‘บิ๊กป๊อก’เอาแน่ย้าย ก.มหาดไทยไปคลองสาน ที่ราชพัสดุ18 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จปี 66
‘อนุพงษ์’ ตอบกระทู้ ส.ส.อนาคตใหม่ ในสภาฯ แผนย้ายที่ตั้ง ก.มหาดไทยไปคลองสาน ปักธงที่ราชพัสดุ 18 ไร่ ถ.เจริญนคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มปี 63 เสร็จ 66 ตอนนี้กำลังศึกษาผลกระทบชุมชนโดยรอบ แจง คมนาคมสะดวกทางน้ำ บก รถไฟฟ้าสายสีทอง
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2562 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ กระทู้ถามเรื่อง ความคืบหน้าแผนการก่อสร้างกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ในเขตคลองสานของนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคอนาคตใหม่ กรุงเทพมหานคร ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีที่มีข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงดูพื้นที่ราชพัสดุ 18 ไร่ บริเวณถนนเจริญนครริมแม่น้าเจ้าพระยา เขตคลองสาน เพื่อจะสร้างที่ตั้งกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า
1. การก่อสร้างโครงการศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ4 ปี ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566 และกระทรวงมหาดไทยได้ด้าเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดท้ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ขณะนี้ที่ปรึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการและจะมีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดกับชุมชนโดยรอบด้วย
2. ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามข้อ 1 จะศึกษาผลกระทบในทุกด้านซึ่งรวมถึงผลกระทบในด้านการจราจรด้วย ทั้งนี้ ในการออกแบบโครงการได้เตรียมแผนบรรเทาในส่วนนี้ไว้เบื้องต้น เช่น การจัดท้าท่าเรือโดยสารส้าหรับเรือด่วนและเรือข้ามฝาก หรือรถรับ – ส่งจากสถานีรถไฟฟ้าเพื่อช่วยบรรเทาเรื่องการจราจร ในส่วนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในขณะก่อสร้างนั้นในการจัดท้า EIA จะได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวไว้ด้วย และกระทรวงมหาดไทยจะควบคุม ก้ากับ ดูแลให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการให้เสร็จตามระยะเวลาในสัญญาและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ในการป้องกันผลกระทบกับชุมชนโดยรอบ เช่น การป้องกันฝุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ในการออกแบบผนังภายนอกอาคารส่วนใหญ่จะใช้ระบบส้าเร็จรูป ก็จะช่วยลดมลภาวะทางอากาศจากการก่อสร้างได้มากเช่นกัน และเนื่องจากโครงการอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา การขนส่งดินออกจากโครงการสามารถขนส่งทางน้ำได้ จะช่วยลดปัญหาด้านการจราจร และฝุ่นละอองได้
3. ในการด้าเนินการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้โครงการในที่ดินราชพัสดุแปลงอื่นก่อนหน้านี้หลายแห่ง แต่ละที่ก็มีประเด็นปัญหาของแต่ละพื้นที่ เช่น ที่ดิน ย่านมีนบุรี แต่ติดว่ามีโรงเรียนเอกชนและบ้านชาวบ้านกว่า 200 หลังคาเรือนอยู่ในพื้นที่ จึงไม่มีความเหมาะสม ที่ดินปัจจุบัน (เขตคลองสาน) มีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นพื้นที่ว่างเปล่า อยู่ไม่ไกลจาก กระทรวงมหาดไทยมากนัก และมีความสะดวกในการคมนาคม สามารถเข้าถึงโครงการ ได้ทั้งทางน้าและทางบก และยังอยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้าสายสีทอง) สามารถเดินทาง ไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ง่าย อาทิเช่น สภาผู้แทนราษฎร กระทรวง กรมต่าง ๆ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/281/T_0026.PDF