การเยียวยาที่พึงประสงค์แก่ คูร-อาจารย์-ขรก. ในสถาบันอุดมศึกษา
"...ในประเทศไทยมีการเยียวยา (remedy) มาแล้วหลายปรากฏการณ์ซึ่งแสดงถึงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคม รวมถึงจากการออกกฎหมายไม่ครอบคลุมบุคคลจึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เมื่อมีกฎหมายเปิดช่องให้มีการเยียวยาเกิดขึ้น แสดงว่าจะต้องมีการเยียวยาให้กับบุคคลที่ได้รับผลกระทบ..."
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินเดือนครู เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในปี พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบฐานเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งระหว่างข้าราชการครูฯ กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต่างกัน
ต่อมารัฐบาลประกาศขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการทั่วประเทศอีกร้อยละ 5 จึงทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษาได้ปรับเพิ่มถึงร้อยละ 13
ในการประกาศขึ้นเงินเดือนดังกล่าวเกิดผลทำให้ฐานเงินเดือน ข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมและมากกว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไป ร้อยละ 8
ต่อมามีความพยายามจากเครือข่ายต่าง ๆ ผลักดันให้มีการแก้กฎหมายเพื่อเปิดช่องทางให้รัฐบาล สามารถกำหนดเงินเดือนให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2562 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา มีผลทำให้เกิดพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติม “มาตรา 8/1 ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ.อ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำ ตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรี กำหนด” ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 49 ก ลงวันที่ 14 เมษายน 2562
หลักการในการเยียวยาในประเทศไทยมีการเยียวยา (remedy) มาแล้วหลายปรากฏการณ์ซึ่งแสดงถึงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคม รวมถึงจากการออกกฎหมายไม่ครอบคลุมบุคคลจึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เมื่อมีกฎหมายเปิดช่องให้มีการเยียวยาเกิดขึ้น แสดงว่าจะต้องมีการเยียวยาให้กับบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในการเยียวยาให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษานั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 ให้อำนาจแก่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.พ.อ.กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงิน ประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรี กำหนด เพื่อให้เกิดหลักเกณฑ์และวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการการ เยียวยาไว้ดังนี้
1. การเยียวยาเป็นหลักการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และก่อให้เกิดความเข้าใจกัน เกิดความปรองดอง การกำหนดรูปแบบการดำเนินการที่เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลที่ไดรับผลกระทบเข้ามามีส่วน ร่วม และหรือรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบให้เกิดการยอมรับให้ได้
2. ที่ผ่านมามีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นจริงำาให้เกิดการฉุดรั้งศักยภาพของบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้ง สภาพจิตใจ ขวัญกำลังใจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวมของประเทศ การที่จะทำให้ประเทศ พัฒนาด้านการศึกษาและมีอนาคตที่ดีร่วมกันเดินไปข้างหน้าได้อย่างแท้จริงนั้น ก็ต่อเมื่อเราได้เยียวยาทั้งบุคคล ในปัจจุบัน และรวมถึงอดีตให้กับผู้ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
3. ให้ใช้ระยะเวลาในการเยียวยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน เนื่องเพราะเป็นปีที่ข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับผลกระทบต่อการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการครูฯ และสามารถเทียบเคียง กับตำแหน่งหรือบุคลากรในวิชาชีพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน คือข้าราชการครูกับข้าราชการพลเรือนที่เป็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย บุคลากรทางการศึกษากับสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย
4. หลักการเยียวยาให้แก่บุคคลในปัจจุบันและอดีตที่ได้รับผลกระทบ ให้ได้รับความช่วยเหลือ สะท้อน ความเสียหาย ให้ความเป็นธรรมของบุคคลเหล่านั้นที่พึงได้รับการชดเชย คือ การปรับอัตราเงินเดือนให้เพิ่มจาก เดิมร้อยละ 8 ที่หายไปให้เท่าเทียมกับข้าราชการครูฯ
5. ใช้หลักการของการเยียวยาที่ไม่ทำให้บุคลากรเสียสิทธิประโยชน์อันมีลักษณะวิชาชีพ ประเภท เดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่ไม่ต่ำกว่าหรือสูงมากกว่ากัน กลุ่มใดบ้างที่ต้องได้รับการเยียวยาตั้งแต่ พ.ศ.2554 -ปัจจุบัน
1.) กลุ่มข้าราชการครูเดิมที่ถูกปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนฯ สังกัดวิทยาลัยครู เป็น สถาบันราชภัฏ และเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
2.) กลุ่มข้าราชการครูเดิมที่ถูกปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนฯ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
3.) กลุ่มข้าราชการครูที่โอนย้ายจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ ที่เข้ามาสังกัดใน สถาบันอุดมศึกษา
4.) อาจารย์ที่เป็นข้าราชการพลเรือนฯ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
5.) อาจารย์ที่เป็นข้าราชการพลเรือนฯ ในมหาวิทยาลัยในกำกับที่ยังมีสถานภาพเดิม
6.) กลุ่มข้าราชการพลเรือนฯ สายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา
7.) กลุ่มข้าราชการพลเรือนฯ ที่เกษียณอายุราชการ
8.) กลุ่มข้าราชการพลเรือนฯ ที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ
9.) กลุ่มข้าราชการพลเรือนฯ ที่เสียชีวิต
10.) กลุ่มที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนฯ ในมหาวิทยาลัยในกำกับ
กลุ่มข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและในกำกับตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันนั้นมีจำนวนไม่ถึง 30,000 คน และงบประมาณที่จะใช้ในการเยียวยานั้น จะไม่ถึง 3,000 -4,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาล สามารถตั้งงบประมาณรายจ่ายในการเยียวยาในปีงบประมาณ 2564 ได้ครอบคลุมทั้งงอดีต ปัจจุบัน และ อนาคตได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.พ.อ. รวมถึงคณะรัฐมนตรี จะแก้ปัญหาเฉพาะ หน้าจากการอ้างเหตุจำนวนงบประมาณที่ต้องใช้ และหรือแก้ปัญหาให้กับกลุ่มข้าราชการพลเรือนฯ เฉพาะในปัจจุบันนั้น ย่อมผิดหลักการของการเยียวยาที่บุคคลได้รับผลกระทบมานาน และยิ่งจะเกิดปัญหาใหม่อย่างไม่ สิ้นสุด
แต่เชื่อว่ารัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ ที่จะสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมไทยได้ รวมถึงจะสามารถข้ามผ่านปัญหาความขัดแย้ง และเป็นผลงานที่ดีน่ายกย่องให้กับรัฐบาลและหน่วยงานในการช่วยเหลือ และคืนความเป็นธรรมอย่างเหมาะสมในการเยียวยาที่พึงประสงค์ให้แก่ข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษาที่ถูกละเลยมาเกือบ 9 ปี ได้สำเร็จในเร็ววันนี้
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/