เวทีปฏิญญาอาเซียนจี้ไอซาร์ทำสิทธิชุมชนชัดหวั่นอีก 2 ปีพลเมืองไทยตกเป็นเบี้ยล่าง
ประธานกรรมการสิทธิฯติงไอซาร์ทำแผนสิทธิชุมชนไม่ชัด แนะยึดหลักสากลคาดอนาคตแรงงานข้ามชาติมีปัญหา ผู้แทนACWCห่วงเด็กสตรีถูกละเมิดจี้เร่งทำแผนปฏิญญาให้ผู้หญิงมีอำนาจตัดสินใจ สมาคมคนตาบอดจันทบุรีแฉต่างชาติเข้ายึดครองพื้นที่ รัฐเมินเตรียมความพร้อมให้รากหญ้าอีก 2 ปีคนจนไร้ที่ยืน
วันที่ 25 พ.ค.55 ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและมูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจัดเวทีระดับชาติปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน โดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ในฐานะผู้แทนแทนในคณะกรรมธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า คณะกรรมธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights : AICHR)หรือไอชาร์ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการจากความเห็นชอบโดยผู้นำอาเซียน 10 ประเทศระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่อำเภอชะอำหัวหิน ประเทศไทย เพื่อให้มีการพัฒนากลไกด้านการส่งเสรอมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทสอาเซียนให้มีความเข้มแข็งเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่จะมีการทำร่างปฏิญยาให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค.55เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งร่างปฏิญญาคาดหมายว่าจะได้รับการรับรองจากการประชุมสุดยอกผู้นำอาเซียนที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิการยนที่จะถึงนี้ โดยการยกร่างมีการประชุมทั้งหมด 6 ครั้งๆแรกเมื่อเดือนก.ค.54ที่กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว ครั้งสุดท้ายที่กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนม.ค.55ซึ่งได้นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯแล้ว สำหรับร่างของไทยอยู่ในระหว่างการพิจารณามีการประชุมประจำทุกเดือนโดยจะมีการนำข้อเสนอภาคประชาชนไปร่วมประชุมกรรมาธิการฯที่พม่าในวันที่ 3-6 มิ.ย.นี่ที่ประเทศพม่า
"ข้อเสนอเสียงสะท้อนความคิดเห็นจากภาคประชาชนจะถูกรวบรวมนำไปเสนอในที่ประชุมไอซาร์ แต่บางเรื่องต้องยอมรับความจริงเพราะความแตกต่างระหว่างประเทศในอาเซียนอาจทำให้บางเรื่องได้งหมด บางเรื่องได้มาแค่บางส่วนแต่บางเรื่องต้องตกไป ทั้งนี้ในส่วนของสิทธิมนุษยชนคนไทยก็ไม่อาจละเลย โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิที่อยู่อาศัย การเข้าถึงบริการของรัฐ เรื่องสิ่งแวดล้อม สิทธิเรื่องสุขภาพ สิทธิการพัฒนา สิทธิทางทรัพยากร ซึ่งอาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไป เวลาพูดถึงอาเซียนต้องมองให้รอบคอบรัดกุมไปยังวิถีโลกวิถีสากล แม้บางเรื่องยังไม่อาจหาข้อยุติ ต้องหาทางลงต้องใช้เวลาพอสมควร"
ด้าน ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เป็นที่น่าเสียดายที่ผ่านมาทางไอซาร์มีการติดต่อประสานกับกรรมการสิทธน้อยเกินไป ไม่ได้มีการพูดคุยกัน แต่ทั้งนี้ก็มีโมเดลที่จะทำร่วมกัน กรรมการสิทธิพยายามทำงานระดับชาติ ถ้าไม่ดื้อนักก็จะไปกันได้ ในส่วนของแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งสิทธิชุมชนซึ่งเป็นประเด็นข้ามพรมแดนเกี่ยวโยงกันต้องมีการพูดถึงประเทศต้นทางจนมาถึงไทยที่เป็นประเทสปลายทาง ซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับมากขึ้น
"เรื่องสิทธิแรงงานในอนาคตมีการร้องเรียนข้ามชาติแน่นอน ซึ่งกรรมการสิทธิทั่วโลกมีแนวทางจะทำเรื่องนี้ ไอซาร์ก็ต้องทำร่วมกันเพื่อต่อสู้กับทุนต่างชาติ ส่วนสิทธิชุมชนให้ยึดหลักสากล ซึ่งยังเห็นปรากฎน้อยเกินไปในเอกสารของไอซาร์ ซึ่งต้องมีการผลักดันเรื่องนี้ต่อไป"
ส่วน นางกานดา วัชราภัย ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรี ( ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Right of Women and Children – ACWC )กล่าวว่า ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนว่า ด้วยเรื่องสิทธิเด็ก สตรีผู้สูงอายุ ผู้พิการยังไม่เห็นมีการพิจารณาในปฏิญญาของไอซาร์ ถึงแม้จะมีการใส่ไว้แต่ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งจะต้องทำให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้เพื่อให้มีการขยายความที่ดีในกลุ่มบริบทต่างๆมากขึ้น
