รัฐธรรมนูญฉบับทุนขุนนาง ทางออกหรือวิกฤติของประเทศไทยรอบใหม่?
ไม่ใช่แค่สิทธิชุมชนที่หายไปครึ่งต่อครึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สิทธิของผู้บริโภคที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 และ พ.ศ 2550 ให้มีองค์กรอิสระผู้บริโภคก็หายไปด้วย
สิทธิ คืออำนาจของประชาชนที่กฎหมายต้องกำหนดให้ เพื่อประชาชนจะสามารถสำเร็จประโยชน์ตามที่กฎหมายคุ้มครอง แต่ถ้าไม่มีการบัญญัติเป็นรูปธรรมในรัฐธรรมนูญว่าประชาชนมีสิทธิอะไรบ้าง และนิติรัฐที่กินภาษีของประชาชนต้องจัดสรรอะไรบ้างเพื่อผดุงสิทธิอันพึงมีพึงได้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอธิปไตยตัวจริงแล้วไซร้ สิทธิที่กล่าวไว้อย่างล่องลอยในมาตรา25ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ก็ย่อมไม่มีผลบังคับได้จริง
ไม่ใช่แค่สิทธิชุมชนที่หายไปครึ่งต่อครึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สิทธิของผู้บริโภคที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 และ พ.ศ 2550 ให้มีองค์กรอิสระผู้บริโภคก็หายไปด้วย
จากปี2540ถึงปัจจุบัน เวลาผ่านไปถึง18ปี แม้มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนในหมวดสิทธิของประชาชน แต่นักการเมืองในสภาทุกสมัยที่ผ่านมาก็ไม่ยอมออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้มีองค์อิสระผู้บริโภคตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ย้ายการคุ้มครองผู้บริโภคไปอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ยิ่งไม่มีหลักประกันใดว่ารัฐบาลต่อไปจะปฏิบัติ!?!
นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ระบุว่า"รัฐต้องเป็นเจ้าของโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ จะปล่อยให้ตกเป็นกรรมสิทธิของเอกชนไม่ได้หรือรัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิต่ำกว่า51% ไม่ได้"
แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ตัดข้อความนี้ออกไปทั้งหมด ไม่ทราบว่ามีเจตนาแอบแฝงจะให้แปรรูปสาธารณสมบัติของชาติให้ตกเป็นของเอกชนหรือไม่?
ดังซูเปอร์บอร์ดบางคนที่เสนอความคิดว่า รัฐไม่ควรถือกรรมสิทธิ์ในรัฐวิสาหกิจเลย ซึ่งมาจากแนวคิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ตกยุคของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษนาง มาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (รวมทั้งพวกทักษิโณมิกส์ด้วย) โดยยกวาทะนางแทชเชอร์ที่ว่า "ทรัพย์สินของรัฐ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เมื่อไม่มีเจ้าของ ก็ไม่มีคนดูแล" ( Government owns is Nobody owns. Nobody owns is Nobody cares) และยังอ้างตรรกะบริโภคเพิ่มว่า ขืนปล่อยให้รัฐเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจต่อไป นักการเมืองจะเข้ามาล้วงลูกได้ จึงสมควรแปรรูปสาธารณสมบัติเหล่านั้นให้เอกชนเป็นเจ้าของไปเสียเลย
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือรัฐธรรมนูญฉบับทุนขุนนาง ที่ตัดการมีส่วนร่วม และการตรวจสอบของภาคประชาสังคมออกไป ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบอำนาจรัฐและการทุจริตของฝ่ายบริหารโดยองค์กรอิสระภาครัฐเป็นเพียงตรายางเท่านั้น
มีโอกาสเกิดเผด็จการรัฐสภาภาคสอง ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งขนาดใหญ่ ซึ่ง ไม่ใช่ระหว่างเหลืองกับแดงอีกต่อไป แต่จะเป็นความขัดแย้งระหว่างภาคประชาสังคมกับกลุ่มทุนการเมืองและข้าราชการ ที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนผูกขาดอีกกลุ่มที่เลวร้ายไม่น้อยกว่ากลุ่มทุน "ทักษิโณมิกส์"
คลิกอ่าน ร่างเบื้องต้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/download/article/article_20160129132217.pdf
ภาพประกอบ: https://drive.google.com/file/d/0B2_TyXWh9m98RFpleWVjdURIQUk/view?pref=2&pli=1