หนุนปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจําชาติ พิสูจน์วิสัยทัศน์ 4.0 ไทยนิยมยั่งยืนหรือภาพลวง
ความไม่ชัดเจนของระบบราชการไทย โดยไม่มีคําตอบว่าเหตุผลใดขั้นตอนการทํางานจึงเปลี่ยนไป ภายในระยะเวลาไม่ถึงปี สร้างความสับสนให้กับปลากัดน้อยและคนรักปลากัด แต่นั่นยังไม่สําคัญเท่ากับ คําปฏิเสธอย่างไร้เหตุผล กลายเป็นเรื่องเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว สะท้อนถึงศักยภาพของหน่วยงาน ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ปฏิบัติงานแบบตามใจฉัน
หากนับย้อนไปช่วงปลายปี 2560 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ได้พยายามที่จะ นําเสนอให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจําชาติมาแล้วครั้งหนึ่ง มีการจัดกิจกรรมการขับเคลื่อนให้ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจําชาติบริเวณตลาดคลองผดุงกรุงเกษม หรือตลาดนัดลุงตู่ ข้างทําเนียบรัฐบาลอย่าง ใหญ่โต พร้อมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) ปี 2561 ระหว่างกรมประมงและสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อส่งเสริม พัฒนาเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดให้ก้าวสู่ผู้ประกอบการ 4.0 มุ่งเพิ่มมูลค่าการส่งออกปลากัด ซึ่งปีที่ผ่าน มูลค่าการส่งออกกว่า 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ครั้งนั้นคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีนาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ปฏิเสธปลากัดน้อย ด้วยเหตุผลว่า “ข้อเสนอดังกล่าวนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับมิติเรื่องเอกลักษณ์ของชาติแต่อย่างใด”
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้รักปลากัดไทยได้รวมตัวกันและตั้งแคมเปญ “ประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ําประจําชาติ Siamese Fighting Fish as National Aquatic Animal” ผ่าน เว็บไซต์ change.org ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีผู้สนับสนุนแคมเปญนี้กว่า 12,000 คน และเป็นประเด็นที่ได้รับ ความสนใจจากสื่อมวลชนเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว กรมประมงซึ่งมั่นใจในศักยภาพของปลากัดน้อยมา โดยตลอด จึงเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เริ่มศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องมิติเอกลักษณ์ของชาติซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จนมาเป็นข้อเสนอที่ สมบูรณ์แบบครบทุกมิติ รวมทั้งด้านชีวภาพและศักยภาพอีกด้วย
จากการทํางานร่วมกันระหว่างข้าราชการและประชาชนอย่างแข็งขัน ในที่สุดข้อเสนอดังกล่าวได้ ผ่านความเห็นชอบจาก อธิบดีกรมประมง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนถึงรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ผู้ กํากับดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตรง ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นําเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีตั้งแต่กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ เวลานั้นถือเป็นสัญญาณดีว่าปลากัดน้อยเชื้อชาติไทย จะได้สัญชาติไทยอย่างเป็นทางการเสียที
แต่เส้นทางนี้มิใช่พรมแดง ปลากัดน้อยยังต้องเผชิญอุปสรรคต่อไป หลังจากที่กรมประมง ดําเนินการตามคําสั่งรองนายกรัฐมนตรี ส่งเรื่องไปยังสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นผู้นําเสนอ เรื่องต่อคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ตามขั้นตอนปฏิบัติเหมือนในครั้งแรกที่มีการนําเสนอ แต่ครั้งนี้ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะดําเนินการใดๆ และแจ้งกรมประมงให้เป็นผู้นําเสนอต่อ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติโดยตรง
ความไม่ชัดเจนของระบบราชการไทย โดยไม่มีคําตอบว่าเหตุผลใดขั้นตอนการทํางานจึงเปลี่ยนไป ภายในระยะเวลาไม่ถึงปี สร้างความสับสนให้กับปลากัดน้อยและคนรักปลากัด แต่นั่นยังไม่สําคัญเท่ากับ คําปฏิเสธอย่างไร้เหตุผล กลายเป็นเรื่องเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว สะท้อนถึงศักยภาพของหน่วยงาน ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ปฏิบัติงานแบบตามใจฉัน ระเบียบตามความพอใจ สร้างความล่าช้า ขัดแย้งกับแผนพัฒนาประเทศไทยที่เรารับรู้กันทุกคืนวันศุกร์ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 จนถึงไทยนิยมยั่งยืน ที่มุ่งแก้ปัญหาให้กับประชาชน
เมื่อการเดินทางตามหาสัญชาติไทยของปลากัดน้อยยังอีกไกล และยังไม่อาจรู้ได้ว่าจะต้องรออีก นานแสนนานเพียงใด ในฐานะประชาชนและคนรักปลากัด ขอเรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีและ ผู้เกี่ยวข้อง โปรดทบทวนขั้นตอนการทํางานและชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ก่อนที่ประเทศใดจะเห็น ความสําคัญของเรื่องนี้และมอบสัญชาติให้ปลากัดน้อยเป็นสัตว์น้ำประจําชาติไปเสียก่อน หวังว่าจะไม่ต้อง อ่านเรื่องจริง "กว่าจะถึงโหลปลากัดก็สายเสียแล้ว" เพียงเพราะความเขลาของใครสักคน!
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก http://fishbite001.blogspot.com และ http://fishbite001.blogspot.com