รัฐบาลออก พรก.นิรโทษกรรม ไม่สอบภาษีเอกชนรายได้ไม่เกิน 500 ล.-มีเงื่อนไข 4 ข้อ
รัฐบาลออก พรก.นิรโทษกรรม ให้เอกชนมีรายได้ไม่เกิน 500 ล. รอบปี 58 ได้รับยกเว้นตรวจสอบชำระภาษี แต่ให้ยื่นแบบเสียให้เรียบร้อยหลัง 1 ม.ค.59 ยกเว้นพวกที่มีคดีค้างเก่า หรือพวกออกใบกำกับภาษีปลอม ยกเหตุเพื่อให้ระบบจัดเก็บเกิดประสิทธิภาพ ทำบัญชีให้ตรงตามข้อเท็จจริง จำเป็นต้องทำเร่งด่วนและลับ
ราชกิจจานุเบกษา 1 ม.ค.59 เผยแพร่ พระราชกําหนด ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 สาระสำคัญ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้ไม่เกินห้าร้อยล้านบาทที่เกิดขึ้น ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาและมีกําหนดครบสิบสองเดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้ เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สําหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทํา ตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ยกเว้น
-บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยมีหมายเรียกที่ออกก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ
-บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน ตามมาตรา 88/3 แห่งประมวลรัษฎากรที่ดําเนินการก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีปลอมหรือเป็นผู้ใช้ใบกํากับภาษีปลอม หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกระทําการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยแสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จ ต่อกรมสรรพากร
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ในระหว่างการดําเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นพนักงานอัยการ หรือชั้นศาล “รายได้” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจาก การประกอบกิจการ ซึ่งคํานวณตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏด้วยว่า เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้เริ่มดําเนินการ ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร หรือยังไม่ได้ดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรนั้น ๆ
เนื้อหาระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกําหนดนี้เรียกว่า “พระราชกําหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558”
มาตรา 2 พระราชกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชกําหนดนี้ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิ “ภาษีอากร” หมายความว่า ภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 4ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้ไม่เกินห้าร้อยล้านบาทที่เกิดขึ้น ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาและมีกําหนดครบสิบสองเดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ก่อนหรือในวันที่ 31ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้ เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สําหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี ที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทํา ตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยมีหมายเรียกที่ออกก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน ตามมาตรา 88/3 แห่งประมวลรัษฎากรที่ดําเนินการก่อนวันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ออกใบกํากับภาษีปลอมหรือเป็นผู้ใช้ใบกํากับภาษีปลอม หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกระทําการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยแสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จ ต่อกรมสรรพากร
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ในระหว่างการดําเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นพนักงานอัยการ หรือชั้นศาล “รายได้” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจาก การประกอบกิจการ ซึ่งคํานวณตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏด้วยว่า เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้เริ่มดําเนินการ ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร หรือยังไม่ได้ดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรนั้น ๆ
มาตรา 5 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 ยื่นคําร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ที่เกี่ยวกับรายได้ มูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทํา ตราสารที่ได้รับยกเว้น เพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร ให้เจ้าพนักงานประเมินซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร มีอํานาจทําการตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืนหรือออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืน ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร ทั้งนี้ ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ทําการจดแจ้งต่อกรมสรรพากร ว่าเป็นผู้ได้รับยกเว้นตามพระราชกําหนดนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และภายในเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด
(2) ยื่นรายการในการคํานวณภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมชําระภาษี สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกําหนดเวลาในการยื่นรายการ ในหรือหลังวันที่1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี ในกรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ พร้อมชําระภาษี ถ้ามี ทั้งนี้ สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการที่ต้องกระทําในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(4) ยื่นแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน สําหรับตราสารที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดให้ชําระอากร เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร และต้องชําระเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(5 มีการจัดทําบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการตั้งแต่ รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(6) ไม่กระทําการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร นับแต่วันที่พระราชกําหนดนี้ใช้บังคับ
มาตรา 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ให้อธิบดีกรมสรรพากร มีคําสั่งเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น เมื่อมีการเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่เคยได้รับยกเว้นการใด ๆ ตามพระราชกําหนดนี้ และให้เจ้าพนักงานประเมินมีอํานาจในการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และดําเนินความผิดอาญาเกี่ยวกับรายได้ มูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทําตราสารตามที่กําหนดในมาตรา 4
ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 8เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร ให้กระทรวงการคลังและธนาคาร แห่งประเทศไทยดําเนินการที่จําเป็น เพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกํากับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงิน ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการทํา ธุรกรรมทางการเงินและการขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
มาตรา 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกําหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกําหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อยกเว้น และสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้สําหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการสนับสนุนให้มีการจัดทําบัญชีให้สอดคล้องกับ สภาพข้อเท็จจริงของกิจการ ซึ่งหากไม่ดําเนินการโดยเร่งด่วน จะส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรที่ต้อง พิจารณาโดยด่วนและลับ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/001/1.PDF
ขณะเดียวกัน ได้ออก พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595)พ.ศ. 2558 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท
มีสาระสำคัญ ดังนี้
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/001/5.PDF