"ข้อห่วงใยของACWCคือความรุนแรงในเด็กและสตรี คนพิการซึ่งอยากรู้ว่าอาเซียนจะมีเครื่องมืออะไรที่จะดูแลคนเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ ACWCมองไปไกลกว่าการจ้างงาน
สิทธิผู้หญิงต้องให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะสิทธิการเป็นเจ้าของที่ดินชุมชน อยากให้ไอซาร์ทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมเกิดผลบวกพิสูจน์ได้จริงใน 10 ประเทศ"
ขณะที่ น.ส.สุภาวดี เพชรรัตน์ ผู้แทนกลุ่มอาเซียนวอทช์ (ASEAV Watch) กล่าวว่า การทำปฏิญญาอาเซียนมีความหมายเป็นเอกสารสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่กลไกกฏบัตรสิทธิอาเซียนต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งทำให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในอาเซียนทั้งหมด ไอซาร์จะทำยังไงต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นสำคัญ
"หากการทำปฏิญญาไม่ครอบคลุมแทนที่จะเป็นการส่งเสริมคุ้มครอง แต่จะกลายเป็นเครื่องมือผู้มีอำนาจมาใช้กดขี่ประชาชนซึ่งไอซาร์ต้องระมัดระวัง ต้องระวังมากในการเข้าไปจำกัดสิทธิ์คนอื่นซึ่งต้องพิจารณาแต่ละข้อว่าจะมีผลกระทบกับสังคมหรือไม่"
อนึ่ง นางลักขณา แดงดี ฝ่ายบริหารนโยบายและแผนสมาคมคนตาบอด จ.จันทบุรีกล่าวว่า ข้อน่าเป็นห่วงคือในเรื่องของสิทธิสตรี คนด้อยโอกาส รวมทั้งสิ่งที่จะเข้ามาทำลายชุมชนสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีการบรรจุไว้ในปฏิญญา โดยให้ชุมชนเป็นคนรักษา ถ้าเป็นไปได้ควรจะเพิ่มเติมเรื่องสิทธิชุมชนลงไปให้ชัดเจน เพราะปัจจุบันปัญหารุกรานจากคนต่างชาติเกิดขึ้นแล้ว ต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดิน อ้างกรรมสิทธิ์แม้ในที่สาธาณะ ห้ามชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ จังหวัดจันทบุรี ตราดถูกต่างชาติเข้ายึดครองหมดแล้ว อีกทั้งภาครัฐก็ไม่ให้ความสำคัญภาคเกษตร การประชุมเตรียมความพร้อมมีแต่หอการค้า นักธุรกิจอัญมณีไปร่วมแต่ไม่มีภาคเกษตร ทั้งที่จันทบุรีมีผลไม้เป้นสินค้าส่งออก มีภูเขา ทะเลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ
"อีกไม่นานจะมีโรงงานถลุมเหล็กเข้ามาตั้งคนในชุมชนจะทำยังไง ทุกวันนี้เห็นผลกระทบแล้วชัดเจน ภาครัฐไม่มีการส่งเสริมเข้าไปสอนภาษาหรือให้มีการเตรียมความพร้อมใดๆให้กับคนในท้องถิ่นอีก 2 ปีข้างหน้าชาวบ้านคนเล็กคนน้อยจะไม่มีที่ยืน ไอซาร์ควรบรรจุสิทธิชุมชนเข้าไปให้ชัดเจน เพื่ออย่างน้อยคนจนจะได้มีหลักประกันว่าจะไม่ถูกรังแกจากการเปิดประเทศ"
อย่างไรก็ตาม นางศิริลักษณ์ นิยม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การเจราจามีความหมายแต่ยอมรับว่ายาก แต่ถ้าอาเซียนให้ความสำคัญกับชุมชนและการพัฒนาปฏิญญาจะมีวิถีที่เข้มแข็ง ซึ่งต้องหาจุดร่วมเพื่อไม่ให้เสียหลักการเดิม กระบวนการเจรจาในส่วนประเทศไทย ถ้าเป้นมติ 10 ประเทศอาเซียนต้องเคารพ ตัวร่างที่ออกมายังไม่ถือว่าเลวร้ายเกินไป เพราะอย่างน้อยไอซาร์ก็วางเงื่อนไขอยากให้มีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับชีวิตประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่าสรุปสาระร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 1. อารัมภบท 2. หลักการทั่วไป 3. สิทธิพลเมืองและการเมือง 4. สิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม 5. สิทธิในการพัฒนา 6. สิทธิของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่เปราะบางและบทบัญญัติอื่นๆ 7. สิทธิและความรับผิดชอบ . ความร่วมมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ขณะที่ สิทธิของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่เปราะบางและบทบัญญัติอื่นๆ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก สิทธิผู้สูงอายุ สิทธิผู้พิการ สิทธิชนกลุ่มน้อย สิทธิชุมชนดั้งเดิม สิทธิแรงงานอพยพสิทธิและความรับผิดชอบ ยังไม่มีการพิจารณา
ที่มาภาพ:http://www.praphansarn.com/new/forum/forum_posts.asp?TID=14942&KW=%CA%D3%B9%D1%A1+%BE%D4%C1%BE%EC