กรมปศุสัตว์ วืดออกใบอนุญาตค้ารังนกอีแอ่น! กฤษฎีกาชี้เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์สงวนที่ยังมีชีวิต
เผยความเห็นทางกม.! กรมปศุสัตว์ วืดออกใบอนุญาตค้ารังนกอีแอ่น กฤษฎีกาชี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากสัตว์สงวนที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่สามารถออกใบอนุญาตครอบครอง-ทำการค้ารังนกอีแอ่นได้
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมาย ชี้ขาดว่า เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ไม่อาจอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 229 มาตรา 2410 และมาตรา 3411 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์พ.ศ. 2558 ในการพิจารณาออกใบอนุญาตทําการค้าหรือหากําไรในลักษณะคนกลางซึ่งรังนกอีแอ่นที่เก็บจากบ้านหรือคอนโดรังนก หรือออกใบอนุญาตให้ทําการเคลื่อนย้ายซึ่งรังนกอีแอ่นที่เก็บจากบ้านหรือคอนโดรังนกได้ เนื่องจากนกอีแอ่นกินรังนับเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามบุคคลใดเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา 218 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
โดยการให้ความเห็นทางกฎหมายดังกล่าว เป็นผลมาจาก กรมปศุสัตว์ ได้ทำหนังสือขอหารือเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินงานและการจัดการสําหรับรังนกอีแอ่น ภายหลังจากที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมปศุสัตว์ ได้ประชุมหารือแนวทางการดําเนินงานและการจัดการสําหรับรังนกอีแอ่น เนื่องจาก ปัจจุบันมีผู้ประกอบการต้องการขออนุญาตค้ารังนกอีแอ่น รังที่เก็บมาจากบ้านรังนกเอกชน ซึ่งกรมปศุสัตว์เห็นว่ารังนกอีแอ่นกินรังเป็นสิ่งที่ได้จากนกอีแอ่นกินรัง จึงถือว่าเป็นซากสัตว์ตามนิยาม คําว่า “ซากสัตว์" ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ
กรมปศุสัตว์ จึงขอหารือว่า เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์มีอํานาจในการพิจารณา ออกใบอนุญาตทําการค้าหรือหากําไรในลักษณะคนกลางซึ่งรังนกอีแอ่นกินรังที่เก็บจากบ้านรังนก หรือคอนโดรังนก และการออกใบอนุญาตให้ทําการเคลื่อนย้ายซึ่งรังนกอีแอ่นกินรังที่เก็บจากบ้านรังนกหรือคอนโดรังนกตามมาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ หรือไม่ เพียงใด เพื่อจะได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
เบื้องต้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) ได้พิจารณาขอหารือของกรมปศุสัตว์ โดยมีผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สํานักงานปลัดกระทรวงและกรมปศุสัตว์) ผู้แทนกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม (สํานักงานปลัดกระทรวงและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) และผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการและผังเมืองและกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ มีเจตนารมณ์ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่เกิดกับสัตว์ อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนและเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกําหนดขอบเขตของการควบคุมไปถึงซากสัตว์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ ที่ได้กําหนดบทนิยาม คําว่า “ซากสัตว์”หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่ตายแล้ว สิ่งใด ๆ ที่ได้จากสัตว์ ที่มีชีวิตหรือสัตว์ที่ตายแล้ว และให้หมายความรวมถึงอาหารสุกที่ทําประกอบ หรือปรุงจากซากสัตว์ หรือสิ่งประดิษฐ์สําเร็จรูปที่ทําจากซากสัตว์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด เมื่อพิจารณาลักษณะรังของนกอีแอ่นกินรังซึ่งสร้างจากน้ำลายของนกดังกล่าวแล้ว รังของนกอีแอ่นกินรังจึงเป็นสิ่งใด ๆ ที่ได้จากสัตว์ที่มีชีวิต และเป็นซากสัตว์ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ ผู้ใดที่ทําการค้าหรือหากําไร ในลักษณะคนกลางซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์จึงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา 243 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามาตรา 147 แห่งพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดเก็บรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะหรือในที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดินโดยไม่ได้รับสัมปทานจากคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่น จะเห็นได้ว่า กรณีรังนกอีแอ่นกินรังที่เก็บจากบ้านหรือคอนโดของเอกชนไม่อยู่ในสัมปทานที่จะได้รับอนุญาตใหเก็บ ตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นฯ
ดังนั้น เมื่อนกอีแอ่นกินรังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จึงเป็นกรณีห้ามบุคคลใดเก็บ ทําอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าคุมครองตามมาตรา 218 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตว์ป่าฯ เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์จึงไม่อาจอาศัยอํานาจ ตามมาตรา 229 มาตรา 2410 และมาตรา 3411 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตทําการค้าหรือหากําไรในลักษณะคนกลางซึ่งรังนกอีแอ่นที่เก็บจากบ้านหรือคอนโดรังนก หรือออกใบอนุญาตให้ทําการเคลื่อนย้ายซึ่งรังนกอีแอ่นที่เก็บจากบ้านหรือคอนโดรังนกได้ (อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่:http://web.krisdika.go.th/data/comment/comment2/2562/c2_0230_2562.pdf)
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/