ข้อเสนอวิธีการคำนวณจำนวน ส.ส. ให้สอดคล้องกับกฎหมาย
"...วิธีการคำนวณจำนวน ส.ส. กรณีมี ส.ส. แบบแบ่งเขตเกินสัดส่วน (overhang) มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) ซึ่งนำมาบัญญัติซ้ำในมาตรา 128 (5) ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง แต่ใน พ.ร.ป. มีรายละเอียดเพิ่มเติม จึงขอยึดมาตรา 128 ของ พ.ร.ป. เป็นหลัก..."
ผมขอเรียกร้องให้ กกต. ช่วยแสดงวิธีเบื้องต้นในการคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพร้อมเหตุผลประกอบว่าสอดคล้องกับกฎหมายอย่างไร ทั้งนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชน ถ้ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับวิธีที่ กกต. จะใช้คำนวณ ก็สามารถถกแถลงแจงเหตุผลกันได้อย่างชัดแจ้ง เพื่อไปสู่ความเห็นที่ตรงกันให้มากที่สุด จึงจะประกาศใช้วิธีที่เห็นตรงกันนั้น โดยไม่อ้างว่า กกต. มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยโดยไม่ต้องรับฟังความเห็นก็ได้ เพราะถ้าอ้างเช่นนี้ และคนจำนวนมากเห็นว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย เพียงแต่อ้างถึงเจตนารมณ์ซึ่งไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในกฎหมาย ก็อาจเกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวางได้
วิธีการคำนวณจำนวน ส.ส. กรณีมี ส.ส. แบบแบ่งเขตเกินสัดส่วน (overhang) มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) ซึ่งนำมาบัญญัติซ้ำในมาตรา 128 (5) ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง แต่ใน พ.ร.ป. มีรายละเอียดเพิ่มเติม จึงขอยึดมาตรา 128 ของ พ.ร.ป. เป็นหลัก
มาตรา 128 เริ่มต้นดังนี้ “...ให้คํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้ โดยในกรณีที่มีเศษให้ใช้ทศนิยมสี่ตําแหน่ง”
มาตรา 128 (1) บัญญัติให้ “นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรค (...)ได้รับ (...) หารด้วยห้าร้อย ...” ผมลองหารดูแล้ว ได้ 71,065 คะแนน (ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย)
มาตรา 128 (2) บัญญัติให้ “นําผลลัพธ์ตาม (1) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้เบื้องต้น และเมื่อได้คํานวณตาม (5) (6) หรือ (7) ถ้ามีแล้ว จึงให้ถือว่า เป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ ...” ผมแสดงผลการคำนวณไว้ในตารางที่ 1 อย่างไรก็ดี เมื่อเล็งเห็นผลจากการที่จะต้องคำนวณต่อไปตาม (5) ซึ่งตอนท้ายของข้อ (5) นี้ระบุว่าการจัดสรรจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ครบ 150 คน “...ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่พึงมีได้ตาม (2)” หมายความว่า ถ้าจำนวน ส.ส. ที่พึงมีของพรรคใดไม่ถึง 1 (เป็นเศษทศนิยม) จะจัดสรรให้มี ส.ส. 1 คนไม่ได้ จึงไม่ต้องนำ ส.ส. พึงมีของพรรคนั้นมาคิด กล่าวอีกนัยหนึ่ง พรรคใดมีคะแนนไม่ถึง 71,065 จะไม่นำมาใส่ไว้ในตารางที่ 1 ผมลองคำนวณจำนวน ส.ส. ตาม (2) และได้ผลการคำนวณดังนี้
ตารางที่ 1 จำนวน ส.ส. ที่พึงมีได้เบื้องต้นตามมาตรา 128 (2) โดยไม่รวมถึงพรรคที่ได้คะแนนต่ำกว่า 71,065 คะแนน
