คนดังร่วมค้าน "หยุดทางเลียบก่อนที่จะสาย"
ในกรุงเทพฯ จุดที่สวยที่สุด คือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้นคิดว่า ต้องสร้างทางเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจริงๆ คงรู้สึกเหมือนกำลังโดนแย่งกรุงเทพฯไป เป็นการดึงความสวยงามของบ้านเราไป "ผมเป็นคนที่รักเมืองเก่าเหลือเกิน ชุมชนที่ใช้ชีวิตริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาเป็นร้อยปีคงเดือดร้อนกว่าผมมาก"
เมื่อเร็วๆ นี้ สมัชชาแม่น้ำ Frineds of the river จัดงานที่ใช้ชื่อว่า "River of No Return หยุดทางเลียบก่อนที่จะสาย เพราะแม่น้ำไม่ไหลย้อนกลับ" โดยมีภาคีเครือข่ายหลากหลายภาคส่วนออกมาร่วมกันคัดค้าน โดยเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ น้อย วงพรู มีธุรกิจส่วนตัวอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เขามองว่า ในกรุงเทพฯ จุดที่สวยที่สุด คือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฉะนั้น การสร้างทางเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขาจึงรู้สึกเหมือนกำลังโดนแย่งกรุงเทพฯไป เป็นการดึง "ผมเป็นคนที่รักเมืองเก่าเหลือเกิน ชุมชนที่ใช้ชีวิตริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาเป็นร้อยปีคงเดือดร้อนกว่าผมมาก"
"จุลจักร์ จักรพงษ์" หรือ ฮิวโก้ นักร้อง-นักแสดง ก็แสดงความเห็นว่า การที่จะมีอะไรมาบดบังสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องน่าเศร้า หากเป็นเรื่องที่ประชาชนเรียกร้องเขาก็ไม่ขัด แต่วันนี้ก็ยังไม่ได้ยินเสียงเรียกร้องเหล่านั้น การสร้างโครงการนี้เหมือนเป็นการบดบังเสน่ห์ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีอยู่แต่เดิมมาช้านาน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย นักท่องเที่ยวมาคงไม่ได้ต้องการมาเห็นอะไรพวกนี้ เขาคงอยากมาซึมซับวิถีชีวิตและความเป็นประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ ถ้าทำลายจุดเด่นของกรุงรัตนโกสินทร์ไปแบบนี้ นักท่องเที่ยวไปที่อื่นไม่ดีกว่าหรือ"
เช่นเดียวกับ "มาริสา สุโกศล หนุนภักดี" กลุ่มคนรักแม่น้ำเจ้าพระยาและมรดกไทย บอกว่า ในฐานะคนทำธุรกิจโรงแรม พวกเรามีความกังวล เพราะเราไม่เคยเห็นเป็นกิจลักษณะเกี่ยวกับข้อมูลของโครงการ ไม่มีใครวิเคราะห์ผลกระทบเชิงธุรกิจท่องเที่ยว เราจะวางแผนล่วงหน้าได้อย่างไร ถ้าจะพัฒนาให้คนเข้าถึงแม่น้ำ ทำไมไม่อนุรักษ์ชุมชนริมน้ำให้มีค่ามากขึ้น รณรงค์ให้คนไปเที่ยวริมน้ำ ไม่ใช่ว่าจะสร้างถนนจักรยาน อยากรณรงค์ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของแม่น้ำ กลับมารักแม่
และไม่ต่างจาก "อัชชพล ดุสิตนานนท์" นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แม้เห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ แต่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาการรุกล้ำพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยตลอดการดำเนินงานของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีเพียงการพิจารณาจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน โดยพิจารณาแค่ข้อมูลจากภาพวิว (Perspective) โดยขาดการพิจารณาปัญหาในหลากหลายมิติ อีกทั้งยังขาดการสื่อสารที่ดีกับหลากหลายหน่วยงาน การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมทั้งมีกระบวนการรับฟังเนื่องจากเป็นกระบวนการที่สำคัญ
อ่านประกอบ :
สมัชชาแม่น้ำยันค้านสุดตัว ยุติโครงการทางเลียบเจ้าพระยา
คุณค่าวัฒนธรรมสูญหาย โจทย์ใหญ่ “ทางเลียบเจ้าพระยา” ไม่เชื่อมโยงชุมชน
มท.1 ยันทางเลียบเจ้าพระยา งบฯ ไม่ถึง 1.4 หมื่นล้าน โครงสร้างสูงน้อยกว่าเขื่อนริมฝั่ง
กลุ่มสมัชชาแม่น้ำ เดินหน้ายับยั้ง โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เหล่านักวิชาการรวมตัว ค้านทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา จี้สจล.ถอนตัว
2 ศิลปินดังร่วมค้านโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา