บดินทร์ รัศมีเทศ "ผมเป็นคนที่ดีพอที่จะเป็นอธิการบดีมก.ได้แน่นอน"
บางสื่ออ้างว่า มีข้อมูลใหม่ แต่แท้จริงคือการเรียบเรียงเรื่องเดิมที่เคยถูกร้องเรียนมาแล้วทั้งสิ้น ระหว่างดำรงตำแหน่งคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวได้ร้องเรียนผมไปถึงหน่วยงานต่างๆ มากมาย ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยุติเรื่องแล้ว
วันที่ 25 มิถุนายน รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รักษาราชการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่งจดหมาย KU e-NEWS เดือนมิถุนายน ฉบับที่พิเศษ ถึงบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากที่มีข่าวปรากฏตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสนอเรื่องเพื่อโปรดเกล้าฯ อธิการบดีคนใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รักษาราชการแทนรองอธิการบดี มก.ระบุถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้หัวข้อว่า ธรรมาภิบาลตลอดแนว ดังนี้
ถามหาธรรมภิบาล คุณมีธรรมาภิบาลหรือไม่ ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดเผยว่า "ได้พูดคุยกับสภามก.มาเป็นระยะ ยืนยันไปแล้วว่า หากยังยืนยันเสนอชื่อคนเดิมเข้ามาก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะยังมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติไม่เหมาะสม จากนี้จะทำหนังสือถึงสภา มก.ขอให้ทบทวนกระบวนการสรรหาอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผู้ที่เหมาะสมและได้รับการยอมรับ"
สิ่งที่ผู้บริหารของสกอ.บางท่านกำลังกล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังเลือกคนที่สกอ.คิดว่า ไม่ดีพอจะเป็นอธิการบดีมาเป็นผู้นำของมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ที่มีจำนวนนิสิตกว่า 65,000 คน หรือเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่มีจำนวนนิสิตมากที่สุดในประเทศไทย ท่่านยังต้องการให้ทบทวนกระบวนการสรรหาอีกครั้ง นั่นก็หมายความว่า ท่านกำลังมีเครื่องหมายคำถามกับสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่เชื่อมั่น ไม่ให้เกียรติการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งในอดีตและที่ผ่านมา
สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ผมเข้าใจท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการว่า ท่านนั้นพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณบนข้อมูลหรือข้อเสนอแนะที่ผู้บริหารของสกอ.บางท่านนำเสนอขึ้นมาให้กับท่าน ผมยอมรับและเชื่อว่าท่านเป็นคนดี ผมเองไม่เคยรู้จักท่าน ท่านเองก็คงไม่รู้จักผม เพราะผมเป็นประชาชนคนธรรมดาเท่านั้น แต่หากท่านเปิดใจรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับผมจากบุคคลที่รอบด้าน ท่านก็อาจจะเริ่มเข้าใจว่า ผมเป็นคนที่ดีพอที่จะเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แน่นอน
ขณะนี้ผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาพยายามตรวจสอบมหาวิทยาลัยต่างๆ และมองว่า สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขาดธรรมาภิบาล แต่ไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบธรรมาภิบาลของผู้บริหารและอดีตผู้บริหารบางคนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการเลย
อันที่จริงแล้ว สกอ.ทราบดีว่า อำนาจในการสรรหาอธิการบดีอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ดังที่ผู้บริหารสกอ.ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า "ทางแก้ปัญหาตอนนี้คงทำได้เพียงขอให้สภามก.ทบทวนกระบวนการสรรหาใหม่ เพราะสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่มีอำนาจไปสั่งการมหาวิทยาลัยได้" ดังนั้นจึงใช้วิธีการดึงเรื่องการเสนอขอโปรดเกล้าให้มีความล่าช้าและให้เกิดความเสียหาย แก่มหาวิทยาลัย เพื่อบีบบังคับให้สภามก.ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการโปรดเกล้ามาต้องดำเนินการตามที่ตนเองต้องการ เพราะนี่ก็ผ่านมากว่า 60 วันแล้วที่สภามก.ตอบจดหมายด่วนที่สุดของสกอ.แล้วยังไม่ได้อะไรกลับมาเป็นทางการเลย นอกจากคำสัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ เมื่อพิจารณาระยะเวลาการดำเนินการของสกอ.แล้ว ท่านผู้มีจิตสำนึกและวิจารณญาณในการพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ด้วยใจที่เป็นธรรม ด้วยเหตุและผล จะเริ่มเข้าใจว่า ใครกันแน่ที่ไม่มีธรรมาภิบาล
