"คืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า" ให้ประชาชน!
"...เวลาประชาชนไปขอใช้ไฟฟ้า จะมีค่าประกันการใช้ไฟฟ้าอยู่จำนวนหนึ่ง ตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน เงินจำนวนนี้ไปกองอยู่กับหน่วยงานของรัฐที่ขายไฟฟ้าให้ประชาชน 3 หน่วยงาน เงินจำนวนนี้หน่วยงานของรัฐเอาไปทำอะไรไม่ได้ ต้องเก็บไว้เฉย ๆ เท่านั้น เพราะไม่ใช่เงินของตัวเอง หากมีไว้เพื่อประกันในกรณีที่ประชาชนไม่ชำระค่าไฟฟ้า..."
รัฐบาลจะ "แจกเงิน" ครั้งใหญ่อีกก็ว่ากันไป เข้าใจได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ถือว่ามีเหตุผลความจำเป็น และไม่ใช่เวลาที่จะมาวิพากษ์อะไรกันมาก เอาเป็นว่าเข้าใจละว่าเพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบโดยตรง โดยเร็ว เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้า ไม่สะดุดหยุดนิ่ง
แต่ขอเสนอแนะแนวทาง "นอกกรอบ" ที่คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กำลังศึกษาอยู่ด้วยได้ไหม
คือแทนที่จะ "แจกเงิน" เหมือนเดิมอย่างเดียว - รัฐช่วย "คืนเงิน" ด้วย
"คืนเงินของประชาชนที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐให้กลับไปสู่มือประชาชน" !
เช่นอะไรบ้างล่ะ ?
"ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า" - ชัดเจนที่สุด !
เวลาประชาชนไปขอใช้ไฟฟ้า จะมีค่าประกันการใช้ไฟฟ้าอยู่จำนวนหนึ่ง ตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน เงินจำนวนนี้ไปกองอยู่กับหน่วยงานของรัฐที่ขายไฟฟ้าให้ประชาชน 3 หน่วยงาน เงินจำนวนนี้หน่วยงานของรัฐเอาไปทำอะไรไม่ได้ ต้องเก็บไว้เฉย ๆ เท่านั้น เพราะไม่ใช่เงินของตัวเอง หากมีไว้เพื่อประกันในกรณีที่ประชาชนไม่ชำระค่าไฟฟ้า
ในอดีตอาจจะมีเหตุจำเป็น แต่ปัจจุบันความจำเป็นนั้นลดน้อยลงและแทบจะไม่มี
เพราะยอดหนี้เสียของผู้ใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนต่ำมาก ๆ
แล้วจะเก็บไว้นอนกอดไว้ทำไม ?
สู้ "คืนให้กับประชาชน" ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่ภาคธุรกิจทันทีในภาวะยากลำบากนี้เลยไม่ดีกว่าหรือ ?
ไม่ใช่แจกเงิน แต่คือคืนเงิน
และได้กันทั่วถึง ไม่เฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่มีบัตรประชารัฐ แต่ชนชั้นกลางผู้มีเงินเดือนประจำและเสียภาษีอากร เอสเอ็มอี พ่อค้าแม่ขายคนเล็กคนน้อย ได้กันถ้วนหน้าน้อยมากต่างกันไปตามปริมาณไฟที่ขอใช้
เรื่องนี้ทำได้ไม่ยาก
ใช้มาตรการทางการบริหาร ผ่านทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ศึกษาเรื่องนี้มาต่อเนื่อง และก่อนหน้านี้ก็ได้มีมาตรการที่ให้มีการจ่ายดอกผลของค่าประกันการใช้ไฟฟ้าทุก 5 ปีอยู่แล้ว เพียงแั่มันเล็กน้อยมากแทบไม่รูสึกอะไร
ถ้ารัฐบาลเห็นเป็นนโยบายเร่งด่วน ทำได้และคืนเงินได้ภายในเดือนสองเดือน
และไม่เพียงเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าเท่านั้น ยังมีเงินลักษณะเดียวกันนี้ก้อนอื่น ๆ อีก
น้ำประปาก็ควรพิจารณาศีกษาว่ามีเงินของประชาชนไปประกันอะไรเก็บไว้บ้างไหม
อื่น ๆ อีกล่ะ ?
จากการศึกษาของคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนเมื่อสองสามปีก่อนพบว่ามี "เงินและทรัพย์สินของประชาชนตกค้างอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐและเอกชน" จำนวนไม่น้อยทีเดียว - สมควรมีมาตรการคืนหรือนำมาใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
ถ้าจะขยายขอบเขต และทำกันทั้งระบบ ก็สามารถเร่งตราเป็นกฎหมายได้
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศที่ต้องพิจารณาในที่ปรุชุมร่วมกันของรัฐสภา
อันที่จริงก็มีบรรจุอยู่ในแผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายแล้ว
เพียงแต่รัฐบาลยังไม่ได้ทำ
ควรทราบว่ารัฐบาลได้บรรจุร่างกฎหมายเกี่ยวกับการนี้ไว้ในภาคผนวกของเอกสารแถลงนโยบายเมื่อปีที่แล้ว อยู่ในลำดับที่ 4 หรือ 5 นี่แหละภายใต้ชื่อ...
"ร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินตกค้างที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐและเอกชน"
ตัวร่างกฎหมายก็มีแล้ว ยกร่างโดยคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนที่มีอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณเป็นประธาน
เพียงแต่กระทรวงการคลังเห็นต่างในสาระสำคัญ
พอหน่วยงานของรัฐเห็นต่าง ก็เลยยังไปไม่ถึงไหนตามฟอร์ม
เอาเป็นว่าเรื่องร่างกฎหมายนี้ไว้ว่ากันทีหลัง เฉพาะหน้านี้ขอเสนอให้เร่งคืนเงินของประชาชนในรูปค่าประกันการใช้ไฟฟ้ามาก่อนโดยเร็วละกัน
ประชาชนจะได้มีเงินเพิ่มไปจับใช้ใช้สอยสมดังเจตนารมณ์ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนของรัฐบาล
#คืนเงินให้ประชาชน #คืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า #ค่าประกันการใช้ไฟ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2806666386043964&id=100001018909881