โรคติดต่ออันตราย หรือ โรคติดต่อร้ายแรง
การประกาศเรื่องนี้จะยังผลให้เกิดความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่ามีกฏหมายรองรับ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ย่อมได้รับคุ้มครองการปฏิบัติงานหากกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ที่สุจริตเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคเหล่านี้
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟชบุคชี้แจงเหตุผลทำไมจึงมีการเสนอให้ covid19 เป็นโรคติดต่ออันตราย เมื่อประกาศเป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว จะมีผลอย่างไรบ้าง ตื่นตัว อย่างมีความรู้ แต่อย่าตื่นกลัว
นายอนุทิน ระบุว่า การออกประกาศว่าโรคใดเป็นโรคติดต่อร้ายแรง จะกระทำเมื่อ คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อมีมติของที่ประชุมแล้วจึงนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในประกาศ คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อส่วนใหญ่คือแพทย์ผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้เป็นอย่างดี
หากจะต้องมีการประกาศให้โรค COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว ประชาชนทั่วไปก็ยังคงใช้ชีวิตตามปกติเหมือนทุกวัน
การประกาศ เป็นฐานให้บังคับใช้ข้อกำหนดในกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อได้โดยสะดวก เมื่อมีความจำเป็น เช่น การประกาศว่าเมืองใด ในประเทศใด เป็นเขตติดโรค เพื่อใช้มาตรการคัดกรอง หรือกักกันผู้เดินทางจากเมืองนั้นๆด้วยความเร่งด่วน ก็จะสามารถกระทำได้ทันที
การประกาศเรื่องนี้จะยังผลให้เกิดความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่ามีกฏหมายรองรับ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ย่อมได้รับคุ้มครองการปฏิบัติงานหากกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ที่สุจริตเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคเหล่านี้
ที่ผ่านมาในอดีต มีการประกาศโรคติดต่ออันตรายแล้ว 13 ครั้ง และในที่สุดเราก็จัดการกับมันได้ทุกครั้ง
โรคเหล่านี้ก็ไม่เคยกลับมากล้ำกรายพวกเราอีกเลย ต่อให้มันกลับมา เราก็มีความสามารถที่จะจัดการกับมันได้
สรุป การประกาศนี้ทำให้เจ้าหน้าที่การสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ไม่มีอะไรต้องหวั่นหรือวิตก ตื่นตัวแต่อย่าตื่นกลัว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
รู้จัก 13 ชื่อโรคติดต่ออันตราย!ก่อนสธ.ประกาศ 'ไวรัสโควิด-19' เป็น’น้องใหม่‘
กันติดเชื้อโควิด-19 บ.ไอทียักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น พร้อมใจสั่งพนง.ทำงานที่บ้าน-เลี่ยงเดินทางช่วงเร่งด่วน
สธ.แนะนำคนไทย ไม่จำเป็น 'เลื่อน' เดินทางไปญี่ปุ่น-สิงคโปร์
อนุทิน ยันสาธารณสุขไทย พร้อมช่วยกัมพูชาป้องกันการระบาดไวรัสโควิด-19