเนินการใดๆ เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศ เว้นแต่การดําเนินการที่ต้องกระทําต่อเนื่องจากการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศก่อนวันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตนกลับไปยังประเทศต้นทาง จนกว่าจะพ้นจากความรับผิดตามพระราชกําหนดนี้และให้รายงานให้อธิบดีทราบเกี่ยวกับคนต่างด้าวซึ่งยังอยู่ในความรับผิดชอบของตน
มาตรา 43 ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งคําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดการอุทธรณ์คําสั่งต่อรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด 5
บทกําหนดโทษ
---------------------------
มาตรา 44 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 วรรคสอง ในการนําคนต่างด้าวมาทํางานในประเทศ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 45 นายจ้างผู้ใด นําคนต่างด้าวมาทํางานให้กับตนเองในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 8 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 46 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับมาตรา 47 ลูกจ้างผู้ใด ทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศโดยที่ตนเองมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 10 (5) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 48 ผู้รับอนุญาตผู้ใด กระทําการหรือไม่กระทําการ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่ยื่นคําขอใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายตามมาตรา 14 หรือย้ายสํานักงานหรือตั้งสํานักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15
วรรคหนึ่ง
(2) เปลี่ยนผู้จัดการโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ไม่จดทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งหรือใช้บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างที่ได้จดทะเบียนให้ทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามมาตรา 18 วรรคสอง
(3) ไม่แจ้งต่อนายจ้างหรือไม่แจ้งต่ออธิบดีหรือไม่ส่งใบอนุญาตคืนตามมาตรา 20 วรรคสองหรือวรรคสาม ไม่ยื่นคําขอรับใบแทนบัตรประจําตัวตามมาตรา 22 วรรคสาม หรือไม่ส่งบัตรประจําตัวที่ได้รับจากผู้จัดการหรือลูกจ้างแก่อธิบดีตามมาตรา 23 วรรคสอง
(4) ไม่ทําสัญญาหรือทําสัญญาโดยฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง หรือไม่ออกใบรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายให้แก่นายจ้างตามมาตรา 25 วรรคสอง
(5) ไม่ส่งรายงานหรือส่งรายงานไม่เป็นไปตามแบบรายงานที่อธิบดีกําหนดตามมาตรา 26
(6) ไม่ส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา 29
(7) ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจโดยฝ่าฝืนมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 49 ผู้รับอนุญาตผู้ใด ไม่แสดงทะเบียนลูกจ้างซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศตามมาตรา 18 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 50 ผู้จัดการหรือลูกจ้างผู้ใด ไม่แสดงบัตรประจําตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง เมื่อออกไปปฏิบัติงานนอกสํานักงานหรือไม่ยื่นคําขอรับใบแทนบัตรประจําตัวตามมาตรา 22 วรรคหนึ่งหรือวรรคสามหรือไม่ส่งคืนบัตรประจําตัวเมื่อพ้นจากความเป็นผู้จัดการหรือลูกจ้างตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 51 ผู้ใดแสดงตนว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศของผู้รับอนุญาตอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 52 ผู้รับอนุญาตผู้ใด เรียกหรือรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ใช่ค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่อธิบดีประกาศกําหนดตามมาตรา 25 (1) หรือฝ่าฝืน (2) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับห้าเท่าของเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่รับไว้จากนายจ้างหรือคนต่างด้าวผู้รับอนุญาตผู้ใดเรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายจากนายจ้างเกินกว่าอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด
ตามมาตรา 25 (1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนและปรับห้าเท่าของค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินกว่าอัตราที่อธิบดีกําหนด
มาตรา 53 นายจ้างผู้ใด ไม่แจ้งต่ออธิบดีหรือไม่จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 54 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 35 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 55 ผู้รับอนุญาตซึ่งฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 56 ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริง ไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา 37 (1)ไม่อํานวยความสะดวกตามมาตรา 37 (2) หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 37 (3) และ (4)ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 47 ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศและโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทําโดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปหรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรม ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง
มาตรา 58 ผู้ใดสนับสนุนการกระทําความผิดตามมาตรา 57 แม้ว่าการกระทําของตัวการจะอยู่นอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 59 การเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทําความผิดตามมาตรา 57 หรือมาตรา 58 แทนผู้เสียหาย พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญาหรือจะยื่นคําร้องในภายหลังขณะที่คดีอาญานั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคําร้องเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก่อนที่ศาลจะมีคําวินิจฉัยชี้ขาดคดีถึงแม้ไม่มีคําขอให้ใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคําพิพากษาลงโทษจําเลย ศาลจะสั่งในคําพิพากษาคดีอาญาให้จําเลยใช้ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปแก่ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้ คําสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจําเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปในส่วนที่ยังขาดอยู
มาตรา 60 ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใดหรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นๆ ด้วย
มาตรา 61 บรรดาความผิดตามพระราชกําหนดนี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจเปรียบเทียบ ดังนี้
(1) อธิบดีสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัดสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้นในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทําความผิดตามพระราชกําหนดนี้ที่มีโทษอยู่ในเกณฑ์ที่จะทําการเปรียบเทียบได้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบเมื่อผู้กระทําผิดได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในเวลาที่กําหนดแต่ไม่เกินสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทเฉพาะกาล
---------------------------
มาตรา 62 ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ที่ได้ดําเนินการจัดหาคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในประเทศก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับให้ดําเนินการต่อไปได้อีกไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
(1) ใบอนุญาต ฉบับละ 20,000 บาท
(2) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละ 20,000บาท
(3) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 10,000 บาท
(4) การอนุญาตให้ย้ายสํานักงาน ครั้งละ 5,000 บาทหรือตั้งสํานักงานชั่วคราว
(5) การอนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการ ครั้งละ 5,000 บาท
(6) การจดทะเบียนลูกจ้าง คนละ 1,000 บาท
(7) บัตรประจําตัวผู้จัดการหรือลูกจ้าง ฉบับละ 1,000 บาท
(8) ค่ายื่นคําขอ ฉบับละ 1,000 บาท
(9) การรับรองสําเนาเอกสาร
(ก) ภาษาไทย หน้าละ 50 บาท
(ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ 100 บาท
(10) การออกหนังสือรับรอง
(ก) ภาษาไทย หน้าละ 500 บาท
(ข) ภาษาต่างประเทศ หน้าละ 1,000 บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับนี้ คือ จากการที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคส่วนต่างๆทําให้การประกอบธุรกิจจัดหาคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นจํานวนมากส่งผลให้มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันการลักลอบนําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานกับนายจ้างในประเทศได้อย่างทันท่วงที รัฐบาลจึงจําเป็นต้องกําหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนในการลดความเหลื่อมล้ําของสังคมและกาสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว อันนําไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศ รวมทั้งมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อขจัดการบังคับใช้แรงงานหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานต่างด้าวทั้งนี้เพื่อให้มาตรฐานในการทํางานของแรงงานต่างด้าวของประเทศไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและสามารถรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป อันเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้
พระราชกําหนดการนําคนต่างด้าวมาทํางานกับนายจ้างในประเทศพ.ศ. 2559