คราวนี้มาพิจารณามาตรา 128 (3) ดูบ้าง “นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (2) ลบด้วยจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น” ผมลองคำนวณ จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พึงมีได้เบื้องต้น โดยเอาตัวเลขของ ส.ส. แบบแบ่งเขตมาลบออกจาก ส.ส. ที่พึงมีได้เบื้องต้นตามตารางที่ 1 อย่างไรก็ดี สำหรับพรรคเพื่อไทยที่มี ส.ส. เขตเกินสัดส่วน จะใส่ผลลัพธ์เป็น 0 ผลลัพธ์จากการคำนวณแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พึงมีได้เบื้องต้น
มาตรา 128 (4) ใช้ในกรณีที่ไม่มีพรรคใดได้ ส.ส. เขตเกินสัดส่วน (ไม่มีกรณีพรรคเพื่อไทย) เราจึงขอนำมาตรา 128 (5) มาใช้ โดย “ให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ํากว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม (2)”
เมื่อรวมตัวเลข ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พึงมีได้เบื้องต้นตามตารางที่ 2 พบว่า มีจำนวนรวมมากกว่า 150คน มาตรา 128 (6) กล่าวถึงวิธีการคำนวณในกรณีที่จำนวนรวมน้อยกว่า 150 คน จึงไม่ตรงกับกรณีนี้ และต้องนำมาตรา 128 (7) และมาตรา 128 (4) มาใช้ ซึ่ง (4) ให้จัดสรร ส.ส. ให้พรรคการเมืองเป็นจำนวนเต็มก่อน ลองทดลองบวกจำนวนเต็มของ ส.ส. ในตารางที่ 2 จะได้ผลดังนี้ 21+58+22+13+11+5 +6+5+4+2+2+1+1+1 = 152 คน ซึ่งเกินจำนวน 150 คนเพียงเล็กน้อย เพื่อความเป็นไปได้ของการคำนวณ (เพราะถ้าเก็บเศษมาคิดทั้งหมดจะยุ่งยากและไม่สามารถทำให้ลงตัวตามเงื่อนไขของ มาตรา 128 (5) ได้ อีกทั้งผลคงจะเป็นหรือใกล้เคียงกับที่เสนอในที่นี้) จะขอถือตามนัยของมาตรา 128 (5) ว่า มี ส.ส. เกินมา 152-150 = 2 คน จึงขอใช้บัญญัติไตรญางค์โดยนำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในตารางที่ 2 คูณด้วยหนึ่ง 150 ÷ 152 = 0.9868 ผลลัพธ์แสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พึงมีได้เบื้องต้นจากตารางที่ 2 คูณด้วยตัวคูณซึ่งเท่ากับ 0.9413
ตามมาตรา 128 (4) ให้จัดสรร ส.ส. ให้แก่พรรคการเมืองตามตารางที่ 3 เป็นจำนวนเต็มก่อน ปรากฎว่าโดยบังเอิญ เมื่อบวกจำนวนเต็มดังกล่าวเข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์ครบ 150 คน ผลการจัดสรร ส.ส. บัญชีรายชื่อแสดงอยู่ในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พึงมีหลังการปรับให้จำนวนรวมเท่ากับ 150 ตน
เมื่อนำจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พึงมีตามตารางที่ 4 ไปบวกกับ ส.ส. แบบแบ่งเขต จะได้จำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรค ดังแสดงในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 จำนวน ส.ส. (ที่พึงมีจากการจัดสรรใหม่) ของแต่ละพรรครวม 500 คน
เมื่อตรวจสอบกับตารางที่ 1 แล้ว ปรากฏว่าจำนวน ส.ส. จัดสรรใหม่ของแต่ละพรรค (ยกเว้นพรรคเพื่อไทยซึ่งไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องจัดสรร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ) ไม่เกินจำนวน ส.ส. ที่พึงมีได้เบื้องต้นในตารางที่ 1 แสดงว่าสอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา 128 (5)
ผมขอถือว่าผลการคำนวณที่แสดงในตารางที่ 5 สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 128 ของ พ.ร.ป. การเลือกตั้ง และกับมาตรา 91 (4) ของรัฐธรรมนูญ และขอให้ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอวิธีคำนวณจำนวน ส.ส. ของบทความนี้ และตรวจสอบ โต้แย้งหรือสนับสนุนว่าสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่เพียงใดครับ
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก https://www.esanbiz.com/11523/