แนวทางป้องกันดูแลเด็กสมาธิสั้น
วิจัยความรู้สู่แนวทาง ป้องกัน-ดูแล-รักษา “โรคสมาธิสั้น”
สมาธิสั้น-อนาคตยังไม่สั้น ถ้าป้องกันและรักษาอย่างถูกทาง
ป้องกัน : สังเกตและคัดกรองเบื้องต้นด้วยเครื่องมือ เช่น แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) แบบคัดกรอง SNAP-IV, KUS-SI, Conners rating scale, THASS ฯลฯ
ดูแล : ปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและโรงเรียน เช่น ลดสิ่งเร้า อาทิ ทีวี เกมส์ ของเล่น เพิ่มสมาธิ ฝึกทำกิจกรรมที่เด็กชอบอย่างจดจ่อและมีสมาธิมากขึ้น เพิ่มการควบคุมตนเอง ฝึกระเบียบวินัย หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและควบคุมอารมณ์
รักษา : ปัจจุบันการรักษาด้วยยาที่ได้ผลดีที่สุด คือ ยาในกลุ่ม Psychostimulants โดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สมองให้เพิ่มสารเคมีตัวที่เด็กมีน้อยกว่าเด็กปกติ ทำให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น และมีสมาธิยาวนานขึ้น
ส่งต่อและติดตาม : สังเกตพฤติกรรม ประเมินอาการข้างเคียงของยารักษาโรคสมาธิสั้นอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อหากพบปัญหา
พลังการแก้ปัญหา : จากความรู้สู่ความร่วมมือ 3 ฝ่าย
จากผลวิจัยแปลงสู่ความร่วมมือของ “ผู้ปกครอง ครู บุคลากรทางการแพทย์” สู่การดูแลรักษาเด็กโรคสมาธิสั้นอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร บ้าน พ่อแม่สังเกตความผิดปกติด้านอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ควบคู่กับการประเมินด้วยแบบคัดกรอง SNAP-IV และติดตามผล
โรงเรียน ครูสังเกตความผิดปกติด้านอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ควบคู่กับการประเมินด้วยแบบคัดกรอง KUS-SI, SNAP-IV และติดตามผล
รพ.สต./โรงพยาบาล ประเมินอาการ ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรค การปรับพฤติกรรมที่บ้านและโรงเรียน การลดปัจจัยเสี่ยง การติดตามอาการ และการส่งต่อ มีการปรับพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา ควบคู่กับแพทย์วินิจฉัยโรคสมาธิสั้น และประเมินหรือคัดกรองโรคร่วมหรือโรคอื่นๆ
ข้อมูลจาก : คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ดาวน์โหลดคู่มือฯ และงานวิจัยของ สวรส. คลิก http://kb.hsri.or.th
หรือสามารถค้นหาและดาวน์โหลดสื่อข้อมูลความรู้เพิ่มเติมได้ทางเว็ปไซต์ www.adhdthailand.com และ www.hsri.or.th
อ่านประกอบ:
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก healthandtrend.com
อ