เภสัชกรไทยเพิ่มทุกปี
เภสัชกรจบมารัฐบาลไม่มีตำแหน่งข้าราชการให้ การจ้างมาอยู่ในรพ.ของรัฐจึงลดลงอย่างมากมาเป็นสิบปี เภสัชที่จบมาจึงต้องเปิดร้านขายยากันยกใหญ่ ส่งผลให้มีร้านเกิดขึ้นทุกปากซอยท้ายซอยในเขตเมือง เขตชนบทอำเภอรอบนอก ก็มี
เภสัชกรไทยเพิ่มทุกปี จนมากพอที่จะจัดระบบการจัดจ่ายยาในสถานประกอบการเอกชนให้เป็นหน้าที่เภสัชกรได้แล้ว
จำนวนเภสัชกรมีมากกว่า 40,000 คน แน่นอนว่าหลายคนไม่ได้ทำอาชีพเภสัชแล้ว บางคนทำงานในโรงงานผลิตยา แต่ก็เชื่อว่ามีไม่น้อยกว่าสามหมื่นคนที่ยังทำหน้าที่ของเภสัชกรอยู่
เภสัชกรจบมารัฐบาลไม่มีตำแหน่งข้าราชการให้ การจ้างมาอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐจึงลดลงอย่างมากมาเป็นสิบปี เภสัชที่จบมาจึงต้องเปิดร้านขายยากันยกใหญ่ ส่งผลให้มีร้านขายยาเกิดขึ้นทุกปากซอยท้ายซอยในเขตเมือง เขตชนบทอำเภอรอบนอก ก็มีร้านขายยาที่มีเภสัชกรในทุกอำเภอแล้วเช่นกันหนึ่งร้านห้าร้านตามขนาดของอำเภอ
พ.ร.บ.ยาฉบับแก้ไข ถอยหลังลงคลอง ไม่รู้ว่ารับใบสั่งใครมา พยายามแก้ไขให้ทุกวิชาชีพสุขภาพจ่ายยาได้ ซึ่งสวนทางกับระบบความปลอดภัยในการใช้ยาและหลักการคุ้มครองผู้บริโภค
สิ่งที่รัฐบาลควรทำ นอกจากหยุดการแก้ พ.ร.บ.ยาให้วิชาชีพสุขภาพอื่นจัดจ่ายยาได้แล้ว ต้องเข้มงวดให้ร้านขายยาต้องขายยาโดยเภสัชกรเท่านั้นด้วย (ยกเว้นยาสามัญประจำบ้าน ยาบรรจุเสร็จ อันนั้นไม่ว่ากัน) เช่นนี้แล้ว ประโยชน์จะตกกับประชาชนจริงๆ
เรายังห้ามคนไทยไม่ให้ไปซื้อยาที่ร้านขายยาไม่ได้ แต่เราวางระบบให้ร้านขายยาเป็นที่พึ่งของประชาชนที่มีความปลอดภัยทางยาได้
ส่วนใน รพ.สต.หรือ รพ.ของรัฐนั้น พยาบาลหรือสหวิชาชีพสามารถจ่ายยาได้โดยถูกต้องตามกฏหมายและมีระเบียบรองรับอยู่แล้ว ประเด็นนี้จบแล้ว ไม่เกี่ยวกันเลย
ทราบคร่าวๆว่าวันนี้ อย.และ สธ.ยอมถอยแล้วในประเด็นนี้ ถอยแค่ไหน จริงหรือเปล่าไม่รู้ ต้องรอดูกันแบบตาไม่กระพริบกันต่อไป
ปล. กราฟสวยๆแสดงจำนวนเภสัชกรจาก เฟสบุ๊ค ของอาจารย์ wibul wongpoowarak คณะเภสัช มอ.