เวทีFTAจี้รัฐยกเลิกเสรีเมล็ดพันธุ์ ชูสภาผู้บริโภคอาเซียน
เอ็นจีโอจี้รัฐเลิกเสรีเมล็ดพันธุ์พืช หวั่นต่างชาติแย่งชิงพื้นที่เกษตรไทย ดัน 10 ประเทศใช้กลไกกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค อาเซียนวอทช์แนะยึดหลักสากลดูแลสิทธิแรงแรงงามช้าาติ
วันที่ 28พ.ค.55 ที่โรงแรมทวินน์ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)ร่วมกับองค์ภาคีด้านสาธารณสุข การเกษตร แรงงาน จัดสัมมนาตรวจความพร้อมประเทสไทยในยุคสมัยสู่ประชาคมอาเซียน โดยวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงผลกระทบด้านเกษตรที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนของไทยว่า ความเชื่อมั่นของรัฐบาลไทยที่มองว่าไทยมีความได้เปรียบด้านสินค้าเกษตรมากก่วาประเทศเพื่อนบ้านจึงไม่ได้กำหนดชนิดสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหวสูงเหมือนประเทสเพื่อบ้านทำให้เกษตรรายย่อยมีความสุ่มเสียงสูงต่อความเสียเปรียบหากมีการเปิดการค้าเสรี ขณะที่สินค้า 2 รายการคือข้าวโพดถั่วเหลืองที่กำหนดไว้ก็โน้มเอียงไปเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทอาหารสัตว์มากกว่าเกษตรกรรายย่อย ส่วนการทำประมง เฉพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำป่าไม้จาการปลูกป่า การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืชก็เป็นเพียงการยกเว้นชั่วคราว
ขณะที่ผลกระทบการเพาะขยายพันธุ์พืชจะส่งผลให้ บริษัทข้ามชาติเข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นฐานรากระบบเกษตรและอาหาร บรรษัทข้ามชาติสามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยรวมทั้งพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงจากการวิจัยของรัฐได้โดยง่าย ขัดขวางการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาเรื่องพันธุ์พืชของผู้ประกอบการขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย การปลูกป่าและเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ ต่างชาติจะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ทำกินและทรัพยากรป่าไม้และทะเล การเพาะเลี้ยงในระบบเชิงเดี่ยวจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ แทนที่จะสนับสนุนระบบป่าชุมชนและวนเกษตรหรือการประมงชายฝั่งที่อนุรักษ์ป่าชายเลนหรือญ้าทะเล ซึ่งปัจจุบันมีปัญหามากอยู่แล้วซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น
"สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปเกียวกับความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างพอเพียง ไทยไม่ควรเปิดเสรีการลงทุนดังกล่าว รัฐควรประเมินผลของการส่งเสริมการลงทุนที่ผ่านมาในสาขาเกษตรว่าทำให้มีผลกระทบอย่างไรบ้าง อีกทั้งการเปิดเสรีต้องรับฟังความเห็นของประชาชนทุกฝ่าย และจัดให้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สนับสนุนการแข่งขันของผู้ประการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนให้ได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ และสร้างความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความมั่นคงทางอาหาร"ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าว
ด้าน ประนม สมวงศ์ กลุ่มอาเซียนวอทช์ กล่าวว่า ปัญหาแรงงานข้างชาติเป็นกลุ่มที่ยังน่าเป็นห่วง เพราะแรงงานปัจจุบันไม่ได้อยู่ใน 7 สาขาที่จะเปิดเสรี คือ วิศวกรรม พยาบาลสถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแทพย์และบัญชีแพทย์ พวกเขาเหล่านี้จะไม่ที่ยืนหรือไม่ก็จะได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในกลุ่มงานก่อสร้าง อุตสากรรมประมง เกษตรกรรม งานปลูกพืชสวน งานในฟาร์มเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ทำงานในบ้าน งานโรงงาน งานในสถานบันเทิง งานบริการ งานในเหมือง งานเก็บขยะ ร้านอาหารตัดเสื้อผ้า งานในอุตาหกรรมท่องเที่ยว ขณะที่งานไม่มีสถานะทางกฎหมาย ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2554 คาดว่ามีแรงงานไม่น้อยกว่า 1.5-2.0 ล้านคนไม่มีเอกสารทางกฎหมายและเป็นกลุ่มแรงงานที่อยู่อย่างถาวรที่สุด
ปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่ได้กำหนดมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำ ครอบคลุมเพียงแรงงานถูกกฎหมาย แต่ก็ไม่มีความแตกต่างกันสิ้นเชิงเพราะแรงงานถูกกฎหมายก็ไม่มีหลักประกันจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำด้วย แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามปฏิญญาเมื่อปี 2550 แต่ยังตกลงกันไม่ได้ที่จะส่งเสริมคุ้มครองแรงงานข้ามชาติอย่างไร ข้อห่วงใยล่าสุดในภูมิภาค กรณีนักลงทุนต่างเข้าไปลงทุนในพม่า รวมทั้งประเทศที่คว่ำบาตรพม่าก็ยกเลิกหรือกำจัดมาตรการดังกล่าว เพราะเห็นว่าแรงงานพม่าราคาถูก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การกดขี่ข่มเหง การกดค่าแรง มีการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน ไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมาย
"ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบแรงงานไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ในประเทศไทย เพราะภาคอุตสาหกรรมไทยระบุชัดเจนว่า จุดแข็งอยู่ที่มีอัตราค่าแรงต่ำ ทำใหารผลิตยังมีความสามารถในการแข่งขัน นั่นเองที่จะนำไปสู่การคุกคามสิทธแรงงาน ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ซึ่งจะต้องมีกลไกที่เหมาะสมในประเทศต่างๆคุ้มครองแรงงานทุกคนบังคับใช้จรรยายรรณทางการค้า นับผิดชอบต่อคนงาน ปรับปรุงกฎหมายชั่วโมงทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และรวมไปถึงรัฐจ้องขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมคุ้มครองได้จริงกับแรงงานนอกระบบและแรงงานย้ายถิ่น อาเซียนควรยะระดับการส่งเสริมการย้ายถิ่น ขจัดสภาวะทางกฎหมายไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน" ตัวแทนกลุ่มอาเซียนวอทช์ กล่าว
นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ผู้บริโภคถูกนำไปเป็นข้ออ้างว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกเสมอ การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนมีข้อน่าเป็นห่วงถึงผลกระทบ ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างกลไกขึ้นมาคุ้มครองผู้บริโภคในอาเซียน โดยการตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภคอาเซียน ซึ่งมีสมาชิกจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจากทุกประเทศ ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โดยมีหน่วยแข่งขันทางการค้า กรมคุ้มครองผุ้บริโภคและกรมรัพย์สินทาของเลขาธิการอาเซียนเป็นสำนักงานเลขานุการ ทำหน้าที่สร้างระบบเตือน การเรียคืนสินค้าและสินค้าอันตราย สร้างกลไกการแก้ไขปัญหาเยียวยาผู้บริโภค สร้างความเข้มแข็งของกลไก สร้างความตื่นตัวและพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังมีกลไกสภาผู้บริโภคอาเซียน ก่อตั้งที่เมืองบาหลี อินโดนีเซียเมื่อปี 2549 โดยสมาชิกก่อตั้งจากบรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม โดยการสนับสนุนของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล ทำหน้าที่เป็นตัวแทนรักาาผลประโยชน์ของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค พิทักษ์สิทธิ์และมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ประสานกับองค์กรผู้บริโภคในอาเซียน อลค์กรระหว่างประเทศรักษาผลประโยชน์ผู้บริโภค ถ้ามีปัญหาสามารถร้องเรียนได้ในทุกประเทศสมาชิก
"สภาผู้บริโภคจะเข้าไปให้ช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังไม่มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านกฎหมายและการตั้งองค์กรคือพม่าและกัมพูชา พร้อมทังปรับปรุงกลไกให้เข้มแข็งสนับสนุนให้องค์กรมีคามเป็นอิสระ ดดยให้แต่ละประเทศให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในอาหาร การเข้าถึงห้องทดลอง พัฒนาระบบเรียกคืนสินค้า ยกเลิกการใช้สินค้าที่อันตรายการปรับแบบลงโทษผู้ผลิตสินค้าอันตราย ประสานงานให้เกิดการส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน"เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าว
ที่มาภาพ : http://www.biothai.net/node/900