ถึงคิวอุตรดิตถ์! สตง.เชือด 10 โครงการ ‘ตำบลละ 5 ล.’ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
สตง.เผยแพร่ผลตรวจสอบโครงการตำบลละ 5 ล. จ.อุตรดิตถ์ สุ่ม 9 อำเภอ 43 โครงการ พบ 10 โครงการ ใน 7 อำเภอ โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ งบฯ สูญเปล่า เสนอแนะผู้ว่าฯ ตั้งคกก.สอบข้อเท็จจริง พบผู้กระทำผิด ลงโทษทันที
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เผยแพร่รายงานการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) จ.อุตรดิตถ์ สำนักงานอุตรดิตถ์ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีทั้งสิ้น 9 อำเภอ เป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 1,129 โครงการ งบประมาณ 334.20 ล้านบาท
โดยจากการสุ่มตรวจสอบผลการดำเนินงานและสังเกตการณ์การใช้ประโยชน์ของการดำเนินโครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 9 อำเภอ 43 โครงการ พบว่ามี 7 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 77.78 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด มีผลการดำเนินโครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งไม่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพ ไม่ก่อให้เกิด การจ้างงานและไม่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน จำนวน 10 โครงการ เป็นเงินเบิกจ่าย 3,555,000 บาท
โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์และทำให้งบประมาณสูญเปล่า เนื่องจากประชาชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการอบรมให้ความรู้ การเลี้ยงปลากระดี่ในกระชังบก จำนวนเงินเบิกจ่าย 127,000 บาท และโครงการดำเนินการฝึกอบรมและแจกพันธุ์ปลากระดี่และกระชังบก
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบว่า ลูกปลากระดี่ส่วนใหญ่ตาย ส่วนกระชังบก ไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์โครงการ ดังนั้นการดำเนินโครงการดังกล่าวจึงไม่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพ และไม่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
ส่วนโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้น แต่ขาดการวางแผนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น ขาดการเชื่อมต่อสิ่งสาธารณูปโภค หรือไม่มีการเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ทำให้ไม่สามารถ ใช้ประโยชน์ได้ หรือใช้ประโยชน์ได้เพียงบางส่วน จ านวน 6 โครงการ จำนวนเงินเบิกจ่าย 1,887,600 บาท ได้แก่ โครงการปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน บ้านแหลมทอง หมู่ที่ 2 ต.ข่อยสูง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ จำานวนเงินเบิกจ่าย 85,000 บาท, โครงการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ทางด้านการเกษตร บ้านนาลับแลง หมู่ที่ 5 ต.ปุคาย อ.เภอทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 500,000 บาท , โครงการเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร บ้านคลองละมุง หมู่ที่ 4 ต.ไร่อ้อย อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 467,000บาท
โครงการต่อเติมอาคารกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บ้านกิ่วเคียน หมู่ที่ 12 ต.จริม อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 361,600บาท, โครงการต่อเติมโรงน้ำดื่มชุมชน บ้านห้วยหูด หมู่ที่3 ต.แสนตอ อ.น้ าปาด จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 139,000บาท และโครงการปรับปรุงต่อเติมศูนย์ส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้า บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 1 ต.เด่นเหล็ก อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 335,000 บาท
ขณะที่โครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ 3 โครงการ จำนวน เงินเบิกจ่าย 1,540,400.00 บาท ได้แก่ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สุสานหอย บ้านนาไร่เดียว หมู่ที่ 5 ต.สองห้อง อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 359,000 บาท, โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน บ้านน้ำลัด หมู่ที่ 5 ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 499,400 บาท และ โครงการปรับปรุงศูนย์จัดจำหน่ายสินค้ามะขามหวานและการเกษตร บ้านสุมข้าม หมู่ที่ 4 ต.นาขุม อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ จำนวนเงินเบิกจ่าย 682,000 บาท
ทั้งนี้ สตง. ระบุว่า โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ใช้ประโยชน์บางส่วน หรือใช้ประโยชน์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์โครงการ จะส่งผลกระทบทำให้งบประมาณสูญเปล่า 127,000 บาท จากโครงการอบรมให้ความรู้ การเลี้ยงปลากระดี่ในกระชังบกเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน เนื่องจากปลากระดี่ส่วนใหญ่ตาย และเกษตรกรไม่ได้ใช้ประโยชน์จากกระชังบกที่ได้รับแจก หรือใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์โครงการ
นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ยังสูญเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากวัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สิ่งก่อสร้าง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จโดยทันที เนื่องจากไม่มีการติดตั้งวัสดุครุภัณฑ์ ขาดการเชื่อมต่อ ระบบน้ำา ระบบไฟฟ้าเข้าสู่อาคาร สิ่งก่อสร้าง ไม่มีความพร้อมด้านสถานที่เพาะปลูก และการร่วมกลุ่ม อาชีพเพื่อบริหารจัดการโครงการ เป็นจำนวนงบประมาณเบิกจ่าย 1,887,600 บาท อีกทั้งรัฐสูญเสียโอกาสนำงบประมาณ จำานวน 1,540,400 บาท ไปใช้ในโครงการอื่นที่มี ความจำเป็น และตรงตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่
ตลอดจนกรณีที่โครงการไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ส่งผลให้โครงการ ดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ได้จึงถือว่าโครงการดังกล่าวไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท)
เบื้องต้น สตง.โดยสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 ได้มีข้อเสนอแนะไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง หากพบว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ บกพร่อง มีเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ดำเนินการหาผู้รับผิดทางละเมิด และพิจารณา โทษตามควรแก่กรณี และสั่งการให้นายอำเภอประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งผู้นำชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ให้สามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สิ่งก่อสร้างตาม โครงการและเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำนวน 10 โครงการ
กำชับ นายอำเภอทุกแห่ง ควบคุม กำกับดูแล ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด และควรให้ ความสำคัญต่อการจัดทำโครงการตามมาตรการอื่น ๆ ของรัฐบาลในครั้งต่อไปและแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและประเมินผลการใช้ประโยชน์ของวัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สิ่งก่อสร้างของโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท ในโครงการอื่นที่ สตง. ไม่ได้ตรวจสอบ กรณีที่ตรวจพบว่าไม่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือใช้ได้เพียง บางส่วน ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณแผ่นดิน สั่งการให้นายอำเภอประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการบริหารจัดการ เพื่อให้ เกิดการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างชัดเจนต่อไป .
อ่านประกอบ:งานบกพร่องทุกอำเภอ! สตง.ประเดิมฟันโครงการตำบลละ 5 ล.จ.แพร่ รบ.ประยุทธ์
ฉบับเต็ม! ผลสอบสตง.ชำแหละตำบลละ5ล.จ.แพร่ รบ.บิ๊กตู่ 'บกพร่องทุกอำเภอ-รุกป่าสงวน'