เบื้องลึก! ความร่วมมือ 'จนท.อังกฤษ& เอกชน' ทดลองผลักดัน เร่ขายจีที200 ทั่วโลก
"...มีรายงานว่านายGary Bolton และนาย David Vousden ยังได้เดินทางไปยังแถบแอฟริกา ตะวันออกไกล และในประเทศ แถบอเมริกาใต้ เพื่อสาธิตการใช้งานเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ปี 2552 มีประเทศที่เซ็นสัญญาลดเหลือแค่ 10 ประเทศ ขณะที่กรมศุลกากรอังกฤษได้ตรวจสอบพบว่าเครื่อง GT200 นั้นมีใบอนุญาตส่งออกที่ไม่ถูกต้องถูกต้อง ในปีเดียวกันนี้เองก็มีรายงานว่านาย David Vousden และนาย Andrew Mcguire ซึ่งเป็นผู้สาธิตและผู้ฝึกฝนการใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดได้เดินทางไปยังประเทศไทยและประเทศเม็กซิโกเพื่อสาธิตผลิตภัณฑ์ และทั้ง 2 คนนี้ยังคงเดินทางมายังประเทศไทยและเม็กซิโกอยู่บ่อยครั้งในช่วงปี 2553..."
สืบเนื่องสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำเสนอรายงานของนายโทนี่ คาตาลุชซี นักวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยที่ตั้งข้อสังเกตการขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 ให้กับรัฐบาลไทยนั้นอาจมีเจ้าหน้าที่ทางการอังกฤษเข้ามามีส่วนร่วมรู้เห็นด้วย โดยยกตัวอย่างการขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดในประเทศอื่นๆ อาทิ ประเทศเม็กซิโก ที่อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศเม็กซิโกมีส่วนร่วมรู้เห็นในการนำพาเจ้าหน้าที่จากบริษัท Global Technical ซึ่งเป็นบริษัทที่ขายเครื่องตรวจวัตถุระเบิดไปพบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลของเม็กซิโก (อ่านประกอบ:เปิดบทวิเคราะห์ความลับจีที200 จนท.อังกฤษรู้เห็นทุจริต? ไทยถูกหลอกเชื่อสนิทใจของดีใช้ได้)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลเบื้องหลังเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 ในต่างประเทศเพิ่มเติม พบว่า ในบล็อกชื่อว่า http://alternategt200.blogspot.com เมื่อปี 2556 มีผู้ใช้ชื่อว่า Bruce Ben เขียนบทความรวบรวมความเป็นมาเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 รวมไปถึงความเกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่ทางการอังกฤษในกระบวนการขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดเหล่านี้นับตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปี 2553 และความน่าเชื่อถือของเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 ที่น่าสนใจไว้หลายประการ ดังนี้
ประวัติความเป็นมาของเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200
เครื่องมือชนิดนี้ถูกเรียกว่าเครื่องมือตรวจสอบด้วยระบบปฏิบัติการณ์ MOLE หรือว่าเครื่อง MOLE โดยมีบริษัท Global Technical Ltd by Malcolm Rowe เป็นผู้ที่แนะนำเครื่องมือชนิดนี้ และมี Global Technical Ltd ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่าย
ทั้งนี้เคยมีการแนะนำเครื่อง MOLE ให้กับสถาบัน UK Home Office ว่าเครื่องมือชนิดนี้ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีความน่าสนใจ ซึ่งแม้ในเวลานั้น จะมีเจ้าหน้าที่บางคนขององค์กรจะยังไม่เชื่อโดยสนิทใจถึงเทคโนโลยีของเครื่อง Mole แต่ก็ไม่มีใครคิดเลยว่าเครื่อง Mole จะเป็นแค่เรื่องหลอกลวง
Tim Sheldon เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสถาบัน Home Office ในปี 2543 ได้พูดถึงผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ว่าใช้หลักการที่ค่อนข้างจะแปลก และเทคโนโลยีของเครื่องมือนี้ก็ดูเหมือนว่าจะอาศัยหลักการเดียวกันกับ การใช้อุปกรณ์เพื่อหาแหล่งน้ำใต้ดิน
"ถ้าหากเครื่อง Mole มีหลักการทำงานแบบเดียวกับเครื่องมือเพื่อค้นหาน้ำใต้ดิน ก็หมายความว่ามันอยู่ในศาสตร์ที่เจ้าหน้าที่จากสถาบัน Home Office ไม่มีความเชี่ยวชาญมาก่อน การพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือที่ยึดถือศาสตร์ที่ว่านี้นั้นถือว่าเป็นที่ทำได้ยาก และมีความเป็นไปได้สูงที่ผลการทดลองจะออกมาว่าเป็นเรื่องที่โง่หรือว่าผิดพลาด หรืออีกนัยะหนึ่งก็คือนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆจะหัวเราะทางสถาบันได้ ถ้าหากสถาบันพิสูจน์ออกมาว่าเครื่อง Mole ใช้งานได้" นายทิม กล่าวและว่า ดังนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะออกมาพูดปกป้องการใช้เครื่องมือที่ยังไม่มีใครรู้จักมาก่อน ถึงแม้ว่าจะมีการทดสอบว่าเครื่อง Mole นั้นจะดูมีความสามารถอยู่บ้างในการทำหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือชนิดนี้คงจะไม่ได้รับการยอมรับในแง่บวก จากการทดสอบที่ไหนๆเลย
แต่อย่างไรก็ตาม สถาบัน Home Office ก็ไม่ได้ดำเนินการอย่างไรกับกรณีนี้ เนื่องด้วยพวกเขาไม่ได้คำนึงว่าเครื่อง Mole นั้นแท้จริงแล้วคือการฉ้อโกง
บริษัท Global Technical Ltd จึงได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการต่อไป โดยบริษัทได้วางแผนดำเนินกิจการเป็นระยะเวลาเกือบ 15 ปี ดังต่อไปนี้
ในปี 2542 มีการแนะนำให้กองทัพอังกฤษและทีมสนับสนุนการส่งออกจากสถาบันวิศวกรรมของอังกฤษ (Royal Engineers Export Support team [REEST]) ได้รู้จักกับเครื่อง Mole
แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการทดสอบเบื้องต้น ทาง REEST ก็ส่งเอกสารรายงานลับไปยังบริษัท Global Technical ltd ซึ่งว่าจะมีการยืนยันในช่วงเวลานั้นว่าเครื่องมือใช้งานได้ แต่ก็มีข้อกังขาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและการทำงานของเครื่องมือนี้
ขณะที่ REEST ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในองค์กรว่าด้วยความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ(The Defence & Security Organisation (DSO)) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของอังกฤษ ได้ร่วมมือกับบริษัท Global Technical ltd เป็นระยะเวลากว่า 6 ปีเพื่อทำการสดทอบ สาธิต และให้คำแนะนำกับลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์กับการขายเครื่อง Mole โดยการสาธิตเทคโนโลยีนั้น ยังได้มีผู้ที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัท Global Technical Ltd เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย
ดังนั้นกล่าวโดยสรุปก็คือ ทั้งกระทรวงกลาโหม รวมไปถึง REEST และสถาบัน Home Office ต่างรู้ถึงประสิทธิภาพของเครื่อง Mole เป็นอย่างดี แต่ก็ทำเป็นมองข้ามในเรื่องนี้ไปเพราะว่าขนาดของตลาดขายเครื่อง MOLE ที่ขายอยู่ทั่วโลก
ทั้งนี้ มีรายงานว่านาย Gary Bolton นักธุรกิจผู้ดูแลการขายเครื่อง Mole ของบริษัท Global Technical ได้ส่งคำร้องไปยังสมาชิกวุฒิสภาอังกฤษ เพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อที่จะสนับสนุนกิจกรรมของบริษัทเขา
