คพ.โชว์แบบจำลองยันฝุ่นข้ามพรมแดนจากเขมร ปลิวลงอ่าวไทย ไม่กระทบกทม.
กรมควบคุมมลพิษ เผยแบบจำลองฯการเคลื่อนตัวของฝุ่นขนาดเล็กจากประเทศกัมพูชาผ่านลงไปทางชายแดนจังหวัดตราด และเคลื่อนตัวลงอ่าวไทย ไม่กระทบกทม.
วันที่ 28 มกราคม นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ตามที่ คพ.ได้ติดตามและรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล พบมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และในสังคมมีปรากฏเป็นข่าวว่า ฝุ่นละอองข้ามแดนจากประเทศกัมพูชานั้น คพ.ได้เฝ้าระวัง ติดตามแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง และหมอกควันข้ามแดนจากการเผาในที่โล่ง ( hot spot) ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน โดย คพ.ได้ทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านอากาศ ซึ่งเป็นแบบจำลองฯ ( Model) ของสำาลนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม(Environmental Protection Agency -EPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา และองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) เป็นหน่วยงานด้านการจัดการและวิจัยสภาพชั้นบรรยากาศของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นักวิชาการด้านอากาศทั่วโลกใช้อยู่ เพื่อทำการประเมินผลกระทบของสถาน การณ์ดังกล่าว
นายประลอง กล่าวว่า ล่าสุด คพ. ได้จำลองสถานการณ์ของวันที่ 20 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่พบจุดความร้อนสูงสุดในประเทศกัมพูชา มีจำนวน 895 จุด และผลจากแบบจ ำลองทางคณิตศาสตร์ฯ ชี้ให้เห็นว่า มีการเคลื่อนตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็ก จากประเทศกัมพูชา ผ่านเข้ามาทางชายแดนจังหวัดตราด และเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทย ไม่ พบว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กจากประเทศกัมพูชาจะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ สอดคล้องกับข้อมูลจากเว็บไซต์ของศูนย์พยากรณ์อากาศอาเซียน (ASEAN Specialised Meteorological Centre : ASMC) ที่รายงานสถานการณ์หมอกควันในภูมิภาคอาเซียนจากทิศทางลม สรุปได้ว่า ลมจะพาหมอกควันจากประเทศกัมพูชาลงไปทางตะวันออกแถบชายแดนจังหวัดตราด และลงสู่อ่าวไทย
สำหรับฝุ่นควันจากการเผาในที่โล่ง 5 จังหวัดปริมณฑล ขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด ได้สั่งหยุดห้ามเผาโดยเด็ดขาดในช่วงระหว่างเกิดเหตุการณ์แล้ว รวมทั้ง คพ. ได้มีหนังสือขอความร่วมมือ ในการห้ามเผาในจังหวัดอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลให้หมอกควันเข้าสู่กรุงเทพฯ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาทและสระแก้วสำหรับสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละออง PM2.5 จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology : AIT) พบว่า เกิดจากยานพาหนะ(รถดีเซล) ร้อยละ 52 เกิดจากการเผาในที่โล่ง ร้อยละ 35 ฝุ่นจากพื้นที่อื่น ร้อยละ 7 และฝุ่นจากดิน และอื่นๆ ร้อยละ 6