ประชาสังคม เรียกร้อง สนช. ระงับพิจารณา ร่างพ.ร.บ.โรงงาน ฉบับลดทอนคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์ ร่างพ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เข้าเป็นวาระเร่งด่วนสนช. ระบุชัด กฎหมายนี้มีผลกระทบลดทอนมาตรการสำคัญในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงาน การป้องกัน แก้ไขผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงานต่างๆ ทั่วประเทศ
ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้บรรจุวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เข้าเป็นวาระเร่งด่วนในการประชุมครั้งที่ 89/2561 เป็นพิเศษ วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 ตามมติของคณะรัฐมนตรีที่เสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 เพื่อให้ สนช. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องด่วนนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์ หลังได้มีการพิจารณาและตรวจสอบสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วมีความเห็นว่า ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติโรงงานฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อการลดทอนมาตรการสำคัญในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงาน การป้องกัน และการแก้ไขผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงานต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะก่อความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชนอย่างกว้างขวาง พระราชบัญญัติโรงงานเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันและแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม การเร่งรัดให้ สนช. พิจารณากฎหมายสำคัญภายใต้เวลาจำกัดในลักษณะนี้เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
อนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้งในอีกไม่กี่สิบวันข้างหน้า การเสนอและพิจารณากฎหมายที่สำคัญและจะส่งผลกระทบมากเช่นนี้ จึงควรดำเนินการภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติก็ควรมีเวลาเพียงพอที่จะพิจารณา ไตร่ตรอง และทบทวนอย่างรอบด้าน ก่อนเสนอความเห็นในการกลั่นกรองเพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความถูกต้องและเป็นธรรมอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าวิตกเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดจากร่างแก้ไขพระราชบัญญัติโรงงานฉบับดังกล่าวมีอยู่หลายประการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การแก้ไขนิยามคำว่า "การตั้งโรงงาน" ของร่างกฎหมาย โดยลดความหมายของการตั้งโรงงานเหลือเพียงการนำเครื่องจักรเข้ามาติดตั้งเท่านั้น เป็นการเปิดช่องว่างให้การก่อสร้างอาคารโรงงานสามารถทำได้โดยไม่ต้องรอให้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ
ทั้งนี้ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาต” การแก้ไขนิยามคำว่า “การตั้งโรงงาน” จากเดิมที่หมายถึง ตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างอาคารโรงงาน ให้เหลือเพียงความหมายว่า “การนำเครื่องจักรสำหรับการประกอบกิจการโรงงานเข้ามาติดตั้ง หรือการนำคนงานมาประกอบกิจการโรงงานในกรณีที่ไม่มีการใช้เครื่องจักร” จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถก่อสร้างอาคารโรงงานได้โดยไม่ต้องรอให้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) บทบัญญัตินี้ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์และเงื่อนไขสำคัญในการออกอนุญาตตาม พ.ร.บ. โรงงาน ที่จะต้องมีการตรวจสอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมของทำเลที่ตั้ง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงานก่อนการอนุญาต โดยเฉพาะสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายจะต้องมีการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA) เพื่อเสนอต่อหน่วยงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาตและนำเอามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดำเนินโครงการมากำหนดเป็นเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตด้วย
2. การแก้ไขนิยาม “โรงงาน” ซึ่งจะทำให้โรงงานขนาดต่ำกว่า 50 แรงม้า หรือกิจการที่มีคนงานน้อยกว่า 50 คน ไม่ถือเป็นโรงงานตามร่างกฎหมายฉบับใหม่
การแก้ไขคำนิยามนี้จะส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรน้อย คนงานจำนวนน้อย เช่น โรงงานคัดแยกและโรงงานรีไซเคิลของเสีย ตลอดจนกิจการอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 60,000 แห่ง จะไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายโรงงาน
ทั้งนี้แต่เดิม “โรงงาน” หมายถึง กิจการที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป แม้การแก้ไขกฎหมายนี้ต้องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถดำเนินกิจการได้ง่ายขึ้น ก็ควรจะมีมาตรการที่ดีกว่านี้ เนื่องจากผลจากการแก้ไขนิยามดังกล่าวจะทำให้มีโรงงานจำนวนมากที่แม้จะใช้เครื่องจักรขนาดเล็กหรือใช้คนงานจำนวนไม่มาก แต่เป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของประชาชนและอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรง ตัวอย่างเช่น กิจการคัดแยกของเสีย กิจการหล่อหลอม กิจการรีไซเคิลของเสีย และอื่นๆ กลายเป็นกิจการที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลตาม พ.ร.บ.โรงงาน การโอนหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลกิจการที่มีความเสี่ยงสูงแก่หน่วยงานระดับท้องถิ่นโดยขาดนโยบายและมาตรการรองรับที่ดี จะเป็นการผลักภาระหนักแก่หน่วยงานท้องถิ่นที่ยังขาดศักยภาพและความเชี่ยวชาญเพียงพอในการกำกับดูแลและแก้ไขผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. การยกเลิกการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
กฎหมายในปัจจุบันกำหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจะต้องมีการต่ออายุทุก 5 ปี การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการฯ เป็นขั้นตอนหนึ่งสำหรับให้เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบสภาพโรงงานและเป็นมาตรการกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานที่ประกอบกิจการมาระยะหนึ่งแล้วให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเป็นขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่จะต้องนำเอาเรื่องร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบความเดือดร้อนจากโรงงานมาพิจารณาประกอบการต่ออายุใบอนุญาตหรือการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้โรงงานต้องปฏิบัติตามด้วย การยกเลิกดังกล่าวคือการลดทอนมาตรการตรวจสอบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่อาจจะส่งผลกระทบรุนแรงในระยะยาว
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายใหม่นี้ยังเอื้อให้ผู้ประกอบกิจการที่ต้องการขยายโรงงาน เพิ่มประเภทกิจการ หรือการโอน การเช่า การเช่าซื้อ และการขายกิจการสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่อีกด้วย
4. การตัดทิ้งข้อเสนอเรื่องประกันภัยเพื่อการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ
การที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขสาระสำคัญโดยตัดทิ้งข้อเสนอตามร่างกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องการกำหนดให้ต้องมีประกันภัยหรือกองทุนหลักประกันเพื่อการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน หรือเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ตั้งโรงงานให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือสภาพที่เหมาะสม สะท้อนให้เห็นว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีกรรมการหลายคนมาจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่เป็นผู้พิจารณาและปรับแก้ร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องส่งเสริมการลงทุนและการเอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยละเลยไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพของประชาชน ทั้งที่ข้อเสนอเรื่องประกันภัยดังกล่าวถือเป็นกลไกสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม และเป็นการสร้างธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการภายใต้หลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” ให้เกิดขึ้นจริง
เครือข่ายภาคประชาสังคมดังมีรายชื่อแนบท้ายนี้มีความเห็นว่า เมื่อรัฐบาลต้องการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายไปในแนวทางที่ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนเสมอกันในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน ร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในวงกว้าง จึงควรได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากสภานิติบัญญัติด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน โดยไม่มีเหตุความจำเป็นใดๆ ที่ สนช. จะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายนี้เป็นวาระเร่งด่วน
จึงขอเรียกร้องให้ สนช. ยุติ และระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... นี้ไว้ก่อน เพื่อให้สังคมได้ร่วมกันทบทวนตรวจสอบและมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึงอย่างแท้จริง และขอเรียกร้องให้การเสนอและการพิจารณาร่างกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ต้องคำนึงถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพความปลอดภัยของประชาชนภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสำคัญด้วย
เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เครือข่ายเฝ้าระวังมลพิษและสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน
เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
เครือข่ายรักแม่พระธรณี
เครือข่ายรักษ์ชุมพร
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน
โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มอส.
โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มเฝ้าระวังน้ำผิวดิน จ.ระยอง
กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)
กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำ
กลุ่มคนรักษหนองไผ่
กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
กลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็กโบสถ์ญวน
กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
กลุ่มรักษ์คอนสาร
กลุ่มรักษ์ท่าถ่าน-บ้านซ่อง
กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านแลง
กลุ่มรักษ์หนองนาคำ อุดรธานี
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมห้วยเสือเต้นและโคกหินขาว อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
ขบวนการอีสานใหม่
ชมรมชาวบ้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลำน้ำพอง
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
ศูนย์พิทักษ์สิทธิชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
สมัชชาคนจน
สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สมาคมวิถีชนบท
สมาคมสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
องค์กรชุมชนตำบลหนองชุมพลเหนือ
FTA Watch
ดร.สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายชำนัญ ศิริรักษ์ ทนายความสิ่งแวดล้อม นักวิชาการอิสระ จ.ชลบุรี
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ทนายความ
นายอธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความ
นาวิน โสภาภูมิ นักวิชาการอิสระ
บัณฑิต หอมเกษ ทนายความ
ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมพร เพ็งค่ำ นักวิชาการอิสระด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความ
อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อชิชญา อ๊อตวงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต
.
แถลงการณ์เครือข่ายภาคประชา
.
ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชา
.
เครือข่ายภาคประชาสังคมดังม
.
อนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดิน
.
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าวิตกเกี่ยวกับ
.
1. การแก้ไขนิยามคำว่า "การตั้งโรงงาน" ของร่างกฎหมาย โดยลดความหมายของการตั้งโรง
.
ทั้งนี้ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้
.
2. การแก้ไขนิยาม “โรงงาน” ซึ่งจะทำให้โรงงานขนาดต่ำกว
.
การแก้ไขคำนิยามนี้จะส่งผลใ
.
3. การยกเลิกการต่ออายุใบอนุญา
.
กฎหมายในปัจจุบันกำหนดให้ใบ
.
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายใหม่นี้ยังเอื้อใ
.
4. การตัดทิ้งข้อเสนอเรื่องประ
.
การที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้
.
เครือข่ายภาคประชาสังคมดังม
ไปในแนวทางที่ให้เกิดความสม
.
จึงขอเรียกร้องให้ สนช. ยุติ และระงับการพิจารณาร่างพระร
.
25 ธันวาคม 2561
.
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายเทใจให้เทพาหยุดโร
เครือข่ายเฝ้าระวังมลพิษและ
เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติแ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุ
เครือข่ายปกป้องอันดามันจาก
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพ
เครือข่ายรักแม่พระธรณี
เครือข่ายรักษ์ชุมพร
โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธ
โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธ
โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่
โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มเฝ้าระวังน้ำผิวดิน จ.ระยอง
กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)
กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำ
กลุ่มคนรักษหนองไผ่
กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล
กลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็ก
กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะ
กลุ่มรักษ์คอนสาร
กลุ่มรักษ์ท่าถ่าน-บ้านซ่อง
กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านแ
กลุ่มรักษ์หนองนาคำ อุดรธานี
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมห้
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุ
ขบวนการอีสานใหม่
ชมรมชาวบ้านอนุรักษ์สิ่งแวด
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและสิ่ง
ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิ
ศูนย์พิทักษ์สิทธิชุมชนลุ่ม
ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการ
ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความข
ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิท
สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัม
สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
สมัชชาคนจน
สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สมาคมวิถีชนบท
สมาคมสถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาช
องค์กรชุมชนตำบลหนองชุมพลเห
FTA Watch
ดร.สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายชำนัญ ศิริรักษ์ ทนายความสิ่งแวดล้อม นักวิชาการอิสระ จ.ชลบุรี
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ทนายความ
นายอธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความ
นาวิน โสภาภูมิ นักวิชาการอิสระ
บัณฑิต หอมเกษ ทนายความ
ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมพร เพ็งค่ำ นักวิชาการอิสระด้านการประเ
สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความ
อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์
อชิชญา อ๊อตวงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต