ปัญหาการทุจริตกับการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีจัดซื้อสื่อการเรียนการสอน อบจ.
"...ดังนั้น หากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในวงราชการ นอกจากการสร้าง ความน่าเชื่อถือให้กับประชาชนด้วยการปราบปรามอย่างเข้มงวด ไม่ละเว้นแม้ในกรณีที่เกิดคอรัปชั่นกับคนใกล้ชิดผู้นํารัฐบาลแล้ว องค์กรที่ทําหน้าที่ปราบปรามทุจริตอย่าง ป.ป.ช. ต้องจัดการลงโทษภาคเอกชน/พ่อค้า ที่มีส่วนตั้งแต่แรกในการก่อให้เกิดการทุจริตในวงราชการด้วย..."
ปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาสังคมที่มีมานานแล้ว สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น มีคนพูดและเขียนกันมามาก ในบทความนี้จึงจะเน้นเฉพาะการแก้ปัญหาทุจริตในเชิงป้องกัน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือผู้คนในสังคม เพราะ ปัญหาสังคมทุกด้านไม่อาจแก้ได้สําเร็จด้วยองค์การใดหรือภาคส่วนใดของสังคมโดยลําพัง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในสังคมนั้น
การรณรงค์ถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่นิยมใช้สําหรับเชิญชวนให้คนในสังคมได้รับรู้ปัญหาและร่วมกัน แก้ปัญหา ซึ่งปัจจุบันมีหลายรูปแบบมาก และทําได้ในวงกว้าง ทั้งเป็นการชี้ให้เห็นว่า หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้ รับการแก้ไข วันหนึ่งปัญหาดังกล่าว อาจมากระทบถึงตัวเองได้ แต่หากจะถามว่า การรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาสังคมลักษณะอย่างนี้ประสบผลสําเร็จเพียงใด เท่าที่เห็นว่าการรณรงค์ประสบผลสําเร็จคือ การรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยในการวางแผนครอบครัว การรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติก ซึ่งกําลังจะทํากันในขณะนี้ และยังมีอีกหลายเรื่องที่ทําสําเร็จ เพราะเรื่องนั้น มันมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนหรือเรียกว่าปัญหาใกล้ตัว แต่การรณรงค์เพื่อป้องกันการทุจริตนั้น ดูเหมือนไม่ได้รับความสําเร็จเลยก็ว่าได้ ทั้งๆ ที่ทํากันมานาน
สาเหตุที่คิดว่าการรณรงค์ป้องกันการทุจริตไม่ได้ผล อาจมีสาเหตุอย่างน้อย 3 ประการคือ
1. องค์การที่รับผิดชอบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือที่นิยมเรียกกันเองว่า ป.ป.ช. ยังไม่เป็นที่เชื่อถือของประชาชน
2. ภาคส่วนต่างๆ ที่รณรงค์แก้ไขปัญหาการทุจริตทํางานแบบตัวใครตัวมัน ขาดการทํางานที่ต่อเนื่องและขาดความจริงจังที่จะทําเรื่องทุจริตให้เห็นผลป็นรูปธรรม
3. ประชาชนยังคิดว่าปัญหาการทุจริต เป็นปัญหาไกลตัว และผลร้ายที่เกิดจากการทุจริตไม่ได้กระทบต่อประชาชนโดยตรง ทั้งยังมีน้อยคนที่คิดว่าเป็นปัญหาร้ายแรงถึงขั้นอาจทําลายความมั่นคงของประเทศชาติได้
ตัวอย่างที่จะนํามาเสนอในบทความนี้ เป็นกรณีการจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในปี พ.ศ. 2551 โดยมีการจัดซื้อใน อบจ. ต่างๆ เกือบทั้งประเทศ และใช้วิธีการจัดซื้อที่มี การทุจริตในรูปแบบเดียวกัน โดยการอาศัยรูปแบบการทุจริตของ อบจ. นครสวรรค์ เพราะในขณะนั้น นายก อบจ.นครสวรรค์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย จึงใช้รูปแบบการทุจริตเหมือนๆ กัน ในหลายจังหวัด การทุจริตดังกล่าวเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ติดต่อกันหลายเดือน จนกระทรวงมหาดไทยต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบพบว่า เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างๆ ที่ยื่นซอง ประมูลมีลักษณะส่อไปในทางอั้วประมูล หรือการจัดซื้อเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการ เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ต่อมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พิจารณาแล้วเห็นว่า ยังไม่มี หลักฐานว่าการจัดซื้อเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่พบว่า ผู้เสนอราคามีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง และได้ แจ้งให้ อบจ. ดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและส่งเรื่องให้สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ทราบว่า ขณะนี้บางจังหวัดยังอยู่ระหว่าง คําเนินการของ ป.ป.ช. และบางจังหวัด ป.ป.ช. ก็ได้ชี้มูลและส่งเรื่องให้จังหวัดดําเนินการทางวินัยต่อไปแล้ว ซึ่ง ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกลงโทษเป็นข้าราชการประจําตั้งแต่ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลงมา ส่วนนายก อบจ. ผู้สั่งการมักจะพ้นผิดเพราะหลักฐานสาวไปไม่ถึง
ประเด็นที่น่าสนใจในกระบวนการทุจริตอีกประการหนึ่ง หากจะแก้ปัญหาการทุจริตให้ได้ผล ก็ควร พิจารณาผู้ที่อยู่ในกระบวนการก่อให้เกิดการทุจริตทุกราย โดยเฉพาะผู้เสนอราคาประมูล หรือฝ่ายพ่อค้า หรือ บริษัทเอกชนที่ถือว่าเป็นต้นเหตุแห่งการทุจริต ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอย่างเห็นได้ชัดตาม “แผนผังแสดง ความเกี่ยวพันของบุคคลและให้บุคคลที่เข้าร่วมการประกวดราคา” ในกรณีของ อบจ.นครสวรรค์ และจังหวัด อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งยังไม่เคยถูกลงโทษแม้เพียงรายเดียว
ดังนั้น หากจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในวงราชการ นอกจากการสร้าง ความน่าเชื่อถือให้กับประชาชนด้วยการปราบปรามอย่างเข้มงวด ไม่ละเว้นแม้ในกรณีที่เกิดคอรัปชั่นกับคนใกล้ชิดผู้นํารัฐบาลแล้ว องค์กรที่ทําหน้าที่ปราบปรามทุจริตอย่าง ป.ป.ช. ต้องจัดการลงโทษภาคเอกชน/พ่อค้า ที่ มีส่วนตั้งแต่แรกในการก่อให้เกิดการทุจริตในวงราชการด้วย
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก http://itc.drr.go.th/th/node/672