Global Economic Crime Survey โดยไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส
บริษัท PwC คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก เผยรายงานล่าสุด Economic Crime in Thailand
ผลจากบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ ได้แก่
บริษัทไทยที่ทำการสำรวจถึง 37% ที่ตกเป็นเหยื่อการทุจริต (Fraud victim) ถือเป็นอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยเฉลี่ยที่ 32% และโลกที่ระดับเดียวกัน
ประเภทของการทุจริตที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ การยักยอกสินทรัพย์ (Asset misappropriation) ที่ 71% ตามด้วย การทุจริตจัดซื้อ (Procurement fraud) 43% การรับสินบนและคอรัปชั่น (Bribery and corruption) 39% อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cybercrime) 18% และการทุจริตทางบัญชี (Accounting fraud) 18%
แนวโน้มอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (Economic crime) ยังคงเป็นปัญหาหลักในการประกอบธุรกิจของบริษัทไทยในระยะข้างหน้า โดยครอบคลุมเกือบทั่วทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ในขณะที่ปัญหาทุจริตองค์กรในไทยที่พบถึง 89% เกิดจากการกระทำของคนในองค์กร (Internal actor) ทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับระดับเอเชียแปซิฟิกที่ 61% และระดับโลกที่ 56%
การทุจริตจัดซื้อถือเป็นปัญหาและภัยร้ายแรงที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสองทั้งในไทยและระดับโลก เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงของชาติ เป็นที่น่าสังเกตว่า การทุจริตประเภทนี้ในประเทศไทย มักเกิดขึ้นในขั้นตอนแรกๆ ของกระบวนการเมื่อมีการเสนอราคาจากผู้ขายหรือผู้จำหน่าย (Vendor) จากนั้นจะค่อยๆลดความรุนแรงลงเป็นลำดับ
มีบริษัทไทยเกือบหนึ่งในสาม หรือ 28% ที่ถูกถามให้จ่ายสินบน (Bribe) ในระยะเวลา 24 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นอัตราที่สูงกว่าทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ 18% ในขณะเดียวกัน มีผู้ถูกสำรวจอีก 24% กล่าวว่าสูญเสียโอกาสทางธุรกิจให้แก่คู่แข่งที่ตนเชื่อว่ามีการจ่ายสินบน
การตระหนักต่อภัยไซเบอร์ครามโดยเฉลี่ยของไทยที่ 39% ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าเอเชียแปซิฟิกที่ 45% อย่างไรก็ดี อัตราดังกล่าวของไทยปรับตัวดีขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่ 27% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 48%
ไซเบอร์ครามสร้างความสูญเสียให้แก่ประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มการเงิน (Financial sector) โดยมีบริษัทอย่างน้อยหนึ่งรายที่ประเมินมูลค่าความเสียหาย (Estimated loss) มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3.2 พันล้านบาทและอย่างน้อย 20% สูญเสียราว 5 หมื่นดอลลาร์หรือ 1.6 ล้านบาท
การทุจริตภายในองค์กรส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของพนักงานระดับผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับกลาง (Middle management) มากที่สุดที่ 56% โดยคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักเป็นคนที่อยู่กับองค์กรอย่างน้อยมาเป็นเวลา 3-5 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท มีความรู้ ความเข้าใจในโครงสร้างและกระบวนการทำงาน รวมทั้งเข้าถึงแหล่งข้อมูลของบริษัทได้เป็นอย่างดี
วิธีการสำรวจ
ผลสำรวจ Economic Crime Survey ดำเนินการโดย PwC Forensic Services ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักธุรกิจและผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำจำนวน 5,128 รายใน 99 ประเทศทั่วโลก (78 ประเทศในปี 2554) รวมทั้งบริษัทประเทศไทยจำนวน 76 ราย ทั้งนี้ สัดส่วนของผู้ถูกสำรวจแบ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง 50%, ตัวแทนจากบริษัทจดทะเบียน 35% และ ตัวแทนจากหน่วยงานและองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน 54%
เกี่ยวกับ PwC
PwC (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษารายใหญ่ของโลก มีเครือข่ายไปใน 157 ประเทศทั่วโลก และมีบุคลากรมากกว่า 184,000 คน สำหรับประเทศไทย บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 55 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีพนักงานกว่า 1,600 คนในประเทศไทย
ดาวโหลด ฉบับเต็มได้ที่
-
file download