วันนี้ผมและมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่เรื่องของหน่วยงานเขาไปติดค้างอยู่ที่หน่วยงานของท่าน ไม่ใช่เพียงรายเดือน หรือรายปี แต่เป็นรายหลายๆ ปี ซะด้วยซ้ำ ในประเทศไทยน่าจะเริ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า เหตุใดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของบ้านเราจึงไม่ไปไหน สาเหตุก็เพราะผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการไม่กี่คน (ย้ำนะครับว่า เพียงบางคน เพราะสกอ.ยังมีบุคลากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพอีกเป็นจำนวนมาก) ไม่เข้าใจ ไม่พยายามเข้าใจ หรือพยายามทำเรื่องที่ไม่น่าจะต้องเป็นเรื่องให้เป็นเรื่อง เพราะไม่ได้ดั่งใจ สร้างความสำคัญให้กับตนเอง หรือต้องการถ่วงเวลาการเสนอขอโปรดเกล้าฯ นานเกือบ 9 เดือน (เพื่อให้เกิดกรรมการสภาชุดใหม่ เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบก่อน อาศัยสิ่งที่กำลังตามมา เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของคุณและเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือให้คนที่ท่านต้องการเป็นอธิการบดีให้ได้เป็น)
อันที่จริงแล้ว สกอ.ทราบดีว่า อำนาจในการสรรหาอธิการบดีอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ดังที่ผู้บริหารสกอ.ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า "ทางแก้ปัญหาตอนนี้คงทำได้เพียงขอให้สภามก.ทบทวนกระบวนการสรรหาใหม่ เพราะสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่มีอำนาจไปสั่งการมหาวิทยาลัยได้" ดังนั้นจึงใช้วิธีการดึงเรื่องการเสนอขอโปรดเกล้าให้มีความล่าช้าและให้เกิดความเสียหาย แก่มหาวิทยาลัย เพื่อบีบบังคับให้สภามก.ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการโปรดเกล้ามาต้องดำเนินการตามที่ตนเองต้องการ เพราะนี่ก็ผ่านมากว่า 60 วันแล้วที่สภามก.ตอบจดหมายด่วนที่สุดของสกอ.แล้วยังไม่ได้อะไรกลับมาเป็นทางการเลย นอกจากคำสัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ เมื่อพิจารณาระยะเวลาการดำเนินการของสกอ.แล้ว ท่านผู้มีจิตสำนึกและวิจารณญาณในการพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ด้วยใจที่เป็นธรรม ด้วยเหตุและผล จะเริ่มเข้าใจว่า ใครกันแน่ที่ไม่มีธรรมาภิบาล
ถึงแม้สภามก.จะได้มีกระบวนการสรรหาอธิการบดี ตรวจสอบคุณสมบัติ และได้ตอบคำถามของคุณไปแล้วในทุกๆ ประเด็นว่า ข้อหล่าวหาดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่ประการใด
ผมได้ผ่านกระบวนการสรรหาอธิการบดี ซึ่งได้มีการตรวจสอบว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2541 และเป็นผู้มีคุณลักษณะเหมาะสม ตามเกณฑ์ท้ายข้อบังคับที่สภามหาวิทยาลัยฯ กำหนด ตามข้อ 6 แห่งประกาศสภามหาวิทยาลัยฯ เรื่องข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาอธิการบดี 2555 และในประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนในเรื่องต่างๆ
รวมทั้งบางสื่ออ้างว่า มีข้อมูลใหม่ แต่แท้จริงคือการเรียบเรียงเรื่องเดิมที่เคยถูกร้องเรียนมาแล้วทั้งสิ้น (โปรดใช้วิจารณญาณนะครับ เพราะคำร้องเรียนมักถูกเขียนให้เลวร้ายกว่าความเป็นจริงเสมอ) ระหว่างดำรงตำแหน่งคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวได้ร้องเรียนผมไปถึงหน่วยงานต่างๆ มากมาย อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยุติเรื่องดังกล่าว รวมทั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เองก็ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2555 สรุปว่า มิใช่เรื่องทุจริต และได้ยุติเรื่องแล้ว
สกอ.ไม่ใช่ศาลทั้งๆ ที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบยืนยันว่า มิใช่เรื่องทุจริต และได้ยุติเรื่องแล้ว คุณก็ยังไม่เชื่อ หรือไม่ยอมเชื่อ