และยังมีรายงานต่อด้วยว่ากรมการค้าและอุตสาหกรรมของอังกฤษ เป็นผู้สนับสนุนให้บริษัทสามารถเซ็นสัญญาซื้อขายกับลูกค้ารายต่างประเทศรายแรกได้ในปี 2542 โดยผู้เป็นลูกค้า ก็คือ ประเทศออสเตรเลียที่นำเอาเครื่องตรวจจับระเบิดไปใช้ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่นครซิดนีย์
ปี 2543 มีการแนะนำเครื่อง Mole ให้กรมตำรวจไซปรัส ตำรวจสากล กรมตำรวจมอลตา ยามฝั่งของประเทศเนเธอร์แลนด์ กองกำลังป้องกันประเทศไอริช กรมตำรวจ กรมราชทัณฑ์ และกรมศุลกากรของอังกฤษ และสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ โดยปรากฏข้อมูลว่า ผู้ที่ทำสัญญาซื้อขายกันนั้นได้แก่ยามฝั่งเนเธอร์แลนด์ กองกำลังป้องกันประเทศไอริช
คนที่ 3 นับจากซ้ายมือคือพลทหาร Forde ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จาก REEST ได้ไปสาธิตการใช้งานเครื่อง Mole ให้กับเจ้าหน้าที่จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
พลทหาร Forde ในเครื่องแบบทหาร
ต่อมาใน ปี 2544 มีการทดสอบเครื่องมือในเปรู โดยผู้ที่ทำการควบคุมการทดสอบคือสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะรู้ว่าเครื่องมือนี้ไม่น่าเชื่อถือ แต่การจัดซื้อก็เกิดขึ้นหลังการทดสอบ นอกจากนี้ทางประเทศอินเดียเองก็ได้ส่งตัวแทนจากกระทรวงกลาโหมมาชมการสาธิตการใช้งาน ซึ่งถูกจักขึ้นโดย REEST ซึ่งในช่วงปี 2544 มีรายงานว่ามี 5 ประเทศได้เซ็นสัญญาการซื้อขายเครื่อง Mole
ในปี 2545 มีการสาธิตและทดสอบให้กรมตำรวจออสเตรเลีย ซึ่งภายหลังการทดสอบ ก็มีการเซ็นสัญญาซื้อขาย
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าทางหอการค้ากรุงลอนดอนยังได้ช่วยผลักดันสัญญาการซื้อขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดกับสหประชาชาติ ส่วนที่ประเทศเบลเยียม สถานทูตอังกฤษประจำประเทศเบลเยียมได้จัดนิทรรศการแสดงสินค้าด้านความปลอดภัยสำหรับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซึ่งในปี 2545 นี้มีประเทศที่เซ็นสัญญาซื้อขายด้วยกัน 7 ประเทศ
ในปี 2546 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจทางทหารของอังกฤษในซาอุดิอาระเบีย พ.ท.Major Peter Hurry ได้แนะนำให้ทหารองครักษ์ของเจ้าชายรัชทายาทซาอุดิอาระเบียรู้จักกับเครื่อง MOLE ซึ่งปรากฏว่ามี 10 ประเทศได้เซ็นสัญญาซื้อขายเครื่อง Mole
ต่อมาปี 2547 มีการเซ็นสัญญาเพิ่มอีกใน 11 ประเทศ โดย REEST ได้ไปร่วมนิทรรศการในหลายๆครั้ง
ปี 2548 กรมตำรวจไซปรัส สาธิตการใช้เครื่อง MOLE ให้กับทางตำรวจสากล ขณะที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ได้สั่งเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดให้กับประเทศกัวเตมาลา ขณะที่บริษัท British American Tobacco ได้สั่งเครื่อง Mole เช่นกัน ขณะที่นาย David Vousden ผู้อำนวยการของบริษัท Global Technical ก็ได้เริ่มทดสอบการใช้งานเครื่อง GT200 ซึ่งในช่วงปี 2548 นี้เองมีประเทศที่สั่งเครื่องตรวจวัตถุระเบิดทั้งสิ้น 12 ประเทศ
