- Home
- Isranews
- ข่าว
- เอพีแกะรอยอินสตาแกรม-เฟซบุ๊ก พบทายาทกระทิงแดงโผล่บ้านหรูลอนดอน-โยง'ปานามา เปเปอร์ส์'
เอพีแกะรอยอินสตาแกรม-เฟซบุ๊ก พบทายาทกระทิงแดงโผล่บ้านหรูลอนดอน-โยง'ปานามา เปเปอร์ส์'
สำนักข่าว'เอพี' ตามไปดูถึงที่ แกะรอยทายาทกระทิงแดงอินสตาแกรม-เฟซบุ๊ก โผล่พักอาศัยอยู่ที่บ้านหรูกรุงลอนดอน เจ้าตัวปัดตอบคำถามจะกลับไทยเข้าพบอัยการสู้คดีขับรถชนจนท.ตร.หรือไม่ อมยิ้มอย่างเดียว เผยข้อมูลโยงเงื่อนปมธุรกรรมบริษัทนอกอาณาเขตตระกูลอยู่วิทยาใน'ปานามา เปเปอร์ส์'
ผู้สื่อข่าวพิเศษสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2560 ที่ผ่านมา สำนักข่าวเอพี รายงานข่าวความเคลื่อนไหวของนาย วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ “บอส” ทายาทตระกูลอยู่วิทยาบุตรชาย นาย เฉลิม อยู่วิทยา ซึ่งอยู่ระหว่างการหลบหนีคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตเมื่อห้าปีที่แล้ว
โดยระบุว่าจากการติดตามข้อความในโพสต์มากกว่า 120 โพสต์ในอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กของเพื่อนและญาติของนายวรยุทธ และสามารถค้นพบบ้านพักที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ที่นายวรยุทธพักอยู่ได้ เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่ทนายความของนายวรยุทธแจ้งต่อศาลว่าเขาไม่สามารถเดินทางมาได้เนื่องจากมีภาระหน้าที่ที่ประเทศอังกฤษ
ผู้สื่อข่าวเอพีได้เดินทางไปยังบ้านดังกล่าว และได้พบกับนายวรยุทธบริเวณหน้าบ้าน โดยผู้สื่อข่าวถามนายวรยุทธว่า “คุณมีธุระอะไรที่อังกฤษหรือคุณบอส คุณมาทำอะไรที่นี่ คุณจะกลับเองไทยไปพบกับอัยการหรือเปล่า”
อย่างไรก็ตาม นายวรยุทธเพียงแต่ยิ้มและไม่ตอบคำถาม หลังจากนั้นก็ได้ออกจากบ้านไปอย่างรีบร้อน
ในขณะเดียวกัน เอพีระบุว่า ทางการไทยอ้างว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ว่านายวรยุทธหลบหนีไปที่ใด ทำได้เพียงระงับหนังสือเดินทางและพาสปอร์ตเท่านั้น
การตรวจสอบสถานที่พบว่า บ้านหลังดังกล่าวซึ่งเป็นบ้านก่ออิฐห้าชั้นที่นาย เฉลิม อยู่วิทยา ใช้เป็นที่อยู่ในเอกสารก่อตั้งบริษัทไทยสยามไวเนอรี่ที่ประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2545 และเป็นบ้านหลังเดียวกันกับที่นางดารณี อยู่วิทยา ผู้มารดา ใช้เป็นที่พักเมื่อ 11 ปีที่แล้วเมื่อเดินทางไปเปิดธุรกิจเกี่ยวกับอาหารที่นั่น
เอพีได้เข้าสืบค้นชื่อเจ้าของบ้านในฐานข้อมูลของ ปานามา เปเปอร์ส และพบว่าบ้านหลังนี้เป็นทรัพย์สินของบริษัท คาร์นฟอร์ธ อินเวสต์เม้นท์ (Karnforth Investment Ltd.) จดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จินผ่านบริการสำนักกฎหมาย มอสแซค ฟอนเซก้า เจ้าของข้อมูลซึ่งถูกเปิดเผยในปานามา เปเปอร์ส นั่นเอง
สำนักข่าวเอพียังระบุว่า ข้อมูลในฐานข้อมูลปานามา เปเปอร์ส ชี้ว่าตระกูลอยู่วิทยาใช้บริการ มอสแซค ฟอนเซก้า ในการเป็นเจ้าของบริษัทนอกอาณาเขตจำนวนหนึ่งมาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว โดยบริษัทเหล่านี้มีการทำธุรกรรมซับซ้อน และสามารถปกป้องความเกี่ยวโยงกับชื่อตระกูลอยู่วิทยาและแบรนด์ Red Bull (กระทิงแดง) ให้อยู่นอกความสนใจของสาธารณะได้
นอกจากบ้านหลังนี้แล้ว คาร์นฟอร์ธ อินเวสต์เม้นท์ ยังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มูลค่าหลักล้านเหรียญสหรัฐฯในกรุงลอนดอนอีกไม่ต่ำกว่าสี่แห่ง
คาร์นฟอร์ธ อินเวสต์เม้นท์ มีบริษัท เจอร์ราด คอมปานี (Jerrard Company Ltd.) จดทะเบียนที่บริติชเวอร์จินเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว
หุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเจอร์ราด คอมปานี ถือโดยบริษัทนอกอาณาเขตอีกบริษัทหนึ่งคือ เจเค ฟลาย (JK Fly) โดยผู้เป็นเจ้าของ เจเค ฟลายก็คือ คาร์นฟอร์ธ อินเวสต์เม้นท์
ในขณะเดียวกันแม้ว่าตระกูลอยู่วิทยาและนาย Dietrich Mateschitz ชาวออสเตรียจะเป็นเจ้าของบริษัท Red Bull ร่วมกัน เป็นผู้ถือหุ้นหลักของธุรกิจกระทิงแดงในประเทศอังกฤษคือ บริษัท เจอร์ราด คอมปานี นั่นเอง
