ตอบข้อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ของสมาคมพืชสวนฯ
คณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ตอบข้อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. ... ของสมาคมพืชสวนเเห่งประเทศไทย ในประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเเละพัฒนาฯ เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561
ตอบข้อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. ... ของสมาคมพืชสวนฯ
อ้างถึง หนังสือสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2561
ตามที่นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย นายกสมาคมไทยธุรกิจเกษตร นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ นายกสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย และเกษตรกร ได้มีหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. .... ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้น
ขอตอบประเด็นที่สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตดังกล่าว ดังนี้
1.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
1.1 มาตรา 26 การกำหนดกฎหมายต้องไม่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
ตอบข้อคัดค้าน
ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่มีมาตราใดที่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ เป็นเพียงการส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นทางเลือกในการประกอบการเกษตรแก่บุคคลที่มีความสนใจที่จะประกอบการเกษตรในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่สาคัญ พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ระบุอยู่ในแผนปฎิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กาหนดว่าต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฎิรูปประเทศ และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้จัดทาขึ้นให้สอดคล้อง กับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 73 มาตรา 75 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560 – 2564) ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ซึ่งทั่วโลกได้มีข้อตกลงกันว่าจะมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ การพัฒนาสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นไปตามหลักศาสตร์พระราชาและแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นวิถีเกษตรกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ให้กับเกษตรกรและสังคมไทยให้พึ่งพาตนเองได้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานคือมีความมั่นคงทางอาหาร จนเกิดความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้กำหนดระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในทุกระดับ และทุกภาคส่วนที่จะนาไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และนิเวศน์ของแต่ละชุมชน ซึ่งจะเห็นว่าในเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ได้มีการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพแต่อย่างใด ในทางตรงข้าม เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกาหนดแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทยด้วยซ้าไป
1.2 มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ตอบข้อคัดค้าน
เกษตรกรในทุกสาขาก็ยังคงเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันเช่นเดิม เนื่องจาก ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่ได้มีมาตราใดที่จำกัด/ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของเกษตรกรที่ไม่ได้ประกอบการเกษตรในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน
1.3 มาตรา 40 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ตอบข้อคัดค้าน
ร่าง พ.ร.บ. ไม่ได้มีมาตราใดที่มีการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพของ “เกษตรกร” และไม่ได้ก้าวก่ายการประกอบอาชีพการเกษตรในสาขาอื่นของเกษตรกร โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นเพียงการส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่เป็นสาขาหนึ่งของการเกษตรด้วยเช่นกัน
1.4 มาตรา 73 รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบข้อคัดค้าน
ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็เป็นมาตรการหรือกลไกหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
1.5 มาตรา 75 รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักของศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศ
ตอบข้อคัดค้าน
ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐ เพื่อจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์ฯ อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน เป็นทางเลือกอีกสาขาหนึ่งของระบบการเกษตรเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสนใจในรูปแบบนี้ได้รับสิทธิประโยชน์ ได้รับการดูแลจากภาครัฐให้ไม่ต่างไปจากการมีมาตรการส่งเสริมในสาขาอื่นๆ ของเกษตรกรรมที่มีอยู่เดิม อีกทั้งเกษตรกรรมยั่งยืนยิ่งเป็นสาขาหนึ่งที่เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.6 มาตรา 77 รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น ... เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นที่ระบุไว้ว่า ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคดเห็นและการวิเคราะห์นั้น ต่อประชาชน และนามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ...
ตอบข้อคัดค้าน
ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งกระบวนการยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้นมาแล้วจานวน 2 ครั้ง ณ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ และยังคงอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ และไม่ได้ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 เรื่อง แนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้การรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อยต้องรับฟังผ่านระบบเทคโนโลยีสารเสนเทศของหน่วยงานของรัฐนั้นแต่อย่างใด และยังไม่เห็นว่าเป็นการรวบรัดตัดตอนในกระบวนการแต่อย่างใด
2.ร่าง พ.ร.บ. มิได้แสดงหลักการเหตุผลหรือแนวทางให้เป็นที่ชัดเจนว่า กฎหมายที่มีบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน หรือการปฏิบัติงานตามแนวทางที่หน่วยงานราชการปฏิบัติอยู่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไร จึงจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายใหม่ตามร่าง พ.ร.บ. นี้เพิ่มขึ้น
ตอบข้อคัดค้าน
ร่าง พ.ร.บ. มีหลักการและเหตุผลในการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นอีกสาขาหนึ่งของเกษตรกรรม อีกทั้ง ยังเป็นเป็นการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 73 มาตรา 75 ประกอบกับ มาตรา 65 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยมีความมุ่งมั่นผูกพันในการพัฒนาประเทศ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นมาในอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งเป็นการกำหนดแนวทางเพิ่มเติมที่จะสร้างกลไกการทางานที่เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
3.ร่าง พ.ร.บ. มุ่งเพียงส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในรูปแบบที่คณะกรรมการเห็นชอบ แต่มิได้แสดงถึงแนวทางการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรและเกษตรกรไทย โดยเฉพาะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 หรือยุทธศาสตร์ชาติแต่อย่างใด
ตอบข้อคัดค้าน
ในมาตรา 5 (5) ของร่าง พ.ร.บ. ระบุว่า ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน อีกทั้ง ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นกรรมการ ซึ่งสามารถส่งเสริมนวัตกรรมตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กาหนดตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่ 3 และยุทธศาสตร์ที่ 4
4.การจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และกระบวนการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใต้ร่าง พ.ร.บ. นี้ (มาตรา 11 และ 13) มีการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อเอื้อต่อบุคคลหรือองค์กรบางกลุ่ม เป็นการลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตอบข้อคัดค้าน
ในร่าง พ.ร.บ. นั้น คณะกรรมการประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค ประชาชน ภาคการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความครบถ้วนในทุกสาขาอาชีพ และการกำหนดคุณสมบัติก็ครอบคลุมและมีความเหมาะสมและเชี่ยวชาญเพื่อให้สามารถดาเนินการตามร่าง พ.ร.บ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
5.การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติฯนี้ (มาตรา 29) นอกเหนือจากเป็นการจัดตั้งหน่วยงานซ้าซ้อนกับหน่วยงานราชการของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานเช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นใหม่แล้ว การกำหนดให้มีสถานะนิติบุคคล อาจเปิดช่องให้เกิดการปฏิบัติงานที่สามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบการทางานโดยหน่วยงานของรัฐหรือประชาชน อันจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาภาคเกษตร และตลอดจนมีความเชื่อมั่นต่อความโปร่งใสของหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ
ตอบข้อคัดค้าน
การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน หรือองค์กรใดๆ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ มีหน่วยงานและระเบียบในการควบคุมตรวจสอบอยู่แล้ว ไม่ได้มีข้อยกเว้นใดๆ เช่น สานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หน่วยตรวจสอบภายใน รวมถึงระเบียบการใช้เงินต่างๆ
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ได้ออกแบบกลไกการทางานแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการทำงานทุกขั้นตอนจะมีเกษตรกรและสมัชชา (ตามมาตรา 24) มีส่วนร่วมตั้งแต่การคิด การวางแผน การปฏิบัติ จึงเป็นการใช้กลไกทางสังคมและภาคประชาชนมาตรวจสอบความโปร่งใสอีกชั้นหนึ่งนอกเหนือจากการถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานข้างต้น ซึ่งน่าจะทาให้รัดกุม โปร่งใสมากกว่าการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ อีกหลายหน่วยงานที่ไม่เคยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วม จนมีปัญหาต่อความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใส โดยเฉพาะเรื่องของการนำเข้าสารเคมีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้
คณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน .