- Home
- Isranews
- ข่าว
- 'ธรรมนัส' แจงทุกข้อครหา! กม.ล้างมลทินฯ มีผลช่วย คุณสมบัติครบเป็น ส.ส.-รมช.เกษตรฯ ได้
'ธรรมนัส' แจงทุกข้อครหา! กม.ล้างมลทินฯ มีผลช่วย คุณสมบัติครบเป็น ส.ส.-รมช.เกษตรฯ ได้
'ธรรมนัส' ส่งเอกสารแจงสื่อยิบ ทุกปมข้อครหา ยัน พ.ร.บ.ล้างมลทิน ปี 50 มีผลช่วย ลบคำสั่งถอดยศกลาโหมปี 41 ย้ำไม่เคยต้องคำพิพากษาออสเตรเลีย-โดนฟันวินัย มีคุณสมบัติเป็น ส.ส.นั่งเก้าอี้ รมช.เกษตรฯ ได้
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ทีมงานของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งเอกสารถึงสื่อมวลชนสำนักต่างๆ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีข้อครหาต่างๆ ยืนยันว่ายังคงยศเป็นร้อยเอกได้อยู่ แม้จะถูกถอดยศไปแล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ร.ท. พชร พรหมเผ่า(ชื่อเก่า ร.อ.ธรรมนัส) เดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือน เมษายน 2536
2. ร.ท. พชร พรหมเผ่า เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2539 หลังจากพ้น โทษตามคําพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลีย
3. กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้พิจารณาให้ร้อยโท พชร พรหมเผ่า ออกจาก ราชการ เนื่องจากขาดงานราชการเกิน 15 วัน
4. พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
“ผู้ต้องโทษ” หมายความว่า ผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ลงโทษหรือ ให้กักกัน และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียว กับการถูกลงโทษโดยคําพิพากษาของศาล
“ผู้ถูกลงโทษทางวินัย" หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทํา ผิดวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้ หมายความรวมถึงบุคคลใดที่ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผล เช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย
มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทํา ก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อน หรือในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทาน อภัยโทษ พ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ
มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีจึงได้กระทําก่อน หรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อน หรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยใน กรณีนั้น ๆ
มาตรา 6 สําหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย ก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และบรรดาผู้ถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีกระทํา ผิดวินัยซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป
มาตรา 7 การล้างมลทินตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับ การล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น
มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้"
5. หลังวันที่ 11 กันยายน 2539 ร.อ. พชร พรหมเผ่า ได้ยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับ ราชการทหาร และกองบัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติรับ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า กลับเข้ารับ ราชการทหารตามระเบียบ
6. กระทรวงกลาโหมมีคําสั่งที่ 360/2541 ลง 1 มิถุนายน 2541 เรื่อง เลื่อนยศ นายทหารสัญญาบัตร เลื่อนยศ ร.ท. พชร พรหมเผ่า เป็น ว่าที่ ร.อ. ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2541
7. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศ ทหารมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด ร.ท. พชร พรหมเผ่า สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดออกเสียจากยศ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2541 เนื่องจากประพฤติตนไม่สมควรตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทางทหาร พ.ศ.2476 ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2541
8. พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
“ผู้ต้องโทษ” หมายความว่า ผู้ต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้ กักกันและให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับ การถูกลงโทษโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล
“ผู้ถูกลงโทษทางวินัย” หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทําผิด วินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการ ส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้หมายความรวมถึง ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือ ลงทัณฑ์ทางวินัยพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอ ดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550
มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทํา ก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อน โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูก ลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ
มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีจึงได้กระทําก่อน หรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยใน กรณีนั้น ๆ
มาตรา 6 สําหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัย ก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และบรรดาผู้ถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีกระทําผิดวินัย ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ให้ผู้นั้น ไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกดําเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป
มาตรา 7 การล้างมลทินตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับ การล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น
มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้”
9. นายธรรมนัส พรหมเผ่า จึงสามารถใช้ยศ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ดังกล่าว
10. ด้วยผลของกฎหมาย พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว มีผลให้
10.1 ร้อยโทพชร พรหมเผ่า ไม่เคยต้องโทษตามคําพิพากษาของศาล ออสเตรเลียและ ไม่เคยถูกลงทัณฑ์ทางวินัย กรณีขาดราชการ ซึ่งได้กระทําก่อนหรือใน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 (ตามข้อ 2,3)
10.2 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณี นั้น ซึ่งได้กระทําก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (ตามข้อ 7)
10.3 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย และไม่เคยถูก ลงโทษในกรณีความผิดตามคําพิพากษาศาล และไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย ทําให้ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า มีคุณสมบัติถูกต้อง ครบถ้วน ในการลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการดํารงตําแหน่งรัฐมตรี
10.4 เมื่อปี พ.ศ.2557 พรรคเพื่อไทย ได้พิจารณาส่ง ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
10.5 ในปี พ.ศ.2562 ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทน ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเลือก ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น ส.ส.
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้อง ครบถ้วน ในการดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบันด้วย
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/