ในปี 2549 มีการสั่งเครื่องตรวจวัตถุระเบิดเพิ่มเติมให้กับประเทศกัวเตมาลา โดยสถานทูตสหรัฐอเมริกา ขณะที่กรมตำรวจในประเทศไอแลนด์เหนือก็ได้แสดงความสนใจในเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ส่วนเลขาธิการไซเตสก็ได้ออกรายงานในแง่บอกเกี่ยวกับการช้เครื่องมือเพื่อตรวจจับการลักลอบขนงาช้าง และในปี 2549 ก็ได้มีการออกใบรับรองเครื่องตรวจวัตถุระเบิด โดยกรมตำรวจเมืองเคนท์ ประเทศอังกฤษ
ปี 2550 มีประเทศที่เซ็นสัญญาซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดอีกจำนวน 17 ประเทศ เครื่องตรวจวัตถุระเบิด ถูกนำไปใช้ในภารกิจลาดตระเวนชายแดนของสหภาพยุโรป
ปี 2551 ประเทศที่ทำสัญญาซื้อขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดลดเหลือ 14 ประเทศ ในประเทศจีน กระทรวงความมั่นคงได้สั่งปิดโรงงานผลิตเครื่อง GT200 แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานว่าด้วยการต่างประเทศและเครือจักรภพ สหราชอาณาจักร ยังคงผลักดันสัญญาซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดกับสหประชาชาติ ขณะที่กรมตำรวจไซปรัสได้ร้องขอให้มีการปรับปรุงเครื่อง GT200 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้มีรายงานว่านายGary Bolton และนาย David Vousden ยังได้เดินทางไปยังแถบแอฟริกา ตะวันออกไกล และในประเทศ แถบอเมริกาใต้ เพื่อสาธิตการใช้งานเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด
ปี 2552 มีประเทศที่เซ็นสัญญาลดเหลือแค่ 10 ประเทศ ขณะที่กรมศุลกากรอังกฤษได้ตรวจสอบพบว่าเครื่อง GT200 นั้นมีใบอนุญาตส่งออกที่ไม่ถูกต้อง
ในปีเดียวกันนี้เองก็มีรายงานว่านาย David Vousden และนาย Andrew Mcguire ซึ่งเป็นผู้สาธิตและผู้ฝึกฝนการใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดได้เดินทางไปยังประเทศไทยและประเทศเม็กซิโกเพื่อสาธิตผลิตภัณฑ์ และทั้ง 2 คนนี้ยังคงเดินทางมายังประเทศไทยและเม็กซิโกอยู่บ่อยครั้งในช่วงปี 2553”
(บทความดั้งเดิม: http://alternategt200.blogspot.com/p/blog-page.html)
ทั้งหมดนี่ คือ ข้อมูลที่มาที่ไป และผู้เกี่ยวข้องกับเครื่อง GT200 ที่สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบลล่าสุด อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าการสอบสวนของประเทศไทยนั้นไม่เคยปรากฎ ข้อมูลยืนยันเป็นทางการว่า นาย David Vousden และนาย Andrew Mcguire เข้ามาเจรจาขายเครื่อง GT200 ในประเทศไทยช่วงใด? และ ตัวแทนฝ่ายไทย ที่ไปเจรจาด้วยเป็นใครกัน?
อ่านประกอบ:
เปิดบทวิเคราะห์ความลับจีที200 จนท.อังกฤษรู้เห็นทุจริต? ไทยถูกหลอกเชื่อสนิทใจของดีใช้ได้
เปิดรายงานลับ จีที200 ฉบับ WPF พัฒนาจากเครื่องค้นหาลูกกอล์ฟ-ต้นทุน 85 บ.ขาย2.1ล้าน
ตามไปดูบ.เอวิเอ หลังแพ้คดีขายจีที200 -รปภ.ปัดไม่รู้จักผู้บริหารโดนโทษจำคุกคนเดียว19 ปี
ผู้บริหารเอวิเอ โดนคุกอีก10 ปี! DSI เผยคำพิพากษาคดีขายจีที200 กรมสรรพาวุธทหารบก
จำคุก 9 ปี!ผู้บริหาร บ.เอวิเอฯขาย GT200 ให้กรมราชองครักษ์-ยื่น 9 แสนประกันตัวสู้ต่อ
ย้อนข้อมูล บ.เอวิเอฯ คู่ค้ากองทัพอื้อ1.3 พันล. ก่อนกรมราชองครักษ์ฟ้องชนะคดีซื้อจีที 200
เช็คท่าที 'กองทัพบก-กองทัพเรือ-2อบจ.' หลังกรมราชองครักษ์ฟ้องชนะคดีซื้อจีที 200
สัญญาโมฆะ-ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้!ชนวน บ.เอวิเอฯแพ้คดีGT200 ชดใช้9ล.
ไม่รับฎีกา! หลังศาลแพ่งสั่งเอวีเอฯ ชดใช้กรมราชองครักษ์9 ล. ซื้อเครื่องจีที200
19 สัญญา 688 ล.!เจาะข้อมูล7 หน่วยงานรัฐซื้อจีที200 ก่อนผู้ผลิตโดนยึดทรัพย์