เอพีรายงานว่า บริษัทนอกอาณาเขตเหล่านี้มีชื่อบุคคลที่เป็นนายหน้า เลขานุการ กรรมการ และผู้บริหาร ที่ทับซ้อนกัน โดยคนเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับค่าจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการทำหน้าที่ลงชื่อในแบบฟอร์มและประชุมคณะกรรมการแทนเจ้าของที่แท้จริงที่ถูกปกปิดเป็นความลับอย่างเคร่งครัด
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบริษัทนอกอาณาเขตในกลุ่มนี้มีการทำธุรกรรมที่ซับซ้อนและมีเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาล เช่นเมื่อ พ.ศ. 2548 บริษัท เจอร์ราด คอมปานี ให้คาร์นฟอร์ต อินเวสต์เม้นท์กู้เงินจำนวน 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพื่อใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์สองแห่งในกรุงลอนดอน ใน พ.ศ. 2555 เจอร์ราด คอมปานี ยกเลิกสัญญาจำนองและยกอสังหาริมทรัพย์นี้ให้คาร์นฟอร์ต อินเวสต์เม้นท์ นอกจากนั้นตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เจเค ฟลาย ได้รับเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยราว 14 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากคาร์นฟอร์ต อินเวสต์เม้นท์เพื่อนำไปซื้อเครื่องบิน
ใน พ.ศ. 2553 และ 2556 ข้อมูลจากฐานข้อมูล ปานามา เปเปอร์ส ระบุว่า ผู้ตรวจสอบบัญชีสำนักงานใหญ่ มอสแซค ฟอนเซก้า ชี้ว่าเอกสารยืนยันตัวตนเจ้าของที่แท้จริงของ คาร์นฟอร์ต อินเวสต์เม้นท์ และ เจอร์ราด คอมปานี สูญหายไป และท้วงติงว่าหากถูกตรวจพบ บริษัทอาจถูกปรับเป็นเงินมหาศาล อย่างไรก็ตาม เอพีระบุว่า ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าทั้งสองบริษัทได้เคยมอบเอกสารฉบับสมบูรณ์ให้มอสแซค ฟอนเซก้าหรือไม่
เอพีระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่าตระกูลอยู่วิทยากระทำการใดที่เป็นการละเมิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การปกปิดข้อมูลให้เป็นความลับอย่างสูงสุดในลักษณะนี้ อาจสามารถช่วยในการเลี่ยงภาษีและการฟอกเงินได้
ตระกูลอยู่วิทยาซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท Red Bull ไม่ตอบคำถามที่สำนักข่าวเอพีพยายามติดต่อไปหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม Red Bull ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า เรื่องประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายวรยุทธไม่ถือเป็นเรื่องของ Red Bull แต่ถือเป็นเรื่องของตระกูลอยู่วิทยา นอกจากนั้น โฆษกของบริษัทผู้หนึ่งยังกล่าวว่า “ในฐานะของบริษัทเอกชน Red Bull จะไม่พูดเกี่ยวกับกิจการการค้าและการเงินของบริษัทต่อสาธารณะ”
สุมาพร มานะสันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์ เอพีว่า กฎหมายไทยมีช่องโหว่จำนวนมาก และไม่ได้มาตรฐานสากลเรื่องการต่อต้านการฟอกเงิน รวมทั้งการระดมทุนด้านก่อการร้าย ในขณะเดียวกันการเลี่ยงภาษีด้วยวิธีฝากเงินในบัญชีนอกประเทศแบบไม่ต้องระบุชื่อ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายและพบได้ทั่วไป
เอพีชี้ว่า เมื่อปีที่แล้วสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของไทยแถลงว่ากำลังสืบสวนกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ปรากฏชื่อในปานามา เปเปอร์ส ซึ่งมีทั้งนักการเมืองและนักธุรกิจ อย่างไรก็ตามจนบัดนี้ยังไม่มีการเปิดเผยผลการสืบสวนใด ๆ ออกมา นอกจากนั้น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินยังปฏิเสธไม่ตอบคำถามของสำนักข่าวเอพีในเรื่องนี้อีกด้วย
หมายเหตุ : ที่มา https://apnews.com/54831570be794ea790b61432b0c3e6a4
อ่านข่าวภาคภาษาอังกฤษ
Martha Mendoza, AP National Writer,Associated Press 11 hours ago
The Bangkok billionaire family that co-founded Red Bull, the world's leading energy drink, uses offshore companies to cloak purchases of jets and luxury properties, including the posh London home where the clan's fugitive son was last seen.
The Yoovidhya family's efforts to hide assets show how easily major global financial players can routinely — and, usually, legally — move billions of dollars with little or no oversight.
The family's confidential deals were inadvertently exposed by the jet-setting son Vorayuth "Boss" Yoovidhya, who has attracted cries of impunity in Thailand after repeatedly failing to show up in court for allegedly racing away in his Ferrari after a deadly accident with a motorcycle cop almost five years ago. More than 120 Instagram and Facebook postings by friends and family led The Associated Press earlier this year to the Yoovidhyas' London vacation home, where Vorayuth refused to comment.
Thai authorities revoked his passport and issued an arrest warrant, but say they don't know where he is.
Now the investigation into Vorayuth's whereabouts has led to the Panama Papers, a collection of 11 million secret financial documents that illustrate how the world's wealthiest families hide their money, including some of the Yoovidhya family's financial arrangements.
The Panama Papers leak first was obtained by the German newspaper Sudeutsche Zeitung and shared with the International Consortium of Investigative Journalists, which began publishing collaborative reports with news organizations in 2016, putting wealthy and powerful people in more than 70 countries under scrutiny.
Since then, political leaders have been ousted, an estimated $135 billion was wiped off the value of nearly 400 companies, and governments are cracking down on offshore tax havens. Founders of the Panamanian law firm Mossack Fonseca, which owned the leaked documents, were charged earlier this year with money-laundering.
The Yoovidhya family's network of offshore companies — set up by Mossack Fonseca — was so complex that, until now, the family name and Red Bull brand had not been exposed. But the Panama Papers shared with the AP show the family has used at least a half-dozen anonymous companies in tax havens for more than two decades.
The Yoovidhyas, who share ownership of Red Bull with Austrian Dietrich Mateschitz, did not respond to requests for comment. Red Bull said in a statement that Vorayuth's legal situation "is not a matter for Red Bull" and that the company's financial matters are private.
Vorayuth was last seen in public in April, outside his family's London home.
The five-story brick house is the address Vorayuth's father, Chalerm Yoovidhya, provided when incorporating Thai Siam Winery Ltd. in the U.K. in 2002, and that his mother, Daranee Yoovidhya, used when opening a food-related business there in 2006.
The listed owner of the home, and at least four other multimillion-dollar properties in London, isn't the Yoovidhyas — it's Karnforth Investments Ltd., incorporated in the British Virgin Islands, according to the Panama Papers.
Even though the Yoovidhyas and Mateschitz own Red Bull, the main shareholder of the energy drink's United Kingdom business is another British Virgin Islands company called Jerrard Company Ltd.
Here's where it gets complicated:
Karnforth has just one shareholder: Jerrard. And Jerrard is held by a third offshore company, which controls a fourth, JK Fly. Who owns JK Fly? Karnforth.
The Yoovidhyas' offshore companies overlap with stand-in brokers, secretaries, directors and officers — people legally paid small amounts to sign forms and attend directors meetings in lieu of the true owners, whose names remain confidential.
For years, money has flowed between the various entities, documents show.
For example, in 2005, Jerrard loaned Karnforth $6.5 million to buy two London properties. In 2012, Jerrard canceled the mortgages, giving Karnforth ownership. Since 2010, JK Fly has owed Karnforth, its sole shareholder, about $14 million in an interest-free loan to purchase aircraft.
"Anonymous money transfers? Those are pretty common in illegal schemes, but they're also common in legal schemes," said Australia's Griffith University professor Jason Sharman, who researches financial corruption.
What matters, Sharman said, is that the agents moving the money know who the true owners are.
And that has not always happened.
In 2010, and again in 2013, auditors at Mossack Fonseca's head offices raised concerns about Karnforth and Jerrard, noting that documents verifying the true owners were missing.
"Failure to keep such files up to date will result in high administrative and statutory fines," Mossack Fonseca auditors warned. AP could not determine whether full documentation was ever provided.
In a separate case, when Mossack Fonseca's Panama office asked their own agent in Thailand to provide due diligence on a prominent Bangkok billionaire, he flat-out refused.
"This is a CROCK. Any rich person here knows someone or is related to someone in politics," Steve Wagner in Bangkok's Mossack Fonseca office responded when asked to supply certified passport copies, names of owners and reference letters.
Wagner did not respond to AP's requests for comment.
Thailand doesn't meet basic international frameworks to combat money-laundering and terrorist financing, said Sumaporn Manason, a legal expert at the Thai Ministry of Finance. And tax avoidance — that is, keeping money anonymously in offshore accounts — is legal and common.
As a result, she said, Thailand misses out on much-needed revenues that could build bridges, highways and schools.
"Here we call it tax planning," she said.